Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1398
Title: GUIDELINES FOR INTERPRETATION OF BAN LAEM COMMUNITY TOURISM ATTRACTIONS IN BANG PLAMA DISTRICT, SUPHANBURI PROVINCE
แนวทางการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
Authors: ARANYA DUBEY
อรัญญา ดูเบย์
Jutatip Junead
จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด
Srinakharinwirot University. Faculty of Environmental Culture and Ecotourism
Keywords: การสื่อความหมาย
แหล่งท่องเที่ยวชุมชน
ชุมชนตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
Interpretation
Community-Based Tourism
Ban Laem Community Bang Pla Ma District Suphanburi Province.
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research are as follows: (1) to study tourist attraction activities and resources in the Ban Laem community in the Bang Pla Ma District of the Suphanburi Province; (2) to clearly understand tourist targets and community insights in order to develop effective communication plans and tools for Ban Laem tourist attractions; and (3) to propose an interpretation concept design to be publicly used in tourist attractions in Ban Laem community. This research is a mixed method research and conducted with qualitative and quantitative methods. The quantity method was a survey with 97 questionnaires by Thai tourist respondents. The sample size recruited with the convenient random method. The qualitative method was a focus group interview and in-depth interviews upon resources specified questions. The qualitative respondents were 12 stakeholders in the Ban Laem community. The research results were analyzed with the induction method, content analysis and used triangulation method to confirm the precision of the interview data. The research showed that the significant activity resources are a unique recreational activity. The uniquely attractive recreational activities in Ban Laem were Wat Suk Kasem, Baan Thoop Yok Birthday colour and the boat trip survey. The research results also show that 43 tourists accounted for 44.3% think the community should have communication tools as follows: (1) a tourist brochure consisting of recommended attractions and activities in the community and a touring map; (2) communication banners; and (3) a QR code. Regarding to the interpretation in community tourist attractions in Ban Laem, it was found that the respondents had opinions about the needs of tourists towards the format of interpreting in the community tourist attractions in Ban Laem according to the principles of interpreting 7 things at a high level as follows: Accessibility and building understanding of interpretation in community attractions the mean was 4.12. In terms of authenticity in interpreting the meaning in community tourist attractions the mean was 3.71. In terms of sustainability in interpretation in community tourist attractions the mean was 3.88. In terms of participation in interpretation in community tourist attractions the mean is 3.85. The researcher would like to propose communication model by using the main communication concept in the English alphabet. The English alphabet concept is known as the LEAM MODEL (L: Learning, E: Explain, A: Active Participate, M: Meaning). The LEAM Model can be used to develop recreational activities communication ideas and tools. This development will be a community co-operative activity for Ban Laem community in the Bang Pla Ma District of the Suphanburi Province.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยว เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทย เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชนต่อการสื่อความหมาย และเพื่อเสนอแนวทางการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิธีแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 97 คน เลือกใช้วิธีการคัดเลือกตัวอย่างแบบสะดวก และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสำรวจทรัพยากร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่จำนวน 12 คน การเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย โดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยวิเคราะห์เนื้อหา และผู้วิจัยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า สิ่งควรมีเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ แผ่นพับแนะนำการท่องเที่ยวในชุมชน ป้ายสื่อความหมายและ QR Code จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 44.3 ส่วนด้านการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตำบลบ้านแหลม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตำบลบ้านแหลมตามหลักการสื่อความหมาย 7 ประการ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการเข้าถึงได้และสร้างความเข้าใจในการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ด้านความจริงแท้ดั้งเดิมในการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 ด้านความยั่งยืนในการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 ด้านการมีส่วนร่วมในการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 ซึ่งพบว่าทรัพยากรกิจกรรมที่มีความโดดเด่น ได้แก่ วัดสุขเกษม บ้านธูปหยกสีประจำวันเกิด และการล่องเรือไหว้พระชมธรรมชาติ  ผู้วิจัยจึงขอนำเสนอแนวความคิดหลักในการสื่อความหมายนําเสนอผ่านตัวอักษร ภาษาอังกฤษภายใต้คําว่า LEAM MODEL (L: Learning, E: Explain, A: Active Participate, M: Meaning) เพื่อเป็นแนวทางในการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ตำบลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของของชุมชน
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1398
Appears in Collections:Faculty of Environmental Culture and Ecotourism

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130330.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.