Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1374
Title: CREATION OF 2D ANIMATION TO PRESENT THE TRADITION OF PHI TA KHON TO MEMBERS OF GENERATION Z
การสร้างสรรค์สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อนำเสนอประเพณีผีตาโขนสู่กลุ่มเจเนอเรชันแซด
Authors: SUPUTCHA CHAISATI
ศุภัชฌา ใช้สติ
Saowaluck Phanthabutr
เสาวลักษณ์ พันธบุตร
Srinakharinwirot University. College of Social Communication Innovation
Keywords: แอนิเมชัน 2 มิติ
ประเพณีผีตาโขน
เจเนอเรชันแซด
2D Animation
Phi Ta Khon tradition
Generation Z
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This study is research and development, with the objectives of identity design for the tradition of Phi Ta Khon and to present the Phi Ta Khon tradition to Generation Z through 2D animation media. The purpose is to create positive attitudes among Generation Z to the tradition, creating the desire for tourism related to tradition and decisions to visit and take part in the Phi Ta Khon tradition. The study examined the opinions and attitudes of members of Generation Z living in Bangkok, aged between 15-22, and their attitudes towards the Phi Ta Khon tradition with online questionnaires and surveys using convenient sampling method. After that, the data is used to create 2D animation, and then the prototype animation was given to experts in Generation Z to evaluate their performance in order to develop an optimized final animation and design the identity of the Phi Ta Khon tradition and communicate marketing to Generation Z via a Facebook Fanpage at the same time. The research showed that before watching 2D animation, 93% of Generation Z knew about the Phi Ta Khon tradition, 55% of Generation Z didn't knew the history of the tradition, 92% of Generation Z had no experience with the tradition, 51% of Generation Z had positive attitudes towards the tradition and 76% of Generation Z were interested in experiencing the traditions. After watching 2D animation, Generation Z was satisfied the presentation of the tradition in a short, concise, easy-to-understand way, which is to the point and haduncomplicated content. They also enjoyed watching animation with the parallel-world storytelling method and listening to contemporary music that blends modern music with cultural instruments and includes the use of subtitles for animation. Moreover, the research also showed that using mascot characters as effective marketing communications agents can encourage Generation Z to interact via the Facebook Fanpage.
งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณีผีตาโขนสู่การออกแบบอัตลักษณ์และเพื่อนำเสนอประเพณีผีตาโขนสู่กลุ่มเจเนอเรชันแซดผ่านสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ มีความมุ่งหมายให้กลุ่มเจเนอเรชันแซดเกิดทัศนคติที่ดี มีความต้องการท่องเที่ยวในประเพณี และตัดสินใจเดินทางไปเยี่ยมชมประเพณีผีตาโขนในลำดับต่อไป โดยได้สำรวจความคิดเห็นและทัศนคติของเจเนอเรชันแซดที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอายุระหว่าง 15-22 ปี ที่มีต่อประเพณีผีตาโขน ด้วยแบบสอบถามออนไลน์และใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสร้างสรรค์สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ และให้ผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มเจเนอเรชันแซดประเมินประสิทธิภาพสื่อเพื่อพัฒนาเป็นสื่อฉบับปรับปรุงที่มีความเหมาะสม พร้อมทั้งออกแบบอัตลักษณ์และสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Fanpage ควบคู่ไปด้วย ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการรับชมสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ กลุ่มเจเนอเรชันแซดรู้จักประเพณีผีตาโขน ร้อยละ 93 ไม่ทราบความเป็นมาของประเพณี ร้อยละ 55 ไม่เคยมีประสบการณ์ร่วมในประเพณี ร้อยละ 92 มีทัศนคติเป็นบวกต่อประเพณี ร้อยละ 51 และสนใจเยี่ยมชมประเพณี ร้อยละ 76  หลังการรับชมสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ พบว่า กลุ่มเจเนอเรชันแซดพึงพอใจกับการนำเสนอวัฒนธรรมด้วยสื่อแอนิเมชันที่มีเนื้อหาระยะสั้น กระชับ เข้าใจง่าย ตรงประเด็นและไม่ซับซ้อน การเล่าเนื้อเรื่องด้วยการเปรียบเทียบเป็นโลกคู่ขนาน ดนตรีร่วมสมัยที่ผสมผสานระหว่างดนตรีสมัยนิยมกับเครื่องดนตรีภายในวัฒนธรรม และการใช้คำบรรยายประกอบแอนิเมชัน และพบว่าการใช้ตัวละครมาสคอตเป็นตัวแทนสื่อสารการตลาดมีประสิทธิภาพสามารถกระตุ้นให้กลุ่มเจเนอเรชันแซดมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับ Facebook Fanpage ได้
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1374
Appears in Collections:College of Social Communication Innovation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130335.pdf11.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.