Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/137
Title: | THE PRIVATE ART GALLERY IN BANGKOK: A MANAGEMENT AND PRESENCE IN THAI CONTEMPORARY CULTURE หอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานคร: การจัดการและการดำรงอยู่ในบริบทของศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย |
Authors: | WIPOOSANA SUPANAKORN วิภูษณะ ศุภนคร SATHIT THIMWATBUNTHONG สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts |
Keywords: | หอศิลป์เอกชน การจัดการ การดำรงอยู่ ศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย Private art gallery Management Presence Thai contemporary culture |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of this research was to study the management and presence of private art galleries in Bangkok, and to study the operations, problems and obstacles faced by these art galleries in Bangkok and in the context of contemporary Thai art and culture. In terms of the qualitative research the tools for data collection were In-depth interviews with the owners, collectors, staff, and artists involved in private galleries in Bangkok. The criteria for selection was based on the age of the galleries: the location and the size of the business, exhibitions and styles of art work, including the prices of the art, and the volume of visitors, and support for artists from various groups. The theory of organizational management was used as the main criteria and presented the results using descriptive analysis. The researcher found that the development of private art galleries in Bangkok can be divided into six decades as follows: the first decade was from 2500 to 2510; the second decade was from 2511 to 2520; the third decade was from 2521 to 2530; the fourth decade was from 2531 to 2540; the fifth decade was from 2541 to 2550; and the sixth decade was from 2551 to the present; The evolutionary history of these art galleries followed one of two management styles, either modern art management or post-modern integration management. There are seven factors that contribute to the stability of private art galleries: vision, capital, management, location, events, marketing and networking. In terms of this model, including description, system and mechanics, private art galleries in Bangkok have developed the physical qualities to be on par with those abroad. In addition, private art galleries in Bangkok have unique styles which allow them to adapt and incorporate themselves into contemporary Thai culture. There is also a strong emphasis on the management of operating mechanics and systems. These management aspects are no longer planned by a sole proprietor. There are three obstacles that plague private art galleries in Bangkok: 1) the education system does not promote an appreciation of art nor art itself; 2) divisive cultural atmostphere results in a population that lacks understanding of the function of a private art galleries in society; and 3) the economy plays a key role in determining the survival of private art galleries in Bangkok. การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและการดำรงอยู่ของหอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษารูปแบบ ลักษณะ ระบบ กลไก การจัดการ ปัญหาและอุปสรรค ของหอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานคร ในบริบทของศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย ดำเนินงานวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ หอศิลป์เอกชนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกโดยเลือกจากอายุของการดำเนินกิจการ ขนาดพื้นที่ของกิจการ การจัดแสดงและลักษณะสไตล์ของผลงาน รวมทั้งราคาและผู้เข้าชม ตลอดจน การสนับสนุนศิลปินในกลุ่มต่างๆ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎีการจัดการองค์กรเป็นหลักในการตั้งเกณฑ์ และนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าเรื่องพัฒนาการหอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานคร มีพัฒนาการแบ่งออกได้เป็น 6 ทศวรรษดังนี้ ทศวรรษที่ 1 ตั้งแต่พ.ศ. 2500 – 2510 ทศวรรษที่ 2 ตั้งแต่พ.ศ. 2511 – 2520 ทศวรรษที่ 3 ตั้งแต่พ.ศ. 2521 – 2530 ทศวรรษที่ 4 ตั้งแต่พ.ศ. 2531 – 2540 ทศวรรษที่ 5 ตั้งแต่พ.ศ. 2541 – 2550 ทศวรรษที่ 6 ตั้งแต่พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน ด้านการดำรงอยู่ของหอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานครพบว่ามีหลายปัจจัยที่จะทำให้หอศิลป์เอกชนนั้นดำรงอยู่ได้มีอยู่ 7 ปัจจัย ได้แก่ วิสัยทัศน์,เงินทุน,การจัดการ,พื้นที่,นิทรรศการ,การตลาด และ การสร้างเครือข่าย ส่วนในเรื่อง รูปแบบ ลักษณะ ระบบ กลไกปัจจุบันหอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานคร มีพัฒนาการที่หลากหลายมากขึ้น มีสภาพทางกายภาพไม่แตกต่างจากหอศิลป์เอกชนในต่างประเทศ และหอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานครยังมีรูปแบบที่หลากหลายไม่ตายตัว ซึ่งคือที่มาสำคัญที่ทำให้หอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานครปรับตัวให้เข้ากับบริบทและวัฒนธรรมไทยร่วมสมัยได้ ส่วนในด้านระบบการจัดการพบว่า มีการให้ความสำคัญกับการจัดการ ระบบ กลไกในการทำงานมากขึ้น และไม่ได้ถูกวางแผนจากเจ้าของธุรกิจเพียงคนเดียวอีกต่อไปปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการหอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานครอยู่ 3 ประเด็นด้วยกันคือ 1) การศึกษายังไม่ให้ความสำคัญกับศิลปะและสุนทรียศาสตร์ 2) วัฒนธรรมที่แปลกแยกส่งผลให้ประชาชนขาดความเข้าใจถึงหน้าที่ของหอศิลป์เอกชน และ 3) สภาพเศรษฐกิจเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของหอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานคร |
Description: | DOCTOR OF ARTS (D.A.) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/137 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs562150021.pdf | 8.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.