Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1365
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorBUSSAYA KAEWPAEDen
dc.contributorบุศญา แก้วแพทย์th
dc.contributor.advisorChaninan Pruekpramoolen
dc.contributor.advisorชนินันท์ พฤกษ์ประมูลth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot University. Science Education Centeren
dc.date.accessioned2021-09-08T12:41:18Z-
dc.date.available2021-09-08T12:41:18Z-
dc.date.issued16/8/2021
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1365-
dc.descriptionMASTER OF EDUCATION (M.Ed.)en
dc.descriptionการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.abstractThe objectives of this research were as follows: (1) to study the scientific creativity and learning achievement of Grade 11 students who learned using inquiry-based learning with lateral thinking techniques; (2) to study student satisfaction after using inquiry-based learning with lateral thinking techniques; (3) to propose guidelines for the select of proper lateral thinking techniques in the inquiry-based learning. The participants in this study consisted of 57 Grade 11 students who studied in the second semester of the 2020 academic year in a school in Bangkok using purposive selection. The research instruments consisted of lesson plans, a scientific creativity test, a learning achievement test and a learning process questionnaire on student satisfaction. The data were analyzed quantitatively using percentage, mean, standard deviation and a t-test for dependent samples. The qualitative data was analyzed using analytic induction. The results showed revealed following: (1) the scientific creativity mean score of the students after learning (M = 14.59, S.D. = 1.75) was higher than before learning (M = 9.91, S.D. = 1.44) with a .01 level of a statistical significance (t = -12.911, p = .000); (2) the learning achievement mean score of the students after learning (M = 21.91, S.D. = 3.15) was higher than before learning (M = 11.65 , S.D. = 3.17) with a .01 level of a statistical significance (t = -20.882, p = .000); (3) the students were satisfied with inquiry-based learning with lateral thinking techniques at a high level; and (4) guidelines for selecting the lateral thinking techniques in the inquiry-based learning  revealed that in order to promote scientific fluency and flexibility, it can be use for the dominant ideas, crucial factors and suspended judgment techniques in the explanation phase and the generation of alternative or random stimulation techniques in the elaboration phase. For promoting scientific originality, the following can be use: the challenging assumptions, the reversal method and the analogies technique in the elaboration phase and the design technique in the extension phase.en
dc.description.abstractงานวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาชีววิทยา 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกับเทคนิคการคิดนอกกรอบ ของนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาชีววิทยา และ  3. เพื่อหาแนวทางในเลือกใช้เทคนิคการคิดนอกกรอบในการการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยกลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 57 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มที่ศึกษาที่ไม่เป็นอิสระกัน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์สรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 4. แนวทางในเลือกใช้เทคนิคการคิดนอกกรอบในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกับเทคนิคการคิดนอกกรอบ การส่งเสริมความคิดคล่องทางวิทยาศาสตร์และความคิดยืดหยุ่นทางวิทยาศาสตร์ สามารถใช้เทคนิคความคิดหลักปัจจัยชี้ขาด และเทคนิคการชะลอการตัดสินใจ ในขั้นอธิบาย และใช้เทคนิคการสร้างทางเลือกและเทคนิคการกระตุ้นสุ่ม ในขั้นขยายความรู้ และการส่งเสริมความริเริ่มทางวิทยาศาสตร์ ใช้เทคนิคการท้าทาย เทคนิคพลิกกลับ และเทคนิคอุปมาอุปไมย ในการส่งเสริมขั้นขยายความรู้ และใช้เทคนิคการออกแบบ ในขั้นนำความรู้ไปใช้th
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์th
dc.subjectการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบth
dc.subjectชีววิทยาth
dc.subjectScientific creativityen
dc.subjectInquiry-based learning with lateral thinking techniquesen
dc.subjectBiologyen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleEFFECTS OF USING INQUIRY-BASED LEARNINGWITH LATERAL THINKING TECHNIQUES TOWARDSCIENTIFIC CREATIVITY AND LEARNING ACHIEVEMENTOF ELEVENTH GRADE STUDENTS IN BIOLOGYen
dc.titleผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรายวิชาชีววิทยาth
dc.typeThesisen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
Appears in Collections:Science Education Center

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs581130264.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.