Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1336
Title: A COMPARISON OF THE DEPTH AND ONSET OF CUTANEOUS ANESTHESIA OF TOPICAL 10% LIDOCAINE AND 5% LIDOCAINE/PRILOCAINE
การศึกษาเปรียบเทียบความลึกเเละระยะเวลาที่ทำให้ชา ระหว่างยาทา 10% ลิโดเคน เทียบกับ 5% ลิโดเคน/ไพรโลเคน
Authors: NICHCHANUN JUNPUTIPONG
นิชนันท์ จุฬพุฒิพงษ์
Salinee Rojhirunsakool
สาลินี โรจน์หิรัญสกุล
Srinakharinwirot University. Faculty of Medicine
Keywords: 10% ลิโดเคน
5% ลิโดเคน/ไพรโลเคน
ยาชาชนิดทา
การระงับความเจ็บปวด
ความลึกของการชา
ระยะเวลาที่ชา
10% Lidocaine cream
5% Lidocaine/Prilocaine
EMLA
topical analgesics
analgesia
depth
onset
duration
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: 5% Lidocaine/Prilocaine cream is a topical anesthetic which is frequently used to reduce pain during cutaneous procedures. Despite of its effectiveness, 5% Lidocaine/Prilocaine cream takes a long time to apply and methemoglobinemia from prilocaine can occur. Consequently, more concentration without prilocaine needs further exploration. Therefore, this randomized controlled trial was conducted to study the efficacy between 10% Lidocaine cream and 5% Lidocaine/Prilocaine cream. There were 40 subjects, who already signed the consent form and all received spilt-side treatment. The analgesic effect was assessed by using 22-gauge needle connected with digital depth gauge insertion and gradually advancing into the skin. The pain intensity was obtained from each patient on the verbal pain scale (VPS). The results revealed that the corresponding efficacy of 5% Lidocaine/Prilocaine cream for analgesic effects were significantly better than of 10% Lidocaine cream (p < 0.001) and in terms of the depth of analgesia, the application time needed or continuous numbness after anesthetic removal.  However, serious side effects of both anesthetics were absent and both were safe for use.
ยาทา 5% ลิโดเคน/ไพรโลเคน เป็นยาชาชนิดทาที่เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมในการใช้เพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างการทำหัตถการทางผิวหนัง มีประสิทธิภาพที่เพียงพอ มีความสะดวก และง่ายต่อการใช้งาน แต่เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เวลาในการทาที่นานเพื่อทำให้เกิดอาการชาหรือลดความเจ็บปวดระหว่างการทำหัตถการ อีกทั้งยังมีรายงานการเกิดภาวะ methemoglobinemia จากส่วนประกอบที่เป็น prilocaine ได้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษายาชาแบบทาที่มีความเข้มข้นมากขึ้น และไม่มี  prilocaine เป็นส่วนประกอบ โดยการทำการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เพื่อศึกษาประสิทธิผลระหว่างยาทา 10% ลิโดเคน และยาทา 5% ลิโดเคน/ไพรโลเคน โดยมีอาสาสมัครทั้งหมด 40 คนที่ยินยอมเข้าร่วมในงานวิจัยนี้ และทุกคนจะได้รับการทายาชาทั้งสองชนิดบนแขนทั้งสองข้างโดยการสุ่มเลือก หลังจากนั้นจะประเมินระดับความเจ็บปวดโดยการหมุนเข็มที่ประกอบเข้ากับเครื่องมือวัดความลึกระบบดิจิตัลลงไปในผิวหนัง และให้อาสาสมัครระบุระดับความเจ็บปวดออกมาเป็น Verbal pain scale (VPS) ผลการศึกษาพบว่า ยาทา 5% ลิโดเคน/ไพรโลเคน ให้ประสิทธิภาพในการเกิดความชาที่ผิวหนังได้ดีกว่ายาทา 10% ลิโดเคนอย่างมีนัยสำคัญ  (p < 0.001) ทั้งในแง่ของระดับความลึกของผิวหนังที่เกิดการชา  ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทายาชา และระยะเวลารู้สึกชาต่อเนื่องหลังเช็ดยาชาออกแล้ว นอกจากนั้นยังไม่พบผลข้างเคียงชนิดรุนแรงแรงเกิดขึ้น จึงสรุปได้ว่ายาชาทั้งสองชนิดมีความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน
Description: MASTER OF SCIENCE (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1336
Appears in Collections:Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621110027.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.