Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1333
Title: THE NEED ASSESSMENT OF INFORMATION TECHNOLOGY MANAGEMENT FORACADEMIC ADMINISTRATION IN SMALL-SIZED SCHOOLS UNDERTHE SUPHANBURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
การประเมินความต้องการจำเป็นการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
Authors: PANTHITA ONKLAMPHOL
ปัณฑิตา อ่อนกล่ำผล
Theeraphab Phetmalhkul
ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: ความต้องการจำเป็น
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารงานวิชาการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
Needs Assessment
Information Technology Management
Academic Administration
Suphanburi Primary Educational Service Area Office 1
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the needs assessment for information technology management in academic administration; (2) to analyze the factors of information technology management for academic administration; and (3) to propose guidelines for information technology management in academic administration in small-sized schools under the authority of the Suphanburi Primary Educational Service Area, Office One. The research methodology consisted of two steps: (1) survey research by needs assessment. The samples were 196 administrators and teachers, and employed the theories of Krejcie and Morgan. The stratified random sampling used simple random sampling. The research instruments were the questionnaire as the dual–response format for priorities with Modified Priority Needs Index (PNImodified). IOC (Index of Item - Objective Congruence) was valued at 0.80-1.00 and reliability of the reality need was .94 and reliability of the expectation need was .99; and (2) an interview was used to analyze the needs assessment causes and guidelines for information technology management in academic administration among of five staff members responsible for information technology management. The data were analyzed using mean, standard deviation, Modified Priority Needs Index (PNImodified), and content analysis. The results of the research is that the development of learning resources had the most urgent needs assessment (PNImodified = 0.36), followed by research for the educational improvement (PNImodified = 0.29) and teaching and learning management (PNImodified = 0.26); (2) the reason for this need are the fact that the budget for supporting efficient internet and computer systems were not provided, teachers lack of knowledge and information technology skills, shortage of information technology personnel, and lack of promotion in terms of information technology; and (3) guidelines for information technology management in academic administration to provide a budget to support efficient internet and computer systems, organize training to develop teachers in information technology skills, appoint personnel responsible for information technology, and raise awareness of and promote the use of information technology.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 2) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงสำรวจการประเมินความต้องการจำเป็นการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหาร และครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 196 คน จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามตอบสนองคู่มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้ค่าดัชนี PNImodified ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามระหว่าง 0.80 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพที่เป็นจริงการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ เท่ากับ .94 และสภาพที่คาดหวังการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ เท่ากับ .99 และระยะที่ 2 การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 5 คน เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นและการหาแนวทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้มีความต้องการจำเป็นเร่งด่วนมากที่สุด (PNImodified = 0.36) รองลงมาคือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (PNImodified = 0.29) และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNImodified = 0.26) ตามลำดับ 2) สาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็น คือ สถานศึกษาไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาระบบอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ ครูขาดความรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และขาดการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) แนวทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ คือ จัดหางบประมาณสนับสนุนระบบอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ จัดอบรมพัฒนาครูด้านทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และสร้างความตระหนัก และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1333
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130194.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.