Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/131
Title: THE COMPARISON OF PNEUMATIC INJECTOR WITH NORMAL SALINE METHOD WITH SUBCISION FOR THE TREATMENT ATROPHIC ACNE SCAR
การศึกษาประสิทธิผลของการใช้เทคนิคการฉีดน้ำเกลือเข้าสู่ใต้ผิวหนังโดยใช้แรงอัดอากาศเทียบกับวิธีการรักษาด้วยวิธีเซาะพังผืดในการรักษาแผลเป็นหลุมสิว 
Authors: JANA PRAVANGSUK
จณา ประวังสุข
Nanticha Kamanamool
นันทิชา คมนามูล
Srinakharinwirot University. Faculty of Medicine
Keywords: รอยแผลเป็นจากสิว, รอยแผลเป็นหลุมสิว, การรักษาด้วยวิธีเซาะพังผืด, การรักษาด้วยวิธีการนำสารเข้าสู่ผิวหนังโดยการใช้แรงอัดอากาศ
acne scar atrophic acne scar subcision pneumatic injection jet injection
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research is a randomized controlled trial study, exhibiting the effectiveness of pneumatic injector with normal saline for treatment of boxcar type and rolling type acne scars. Twenty patients from Srinakharinwirot University Dermatology Center, were randomly selected and applied the pneumatic injector therapy on one half of each subjects face.The procedure will be done in three sessions, once every 4 weeks.The other half of each subjects face was treated with subcision techniques at the end of first week of the protocol period. The result reveals no statistically significant in terms of diameter and depth of  boxcar and rolling acne scars over 12-week follow-up. Also, the patients and physicians' satisfaction between these two treatment protocol were indifferent with 25-50% resolution of scar. No serious adverse effect was occurred. Minor reactions were found to resolved within 2 weeks. This study were able to demonstrate that normal saline injection by pneumatic injector could be applied as an alternative treatment for boxcar and rolling scar with the benefits of less invasiveness but same efficacy and safety.
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงประสิทธิผลของการใช้เทคนิคการฉีดน้ำเกลือเข้าสู่ผิวหนังโดยอาศัยแรงอัดอากาศในการรักษาแผลเป็นหลุมสิวชนิด boxcar และrolling ในผู้ป่วยจำนวน  20 คนที่มาใช้บริการที่ศูนย์ผิวหนังมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยแบ่งใบหน้าของอาสาสมัครเป็นสองข้าง แล้วทำการสุ่มเลือกข้างที่จะรักษาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ข้างที่สุ่มได้จะทำการรักษาด้วยวิธีการฉีดน้ำเกลือเข้าสู่ผิวหนังโดยอาศัยแรงอัดอากาศทั้งหมด 3 ครั้ง ระยะห่างกัน 4 สัปดาห์ และด้านตรงข้ามทำการรักษาด้วยวิธีเซาะพังผืด1ครั้งในสัปดาห์แรกของการวิจัย ผลการศึกษาพบว่าการรักษาหลุมสิวชนิด boxcar และ rolling โดยการใช้เทคนิคการฉีดน้ำเกลือเข้าสู่ผิวหนังจำนวน 3 ครั้ง มีประสิทธิผลไม่แตกต่างจากการรักษาด้วยวิธีการเซาะพังผืดจำนวน 1 ครั้ง เมื่อติดตามผลที่ 12 สัปดาห์ ทั้งการตื้นขึ้นและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ลดลง  ความพึงพอใจของอาสาสมัครต่อการรักษาทั้งสองด้านอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมาก และเมื่อประเมินผลการรักษาโดยแพทย์พบว่าทั้งสองกลุ่มให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกันคือดีขึ้นประมาณ 25-50%จากก่อนการรักษา ผลข้างเคียงทั้งสองกลุ่มที่พบไม่รุนแรงหายได้เอง ดังนั้น การรักษาด้วยเทคนิคการฉีดน้ำเกลือเข้าสู่ผิวหนังโดยใช้แรงอัดอากาศอาจใช้เป็นทางเลือกในการรักษารอยแผลเป็นหลุมสิวชนิด boxcar และ rolling เนื่องจากให้ผลการรักษาที่ดี เเละเป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัย
Description: MASTER OF SCIENCE (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/131
Appears in Collections:Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591110068.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.