Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1295
Title: THE EFFECT OF CRYSTAL-BASED LEARNING WITH AUTHENTIC ASSESSMENT ON SCIENCE COMPETENCY OF MATHAYOM 1 STUDENTS
ผลของการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกโดยประยุกต์ใช้การประเมินสภาพจริง ที่มีต่อสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 
Authors: JULALUCK WONGWATTANA
จุฬาลักษณ์ วงษ์วัฒนะ
Wilailak Langka
วิไลลักษณ์ ลังกา
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบตกผลึก
สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์
Crystal-Based Learning
Scientific Competency
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to compare the scientific competency of Mathayomsuksa One students who received crystal-based learning with authentic assessment when controlling scientific identity. The research sample consisted of 24 Mathayomsuksa One students of Kanoksinpittayakom School during the second semester of the 2020 academic year, which was obtained by Multi-stage Sampling. The research instruments consisted of a scientific identity assessment scale, crystal-based learning with authentic assessment management plan and tests of science competency. The statistics employed for data analysis were mean, standard deviation and One-Way Repeated Measures ANCOVA. The results of the research were as follows: scientific identity affecting science competency from all three repeated tests at a statistically significant level of .05. (F= 86.853, p =0.000) When comparing the scientific competency scores of the students, who learned with crystal-based learning with authentic assessment from all three repeated tests with scientific identity as a covariate variable. The results of comparing each pair were found that the Scientific Competency Mean Score, Unit 1 and Unit 2, had a statistically significant difference of .05 . Unit 2 and Unit 3, had a statistically significant difference of .05 . Unit 1 and Unit 3, had a statistically significant difference of .05 .
งานวิจัยนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึก โดยประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง จากการวัดซ้ำเมื่อควบคุมเอกลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษาที่ 2563 โรงเรียนกนกศิลป์พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 24 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดเอกลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ , แผนการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกประกอบการประเมินสภาพจริง และแบบทดสอบสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมเมื่อมีการวัดซ้ำ One – way Repeated Measures ANCOVA ผลการวิจัยพบว่า  สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกโดยประยุกต์ใช้การประเมินสภาพจริงครั้งที่ 1 , 2 และ 3 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( F= 86.853 , p =0.000) เมื่อควบคุมเอกลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกโดยประยุกต์ใช้การประเมินสภาพจริง โดยมีเอกลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์เป็นตัวแปรร่วม ผลการเปรียบเทียบรายคู่พบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 , ครั้งที่ 2 และ ครั้งที่ 3 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 , ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 3 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1295
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601130118.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.