Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1278
Title: | DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON RESOURCE-BASED LEARNING WITH GENRE-BASED APPROACH TO ENHANCE ACADEMIC WRITING ABILITY OF UNDERGRADUATE STUDENTS การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบอรรถฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต |
Authors: | CHI-SANUPONG INTHARAKASEM ชิษณุพงศ์ อินทรเกษม Suppawan Satjapiboon ศุภวรรณ สัจจพิบูล Srinakharinwirot University. Faculty of Education |
Keywords: | รูปแบบการเรียนการสอน การเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นฐาน การสอนเขียนแบบอรรถฐาน การเขียนเชิงวิชาการ Instructional Model Resource-based learning Genre-based approach Academic Writing |
Issue Date: | 16 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The objectives of this research are as follows: (1) to study the components of the academic writing ability of undergraduate students; (2) to develop an instructional model; and (3) to study the efficiency and effectiveness of the instructional model. This research consisted of three phases: (1) a study of the components of academic writing ability among undergraduate students; (2) developing an instructional model; and (3) experimenting with the instructional model and developing a complete instructional model. The subjects consisted of 26 undergraduate students from the Faculty of Education at Srinakharinwirot University. The duration of experiment was one semester. The research instruments were an academic writing test and criteria, an academic writing attitude scale, a learning log and an instructional log. The data were analyzed by using a dependent t-test, mean, standard deviation and content analysis. The findings of this research were as follows: (1) there were five components of academic writing ability among undergraduate students; (2) the instructional model had four components: (2.1) principles; (2.2) objectives; (2.3) the instructional process had six steps: (1) selecting the topic; (2) planning to search for information; (3) searching for information; (4) evaluating and selecting information; (5) genre analysis; and (6) developing complete writing; and (2.4) measurement and evaluation; (3) the instructional model was effective at the highest level and the consistency assessment which was consistent. The effectiveness of the instructional model showed that subjects had a higher average score on academic writing before the experiment at a 0.05 level of significance in all components. The subjects had attitudes to academic writing at the highest level. การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบอรรถฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการ (3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน วิธีการดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนและการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 26 คน ใช้เวลาในการทดลอง 1 ภาคเรียน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการ เกณฑ์ประเมินความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการ และแบบวัดระดับเจตคติต่อการเขียนเชิงวิชาการ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ แบบบันทึกการเรียนรู้ และแบบบันทึกผลการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการก่อนเรียนและหลังเรียน และการแปลผลระดับเจตคติต่อการเขียนเชิงวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติทดสอบค่าที (t-test dependent) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลจากบันทึกการเรียนรู้และบันทึกผลการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านรูปแบบงานเขียน ด้านการนำเสนอเนื้อหา ด้านการจัดระเบียบและเรียบเรียงความคิด ด้านการใช้ภาษา และด้านการใช้แหล่งข้อมูลประกอบการเขียน (2) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ (2.1) หลักการ (2.2) วัตถุประสงค์ (2.3) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน มี 6 ขั้นหลัก คือ (1) ขั้นเลือกประเด็นการเขียน (2) ขั้นวางแผนรวบรวมข้อมูล (3) ขั้นแสวงหาและรวบรวมข้อมูล (4) ขั้นประเมินค่าและคัดสรรข้อมูล (5) ขั้นวิเคราะห์อรรถลักษณ์ของภาษาเพื่อพัฒนางานเขียนฉบับร่าง และ (6) ขั้นพัฒนาคุณภาพงานเขียนฉบับสมบูรณ์ และ (2.4) การวัดและประเมินผล (3) ผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความสอดคล้องทุกรายการประเมิน ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า นิสิตมีคะแนนความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีระดับเจตคติต่อการเขียนเชิงวิชาการภาพรวมในระดับมากที่สุด |
Description: | DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1278 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs591150007.pdf | 4.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.