Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1254
Title: THE RECREATION MANAGEMENT MODEL FOR STUDENTS OF RAJABHAT UNIVERSITIES UNDERBANGKOK AND CENTRAL REGION NETWORK
รูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎเครือข่ายกรุงเทพมหานครและภาคกลาง
Authors: WICHIAN TUVIRA
วิเชียร ทุวิลา
Sumonratree Nimnatipun
สุมนรตรี นิ่มเนติพันธ์
Srinakharinwirot University. Faculty of Physical Education
Keywords: มหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายกรุงเทพมหานครและภาคกลาง
กิจกรรมนันทนาการ
รูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการ
Rajabhat Universities under Bangkok and Central Region Network
Recreation Activities
Recreation Management Model
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research are as follows: (1) to study the states, problems, priority needs and the model for recreation activities of Rajabhat University students under the Bangkok and Central Region Network; (2) to create and develop an appropriate recreation management model; and (3) to study the feasibility and utility of the recreation management model for the students in actual situations. The participants in the first phase were 10 specialists and recreational staff, 400 students from Rajabhat Universities under the Bangkok and Central Region Network. The participants in the second phase were 18 specialists and stakeholders. The participants in the third phase were 28 executives and recreational from Rajabhat Universities. The research instruments were as follows: (1) open-ended and unstructured question interview and a questionnaire in the first phase. All items had IOC values between 0.67-1.00; (2) a questionnaire for the specialists to study the correctness and appropriateness of the second phase; and (3) a questionnaire for the specialists to study the feasibility and Utility of the recreation management model for the students of Rajabhat Universities under Bangkok and Central Region Network. This questionnaire consisted of seven components: structure, personnel, function, activity, facility, budget, and time. The research findings showed that the PIN modified scores for the needs of time were 1.04, and the activity and budget were 1.03, respectively. The accuracy and propriety of the model were calculated and the highest median score was 5.00. In addition, the Interquartile Range (IQR) was 0.00. The analysis of the feasibility and utility of the recreation management model for the students showed that the possibility model and its feasibility was at the highest level (x = 4.67, S.D. = 0.48). Moreover, the recreation management model of Utility was at the highest level (x = 5.00, S.D. = 0.00).
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยและพัฒนานี้เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวทางในการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักศึกษาในสภาพการณ์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายกรุงเทพมหานครและภาคกลาง 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักศึกษาที่มีความถูกต้องและความเหมาะสม 3) ศึกษาความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของการนำรูปแบบการจัดการกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักศึกษาไปใช้ในสถานการณ์จริง ผู้มีส่วนร่วมของงานวิจัยในระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานด้านกิจกรรมนันทนาการ จำนวน 10 คน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายกรุงเทพมหานครและภาคกลาง จำนวน 400 คน ผู้มีส่วนร่วมของงานวิจัยในระยะที่ 2 คือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมนันทนาการ จำนวน 18 คน และผู้มีส่วนร่วมของงานวิจัยในระยะที่ 3 คือผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฎ และบุคลากรผู้ปฏิบัติกิจกรรมนันทนาการ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 ได้แก่แบบสัมภาษณ์คำถามปลายเปิด (Opened ended question) แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถาม (Questionnaire) มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00) ระยะที่ 2 ได้แก่แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพื่อสอบถามความถูกต้องและความเหมาะสม ระยะที่ 3 ได้แก่ แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพื่อสอบถามความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ของรูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎเครือข่ายกรุงเทพมหานครและภาคกลาง โดยมีขอบเขต 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) โครงสร้างการบริหารงานกิจกรรมนันทนาการ (Structure) 2) บุคลากร (Personnel) 3) บทบาทหน้าที่ของบุคลากร (Function) 4) กิจกรรมนันทนาการ (Activity) 5) สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility) 6) งบประมาณ (Budget) 7) ระยะเวลา (Time) ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของรูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยรวม พบว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาการจากสภาพที่เป็นอยู่ไปยังสภาพที่ควรจะเป็น ด้านระยะเวลา มีค่า PNImodified เท่ากับ 1.04 รองลงมาได้แก่ ด้านกิจกรรมนันทนาการ และด้านงบประมาณ มีค่า PNImodified เท่ากับ 1.03 การวิเคราะห์ระดับความถูกต้องขององค์ประกอบของรูปแบบ และระดับความเหมาะสมขององค์ประกอบของรูปแบบ มีค่ามัธยมฐาน (Median) อยู่ในระดับมากที่สุด (5.00) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) 0.00 หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน และการวิเคราะห์ระดับความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบตามคู่มือไปใช้ และระดับความเป็นประโยชน์ของรูปแบบตามคู่มือ พบว่า รูปแบบในภาพรวมทุกองค์ประกอบ มีระดับความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด  (x = 4.67, S.D. = 0.48)  และระดับความเป็นประโยชน์ของรูปแบบตามคู่มือ อยู่ในระดับ มากที่สุด (x = 5.00, S.D. = 0.00)
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1254
Appears in Collections:Faculty of Physical Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571150030.pdf15.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.