Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1253
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorNUTTAWADEE JENSIRIPONen
dc.contributorณัฐวดี เจนสิริผลth
dc.contributor.advisorSiriporn Dabpheten
dc.contributor.advisorศิริพร ดาบเพชรth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot University. Faculty of Social Sciencesen
dc.date.accessioned2021-09-08T11:44:53Z-
dc.date.available2021-09-08T11:44:53Z-
dc.date.issued16/8/2021
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1253-
dc.descriptionMASTER OF ARTS (M.A.)en
dc.descriptionศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)th
dc.description.abstractThis dissertation attempts to study the contexts that lead to the Taiping popular movement and the Donghak popular movement.  It is also to analyse their ideologies and the role of the movement leaders - Hong Xiuquan of Taiping, and Jeon Bongjun of Donghak. The purpose of this dissertation is to point out the outcomes of movements to the Qing and the Joseon. I expect that the General Theories of Revolution by Jack A. Goldstone can be applied to support my comparative analysis in Taiping-Donghak more comprehensively. The results of the study revealed that the Taiping and the Donghak were not only comparable in the time and the context in which the movements happened, but they also were compared in the ideologies and their consequences to the dynasties. The Qing and the Joseon were the last dynasties of China and Korea which similarly faced both the internal disturbances and the external influences - Imperialism since the beginning of the nineteenth century. The Taiping popular movement (1851-1864) occurred in the late Qing (1644-1912) incubated in the impoverished southernmost area, full of radical ethnic discrimination. Likewise, The Donghak popular movement (1894-1895) emerged in the late Joseon (1392-1910) from the Southern provinces, suffered from poverty, and local officers’ corruption. Their ideologies for the movements were based on religious dogma, egalitarianism, and anti-foreigners. The Taiping principles were the combination of Christianity and ancient Chinese beliefs, the utopian ideal such as equality in the land and treasury, anti-Manchus, and Confucianism. Comparably, the Donghak concepts were humanism, farmland distribution, and “Donghak Religion” - Eastern Learning, founded in the 1860s by Choe Je-u. The Donghak religion, which was recently known as Cheondoism or The Heavenly Way, was a fusion idea of Confucianism, Taoism, Buddhism, and Korean Shamanism. It was used to react to the “Seohak” - Western Learning.en
dc.description.abstractปริญญานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทที่นำไปสู่การเคลื่อนไหวของประชาชนโดยกลุ่มไท่ผิงและกลุ่มทงฮัก วิเคราะห์แนวคิดและอุดมการณ์ รวมไปถึงบทบาทของผู้นำการเคลื่อนไหว อันได้แก่ หงซิ่วเฉวียนของกลุ่มไท่ผิง และชอนบงจุนของกลุ่มทงฮัก จุดมุ่งหมายของปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ยังต้องการแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ตามมาจากการเคลื่อนไหวต่อราชวงศ์ชิงและราชวงศ์โชซอน ซึ่งผู้วิจัยคาดหวังว่าทฤษฎีพื้นฐานของการปฏิวัติ ที่เรียบเรียงโดย Jack A. Goldstone จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์กลุ่มไท่ผิง-ทงฮักในเชิงเปรียบเทียบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มไท่ผิงและกลุ่มทงฮักไม่เพียงเปรียบเทียบกันได้ในแง่ของเวลาและสภาพแวดล้อมของเหตุการณ์เท่านั้น แต่ยังสามารถเปรียบเทียบในด้านอุดมการณ์และผลกระทบที่ตามมาต่อราชวงศ์ชิงและราชวงศ์โชซอนได้อีกด้วย ซึ่งชิงและโชซอนต่างเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีนและเกาหลีที่ต้องเผชิญทั้งปัญหาภายในประเทศและปัญหาภายนอกอย่างลัทธิจักรวรรดินิยมตั้งแต่เริ่มเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ขบวนการไท่ผิง (ค.ศ.1851-1864) เกิดขึ้นในปลายราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1912) มีจุดเริ่มต้นจากดินแดนยากแค้นทางตอนใต้ของประเทศซึ่งเต็มไปด้วยความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ เช่นเดียวกับขบวนการทงฮัก (ค.ศ.1894-1895) อุบัติขึ้นในปลายราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910) จากมณฑลทางตอนใต้ที่ประสบกับปัญหาความยากจน รวมไปถึงการทุจริตคดโกงของข้าราชการท้องถิ่น อุดมการณ์ในการเคลื่อนไหวของทั้งสองขบวนการมีรากฐานจากแนวคิดในด้านศาสนา ความเสมอภาคเท่าเทียม และการต่อต้านชาวต่างชาติ อุดมการณ์ของไท่ผิงเป็นการผสมผสานระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อของจีนโบราณ ตลอดจนแนวคิดในอุดมคติ เช่น การจัดสรรที่ดินและทรัพย์สินอย่างเท่าเทียม การต่อต้านชาวแมนจู และการต่อต้านลัทธิขงจื่อ เช่นเดียวกันกับหลักการของกลุ่มทงฮัก อันประกอบด้วยแนวคิดมนุษยนิยม การแบ่งสรรที่ดินทำกิน และ “ลัทธิทงฮัก” หรือ ศาสตร์แห่งตะวันออก ซึ่งเป็นลัทธิที่ก่อตั้งโดยชเวเจอู ราว ค.ศ.1860 (ปัจจุบันรู้จักในชื่อลัทธิช็อนโด หรือวิถีแห่งสวรรค์) ที่ผสานเอาแนวคิดของลัทธิขงจื่อ ลัทธิเต๋า ศาสนาพุทธ และความเชื่อเรื่องผีสางในสังคมยุคโชซอน มาผสมผสานเป็นลัทธิทงฮักเพื่อคานอำนาจทางความคิดกับ “ซอฮัก” หรือศาสตร์แห่งตะวันตกth
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectไท่ผิงth
dc.subjectทงฮักth
dc.subjectชิงth
dc.subjectโชซอนth
dc.subjectการเคลื่อนไหวของประชาชนth
dc.subjectTaipingen
dc.subjectDonghaken
dc.subjectQingen
dc.subjectJoseonen
dc.subjectPopular movementen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleTAIPING-DONGHAK POPULAR MOVEMENTS IN THE LAST DYNASTIES OF CHINA AND KOREAen
dc.titleไท่ผิง-ทงฮัก การเคลื่อนไหวของประชาชนในราชวงศ์สุดท้ายของจีนและเกาหลีth
dc.typeThesisen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621130380.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.