Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1245
Title: APPLICATION OF GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEM TO EVALUATE ACCESSIBILITY LEVELS OF PUBLIC TRANSPORTATION SYSTEM IN MUEANG PHITSANULOK DISTRICT
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อประเมินระดับประสิทธิภาพการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก
Authors: NAPONG VACHEETHASANEE
ณพงศ์ วจีทัศนีย์
Sutatip Chavanavesskul
สุธาทิพย์ ชวนะเวสสกุล
Srinakharinwirot University. Faculty of Social Sciences
Keywords: ขนส่งสาธารณะ
ระดับประสิทธิภาพ
ระยะเดินเท้า
เมืองพิษณุโลก
Public transportation
Efficiency level
Pedestrian
Mueang Phitsanulok
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: In the future, the northern high-speed rail will pass through the urban area of Phitsanulok province. However, nowadays public transport systems are still not responding to the needs of users due to inefficiency and difficulties with access. The Office of Transport and Traffic Policy and Planning (OTP) of the Ministry of Transport has prepared the master plan for the Phitsanulok transit system development to be more efficient and to support high-speed rail projects in the future. The plan also includes the Transit Oriented Development (TOD), which supports the improvement of the areas surrounding mass transit stations. This research aims to analyze and to compare the efficiency level of Bus Service Category 1 that currently operates according to the master plan of the Mueang Phitsanulok district by applying the Geographic Information System (GIS) and the analysis of the Public Transport Accessibility Level (PTAL). The results of this research showed that the bus service area should be accessible by walking, according to the master plan for Bus Service Category 1 was larger than the current service area by approximately 3.92 square kilometers. Meanwhile, the efficiency of the Bus Service Category 1 in all periods was at a level of Very Poor 1a (low) and 1b level. However, according to the master plan, the efficiency level of Bus Service Category 1 had a tendency to rise because of the increased frequency of service which decreases the waiting time for passengers. The efficiency value also qualified the category of commercial and high-density residential areas, located in the city center close to the Phitsanulok railway station. This finding can be applied to improve the public transport structure in Mueang Phitsanulok district to reduce traffic jams and develop the linkage system of public transport to areas far from the city. This will also support the future expansion of the city of Phitsanulok, as well as the development of an urban infrastructure to bolster other projects for Phitsanulok city in the future.
ในอนาคตอันใกล้ จังหวัดพิษณุโลกจะมีโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือผ่านบริเวณพื้นที่เขตเมือง แต่ในปัจจุบันระบบขนส่งสาธารณะยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ เนื่องจากขาดประสิทธิภาพและยากแก่การเข้าถึง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้จัดทำแผนแม่บทรถโดยสารประจำทางหมวดที่ 1 เพื่อช่วยให้ระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลกมีประสิทธิภาพมากขึ้น รองรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงในอนาคต ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development : TOD) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการเข้าใช้บริการรถโดยสารประจำทางหมวดที่ 1 ที่ให้บริการในปัจจุบันและตามแผนแม่บทในพื้นที่เขตเมืองพิษณุโลก โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) ร่วมกับการวิเคราะห์ระดับการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ (Public transport accessibility level : PTAL) ผลการวิจัย พบว่า พื้นที่บริการตามระยะเดินเท้าเพื่อเข้าใช้บริการรถโดยสารประจำทางหมวดที่ 1 ตามแผนแม่บท มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าการให้บริการปัจจุบันประมาณ 3.92 ตารางกิโลเมตร ในขณะที่ระดับประสิทธิภาพการเข้าใช้บริการรถโดยสารประจำทางหมวดที่ 1 ในปัจจุบันของทุกช่วงเวลา อยู่ในระดับประสิทธิภาพที่ต่ำมาก คือ Very poor 1a(Low) และ Very poor 1b แต่ระดับประสิทธิภาพการเข้าใช้บริการรถโดยสารประจำทางหมวดที่ 1 ตามแผนแม่บทมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีความถี่ในการให้บริการที่มากขึ้น ทำให้ผู้โดยสารใช้เวลาในการรอคอยรถโดยสารประจำทางน้อยลง โดยมีค่าประสิทธิภาพถึงระดับ Very Good  และอยู่ในพื้นที่ประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ซึ่งเป็นบริเวณศูนย์กลางเมืองใกล้กับสถานีรถไฟพิษณุโลก ผลการวิจัยดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองพิษณุโลก เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด และพัฒนาการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมือง เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองพิษณุโลกในอนาคต รวมถึงเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เพื่อสนับสนุนโครงการอื่นๆในอนาคตให้กับเมืองพิษณุโลกได้  
Description: MASTER OF SCIENCE (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1245
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130313.pdf6.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.