Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1178
Title: A STUDY OF CONTEMPORARY MUSIC: CASE STUDY OF "STILL ON MY MIND" (BANLENG PLENG FAH) BY CHAIBHUK BHUTRACHINDA
การศึกษาการเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีร่วมสมัย กรณีศึกษาชุด ในดวงใจนิรันดร์ (บรรเลงเพลงฟ้า) โดย ชัยภัค ภัทรจินดา
Authors: SUPARERK PUTSARO
ศุภฤกษ์ พุฒสโร
Nuttika Soontorntanaphol
นัฏฐิกา สุนทรธนผล
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: ดนตรีร่วมสมัย
การเรียบเรียงเสียงประสาน
แนวทำนองสอดประสาน
Contemporary Music
Arrangement
Counterpoint
Issue Date:  14
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research is a study of contemporary music, and a case study of the song “Still on My Mind” (Banleng Pheng Fah) by Chaibhuk Bhutrachinda, which had the aim of researching the creation of the contemporary works of Chaibhuk Bhutrachinda, to study the concepts and analyze the techniques for arranging contemporary music with qualitative research in descriptive analysis. The results of the study found the following: the contemporary music creation method of Chaibhuk Bhutrachinda, which compared of Thai stringed instruments. It is the first skill that leads Chaibhuk to understand contemporary music and comparing the sound of a normal Thai instrument will be close to the note on the scale Bb in the Concert Key. It was also found that the comparison of Thai music to be able to play with Western music properly while retaining a unique sound color. You can add up to half the scale, i.e., the A and B scales. It is also important to always use chords with four or more notes.  All songs must also have a clear musical structure and used synthetic sounds to clearly express the mood. These four parts of knowledge are related to each other: sound comparison, chords, musical structure and synthesizers. The conceptual study results arranged techniques for contemporary music, the case study of “Still on My Mind” (Banleng Pheng Fah) found that this song was created to commemorate and pay tribute to His Majesty the King Maha Bhumibol Adulyadej the Great (present name). The 11 selected songs used the concept, inspired by the interpretation of the song title and directing the arrangement in accordance with the original music and choosing appropriate instruments to play the main melody. The main melody of the songs in this set is shifted to a number every 16, 8, 4 or 2 rooms. Most compositions were found in Bb key-based systems and emphasized the comparison of musical instruments with notes on the blues scale.  Then, an opening verse for introduction (intro), a solo verse in the middle (solo), and created the end verse (outro). As for the color of the song, the sound of synthesized instruments determines the mood.  The harmonic arrangement has a homophonic texture. In order to create counterpoint, the key note is placed as one of the notes in the chord and also focused on the direction of movement of the notes in Counterpoint as well.
การศึกษาการเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีร่วมสมัย กรณีศึกษาชุด ในดวงใจนิรันดร์ (บรรเลงเพลงฟ้า) โดย ชัยภัคภัทรจินดา มีจุดมุ่งหมายของการค้นคว้าวิจัยเพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีร่วมสมัยของ ชัยภัค ภัทรจินดาและเพื่อศึกษาแนวคิด พร้อมวิเคราะห์เทคนิคการเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีร่วมสมัยกรณีศึกษาชุด ในดวงใจนิรันดร์ (บรรเลงเพลงฟ้า) โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ในการศึกษาวิธีการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีร่วมสมัยของ ชัยภัค ภัทรจินดา ทำให้ทราบว่า การเทียบเสียงเครื่องดนตรีไทยที่เป็นเครื่องสาย เป็นทักษะแรกที่นำพา ชัยภัค เข้าสู่ความเข้าใจในดนตรีร่วมสมัย การเทียบเสียงของเครื่องดนตรีไทยตามปกติ จะใกล้เคียงกับโน้ตบนบันไดเสียง Bb ใน Concert Key และยังพบว่าการเทียบเสียงดนตรีไทยให้สามารถเล่นร่วมกับดนตรีตะวันตกได้อย่างเหมาะสมโดยยังคงไว้ซึ่งสีสันเสียงเอกลักษณ์ไว้ สามารถเพิ่มลดได้ไม่เกินครึ่งเสียงคือ บันไดเสียง A และ B นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการใช้คอร์ดที่มีโน้ตรวมกันตั้งแต่ 4 โน้ตขึ้นไปเสมอ โดยทุกเพลงต้องมีโครงสร้างเพลงที่ชัดเจน และใช้เสียงสังเคราะห์ในการบ่งบอกอารมณ์เพลงให้ชัดเจนอยู่เสมอ รวมเป็นองค์ความรู้ 4 ส่วน ที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ การเทียบเสียง, คอร์ด, โครงสร้างเพลง  และเสียงสังเคราะห์ (Synthesizers) ในส่วนของการศึกษาแนวคิด และเทคนิคการเรียบเรียงเสียงประสานดนตรีร่วมสมัย กรณีศึกษาชุด ในดวงใจนิรันดร์(บรรเลงเพลงฟ้า) พบว่า เพลงชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึงพระราชอัจฉริยภาพและเป็นการถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พระนามปัจจุบัน) คัดเลือกมาจำนวน 11 เพลง โดยใช้แนวคิด, แรงบันดาลใจจากการตีความหมายของชื่อเพลง และกำหนดทิศทางการเรียบเรียงให้สอดคล้องกับเพลงต้นฉบับบนพื้นฐานจากประสบการณ์รับรู้เดิม และเลือกใช้เครื่องดนตรีบรรเลงทำนองหลักให้เหมาะสม แนวทำนองหลักของเพลงในชุดนี้จะถูกย้ายแนวเปลี่ยนเครื่องดนตรีเป็นจำนวนทุก ๆ 16, 8, 4 หรือ 2 ห้องเพลง พบการเรียบเรียงเพลงให้อยู่ในระบบอิงกุญแจเสียง Bb มากที่สุด เน้นการเทียบเสียงเครื่องดนตรีให้มีโน้ตอยู่บนบันไดเสียงแบบ Blues Scale ในด้านสังคีตลักษณ์จะคงไว้ซึ่งท่อนเพลงเดิมก่อน แล้วจึงทำการสร้างท่อนเริ่มต้นเพลงเพื่อเกริ่นนำ (Intro), สร้างท่อนเดี่ยวดนตรีกลางเพลง (Solo) และสร้างท่อนดนตรีท้ายเพลง (Outro) ส่วนสีสันเสียงของเพลงจะให้เสียงเครื่องดนตรีสังเคราะห์เป็นตัวกำหนดอารมณ์เพลงเป็นหลัก การเรียบเรียงเสียงประสานจะมีเนื้อดนตรี (Texture) เป็นแบบการเน้นทำนองหลักเพียงแนวเดียว (Homophony) ในการสร้างแนวทำนองสอดประสานจะลงโน้ตสำคัญเป็นโน้ตใดโน้ตหนึ่งที่อยู่ในคอร์ดอยู่เสมอ และให้ความสำคัญกับทิศทางการเคลื่อนของโน้ต ในแนวดนตรีสอดประสานด้วยเช่นกัน
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1178
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130228.pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.