Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1109
Title: | THE ASSOCIATION BETWEEN MATERNAL PERIODONTAL DISEASES
IN POSTPARTUM PERIOD AND PRETERM BIRTH IN NANGRONG HOSPITAL ความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์ของมารดาหลังคลอดและภาวะคลอดก่อนกำหนด ในโรงพยาบาลนางรอง |
Authors: | PATCHAWAN PANRIN ภัทชาวรรณ แป้นรินทร์ Narongsak Laosrisin ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน Srinakharinwirot University. Faculty of Dentistry |
Keywords: | การจำแนกโรคปริทันต์แบบใหม่ตามหลักเกณฑ์การจำแนกโรคปริทันต์ปี 2018 ภาวะคลอดก่อนกำหนด ผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์ New 2018 AAP classification Preterm births Adverse pregnancy outcomes |
Issue Date: | 14 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This present study aims to evaluate the association between maternal periodontal disease and preterm birth in Nangrong Hospital, in Nang Rong, Buriram, and using the 2018 AAP classification. There were 100 participants, divided into two groups: 50 participants in each control group and preterm birth group. The demographic data, periodontal status examination, and additional radiograph examination of participants with periodontitis were collected from all participants. Results: The results of the bleeding on probing index and the number of sites of PD ≥ 5 mm of the preterm birth group were significantly higher than the control group (p<0.05). With regard to the new 2018 AAP classification of periodontal status and periodontitis classification, based on multidimensional staging and grading, were significantly different between the two groups (p<0.05). The simple linear regression analysis showed that maternal periodontal disease had a significant correlation with preterm birth (p<0.05). In conclusion, maternal periodontal disease associated with preterm births. Furthermore, the extent and severity of periodontitis in mothers with preterm births were higher than mothers with full-term births regarding to the new 2018 AAP classification. วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์ของมารดาหลังคลอดและภาวะคลอดก่อนกำหนด ในมารดาหลังคลอดที่มาฝากครรภ์และคลอดบุตรในโรงพยาบาลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้หลักเกณฑ์การจำแนกโรคปริทันต์แบบใหม่ในปี 2018 (Classification of AAP 2018) วิธีการวิจัย อาสาสมัคร 100 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มมารดาที่คลอดอายุครรภ์ปกติจำนวน 50 คน และกลุ่มมารดาที่ทารกคลอดก่อนกำหนดจำนวน 50 คน ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการเก็บข้อมูลพื้นฐาน ตรวจสภาวะปริทันต์ และตรวจทางภาพรังสีเพิ่มเติมในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ด้วยภาพรังสีนอกช่องปากแบบ panoramic เพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มมารดาที่ทารกคลอดก่อนกำหนด มีค่าร้อยละดัชนีการเลือดออกของเหงือก และจำนวนตำแหน่งที่มีร่องลึกปริทันต์เริ่มต้นเท่ากับหรือมากกว่า 5 มิลลิเมตรขึ้นไป มากกว่ากลุ่มมารดาที่คลอดอายุครรภ์ปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อนำการวินิจฉัยโรคปริทันต์รูปแบบใหม่ปี 2018 มาใช้ พบว่าทั้ง 2 กลุ่ม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้งการแบ่งสภาวะโรคปริทันต์เป็นแบบ 3 กลุ่ม คือ สภาวะปริทันต์ปกติ โรคเหงือกอักสบ โรคปริทันต์อักเสบ และการแบ่งโรคปริทันต์อักเสบเป็นแบบขั้นและระดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม จากนั้นทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์ของมารดาหลังคลอดและภาวะคลอดก่อนกำหนดโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple linear regression) พบว่าโรคปริทันต์ในมารดาหลังคลอดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับภาวะคลอดก่อนกำหนด (p<0.05) สรุปผลว่าโรคปริทันต์ในมารดาหลังคลอดสัมพันธ์กับภาวะทารกคลอดก่อนกำหนด และมารดาที่ทารกคลอดก่อนกำหนดจะพบว่ามีขอบเขตและความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบมากกว่าในกลุ่มมารดาที่คลอดอายุครรภ์ปกติ ตามหลักเกณฑ์การจำแนกโรคปริทันต์แบบใหม่ในปี 2018 |
Description: | MASTER OF SCIENCE (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1109 |
Appears in Collections: | Faculty of Dentistry |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611110198.pdf | 2.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.