Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1095
Title: | DEVELOPMENT OF THE ACTIVE LEARNING MANAGEMENT ABILITIES
OF ELEMENTARY TEACHERS THROUGH
THE PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY PROCESS การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ |
Authors: | ANUSSARA CHALERMSRI อนุสสรา เฉลิมศรี Duangjai Seekheio ดวงใจ สีเขียว Srinakharinwirot University. Faculty of Education |
Keywords: | ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ครูประถมศึกษา Active learning management abilities professional learning community process elementary teachers |
Issue Date: | 14 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research aimed to study components and indicators of active learning management abilities (ALMAs), to develop a professional learning community (PLC) process, and to examine the effects of the PLC process on the development of science elementary teachers’ ALMAs. In the first phase of the study, a focus group with four experts was conducted to develop the ALMAs’ components and indicators. Then the ALMAs’ components and indicators were tested the content validity and index of congruence (IOC). The second phase was conducted to develop the PLC process throughout a focus group discussion with five experts. Subsequently, content analysis was used to analyze the PLC process. The third phase was the implementation of the PLC process for developing ALMAs. Seven science elementary teachers in the Ban Na Wai school, Chiang Mai province were voluntary selected informed consent to participate in the study. Qualitative data were collected using a focus group and then were analyzed using the content analysis method Whereas quantitative data were assessed using the ALMAs questionnaire and were analyzed using descriptive statistics, Friedman test, and Wilcoxon sign rank test. The PLC process was adjusted in the fourth phase. Regarding the results of the study, the ALMAs’ components consisted of 1) the ability to write lesson plans that was comprised of 4 subcomponents and 18 indicators and 2) the ability to use active learning in science teaching that was comprised of 6 subcomponents and 17 indicators. The PCL process consisted of three phases (steps) which were preparation, practice and learning, and conclusion phases (steps). All participants had post-intervention mean ALMA scores higher than a specific cut-point (> 75% of the total ALMA score) and post-intervention mean ALMA scores of participants significantly increased at the p-value of .05. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูประถมศึกษา 2) พัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตรศึกษา จำนวน 4 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านนาหวาย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 7 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์กลุ่มและวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นในระยะที่ 1 และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณา Friedman Test และ Wilcoxon signed rank test และระยะที่ 4 การปรับปรุงกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก ซึ่งมีองค์ประกอบย่อย 4 ด้าน และมีตัวบ่งชี้ 18 ข้อ และองค์ประกอบหลักที่ 2 ความสามารถในการปฏิบัติการสอนวิทยาศาสตร์เชิงรุก ซึ่งมีองค์ประกอบย่อย 6 ด้าน และมีตัวบ่งชี้ 17 ข้อ (2) กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติและเรียนรู้ ในขั้นนี้ประกอบด้วยวงรอบย่อยตามปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และขั้นสรุปผล (3) ผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 และกลุ่มเป้าหมายมีพัฒนาการความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในแต่ละวงรอบย่อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Description: | DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1095 |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs571150016.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.