Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1032
Title: THE DEVELOPMENT OF A PRE-VOCATIONAL SKILLS TRAINING MODEL FOR CHILDREN WITH AUTISM IN TRANSITION FROM SCHOOL TO WORK
การพัฒนารูปแบบเตรียมทักษะการทำงานสำหรับเด็กออทิสติก ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสถานศึกษาสู่การมีงานทำ 
Authors: WARUNYANIT JOMKLANG
วรัญนิตย์ จอมกลาง
Siriparn Sriwanyong
ศิริพันธ์ ศรีวันยงค์
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: เด็กออทิสติก
การเตรียมทักษะการทำงาน
การเปลี่ยนผ่าน
มัธยมศึกษา
Autism
Pre-Vocational Skills Training
Transition
Job Coach
Issue Date:  14
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The main purposes of this research are to develop a pre-vocational skills training model for autism transition from school to work. The research was conducted in three phases. The first phase was to study the current conditions, problems, and expectations on preparing pre-vocation skills for the transition from school to work. The second phase was to create a model outline for preparing pre-vocation skills the transition from school to work for autistic people. The final phase was to trial and improve a pre-vocational skills training model for transition from school to work for autistic people. There were four autistic students, from grades 9-12, attending Patumkongka School in the Secondary Educational Service Area, Office Two who served as subjects in the final phase and were enrolled in the second semester of 2019 academic year. They were selected by purposive sampling. This research utilized Experimental Research and Participatory Action Research. The data were analyzed by using frequency and presented in the form of Content Analysis and graphs. The results of research revealed the following: (1) a pre-vocational skills training model for transition from school to work for autistic people. It was a way of working together between families, schools, and the business sector to plan and train work skills so that the transition from school to work went smoothly. It was the integration of four components, which included the following: (1) the roles and contributions of stakeholders include: (1) Family (2) School (3) the business sector and (4) The Job Coach organization agency. Component Two: three steps in transition from school to work: (1) planning; (2) procedure; and (3) evaluation. Component Three: four steps to preparing a child with autism for work: (1) an assessment of their ability to work; (2) to teach work skills; (3) to provide work experience; and (4) to evaluate work development.  Component Four: the eight enhancement factors consisted of: (1) knowledge; (2) data; (3) communication; (4) training; (5) support; (6) trust; (7) budget; and (8) following.
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบรูปแบบเตรียมทักษะการทำงานสำหรับเด็กออทิสติกในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสถานศึกษาสู่การมีงานทำ  โดยมีขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน  ดังนี้  ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความคาดหวังด้านการเตรียมทักษะการทำงานสำหรับเด็กออทิสติกในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสถานศึกษาสู่การมีงาน   ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบเตรียมทักษะการทำงานสำหรับเด็กออทิสติกในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสถานศึกษาสู่การมีงานทำ  และขั้นตอนที่ 3  ทดลองใช้และปรับปรุงรูปแบบเตรียมทักษะการทำงานสำหรับเด็กออทิสติกในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสถานศึกษาสู่การมีงานทำ  กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้ร่างรูปแบบฯ  ประกอบด้วย  เด็กออทิสติกที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562  โรงเรียนปทุมคงคา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 2  จำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์   การวิจัยในขั้นตอนนี้มีรูปแบบการวิจัย  2  ลักษณะ  ได้แก่ ลักษณะที่ 1 การรวบรวมข้อมูลในสถานศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Research)  ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล  แบ่งเป็นเชิงปริมาณ  โดยสถิติพรรณา  ได้แก่  ความถี่  ค่าร้อยละ(Percentage)  และนำเสนอในรูปแบบของกราฟ  และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)   ผลการวิจัยสรุปได้ว่า  รูปแบบการเตรียมทักษะการทำงานสำหรับเด็กออทิสติกในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสถานศึกษาสู่การมีงานทำเป็นแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างครอบครัว  สถานศึกษา  และสถานประกอบการเพื่อวางแผนและฝึกทักษะการทำงานในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสถานศึกษาสู่การมีงานทำให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น  โดยเป็นการบูรณาการ  4  องค์ประกอบ ได้แก่  องค์ประกอบที่ 1 บทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง  ประกอบด้วย  (1)บทบาทและการมีส่วนร่วมของครอบครัว  (2)บทบาทและการมีส่วนร่วมของสถานศึกษา (3)บทบาทและการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการ และ (4)บทบาทและการมีส่วนร่วมขององค์กรผู้สอนงาน  องค์ประกอบที่ 2 การเปลี่ยนผ่านจากสถานศึกษาสู่การมีงานทำ  มี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1)ขั้นวางแผน (2)ขั้นดำเนินการ และ(3)ขั้นประเมินผล องค์ประกอบที่ 3 การเตรียมทักษะการทำงานสำหรับเด็กออทิสติก  มี 4 ขั้นตอน  ประกอบด้วย (1)ประเมินความสามารถในการทำงาน (2)สอนทักษะการทำงาน (3)จัดประสบการณ์การทำงาน (4)ประเมินพัฒนาการในการทำงาน และองค์ประกอบที่ 4  ปัจจัยเสริมประสิทธิภาพ  8 ปัจจัย  ประกอบด้วย (1)ปัจจัยด้านองค์ความรู้ (2)ปัจจัยด้านข้อมูล  (3)ปัจจัยด้านการสื่อสาร  (4)ปัจจัยด้านการฝึกฝน  (5)ปัจจัยด้านการสนับสนุน  (6)ปัจจัยด้านความเชื่อใจ  (7)ปัจจัยด้านงบประมาณ (8)ปัจจัยด้านการติดตาม    
Description: DOCTOR OF EDUCATION (Ed.D.)
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1032
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601120020.pdf10.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.