Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1015
Title: LAND USE CHANGES OF THE MAHAKAN COMMUNITY 1959-2018
ความเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬ พ.ศ. 2502-2561
Authors: KRUEMAS MAROD
เครือมาศ มารอด
Siriporn Dabphet
ศิริพร ดาบเพชร
Srinakharinwirot University. Faculty of Social Sciences
Keywords: การใช้พื้นที่ ชุมชนชานพระนคร ชุมชนป้อมมหากาฬ สวนสาธารณะ
Land use Chan Phra Nakorn community Mahakan community Park
Issue Date:  18
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research examines land use changes in the Mahakan community from 1959 to 2018, the impact of government intervention on these areas, and the way of life after moving out of the Mahakan community. This study researched both primary and secondary documents. In addition, evidence, maps, photos and interview information were also examined. The results revealed that the Mahakan community is located in a suburb of Chan Phra Nakhon, which was established in the early Rattanakosin period and continued until when there were significant changes in terms of land use, which marked the beginning of the use of the Mahakan community. This was due to the fact that the government of Field Marshal Sarit Thanarat had purchased the ​​land with the intention of building a public park as a new tourist attraction in Bangkok. Since then, the main unit responsible for overseeing the park building project has been continuously used by the Mahakan community area through various important projects, such as the Rattanakosin Project in 1982 and the issuance of a land decree in 1992. This has led twenty-six years of conflict between the villagers and the authorities. The struggle to protect the Mahakan community of villagers ended in 2561 and marked the end of an era for the residents and the beginning of the use of this area of as a public city park being displaced, their way of life. After moving out of the community, the villagers were affected in terms of areas, ways of life and people. However, not everyone has abandoned the area, while others have adapted to living in a new place.
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2502 - 2561 และผลกระทบด้านพื้นที่ วิถีชีวิต และผู้คน ที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านหลังจากย้ายออกจากชุมชนป้อมมหากาฬ โดยค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง รวมทั้งใช้หลักฐานประเภทแผนที่ ภาพถ่าย และข้อมูลสัมภาษณ์จากเอกสารต่างๆ ผลการศึกษา พบว่าพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนป้อมมหากาฬมีพัฒนาการสืบเนื่องมาจากชุมชนชานพระนครในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นและดำรงอยู่เรื่อยมาจนกระทั่งประสบกับการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้พื้นที่ครั้งสำคัญใน พ.ศ. 2502 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ของชุมชนป้อมมหากาฬ เนื่องจากรัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีแนวคิดที่จัดซื้อที่ดินบริเวณนี้เพื่อสร้างสวนสาธารณะพร้อมกับส่งเสริมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ดูแลโครงการจัดสร้างสวนสาธารณะได้เข้ามาใช้พื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬเรื่อยมาผ่านโครงการต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ การจัดทำโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525 การออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน พ.ศ. 2535 ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับกรุงเทพมหานครที่มีมาอย่างยาวนานถึง 26 ปี การต่อสู้เพื่อปกป้องชุมชนป้อมมหากาฬของชาวบ้านสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2561 ถือเป็นจุดสิ้นสุดการใช้พื้นที่เพื่ออยู่อาศัยของชาวบ้าน และเป็นจุดเริ่มต้นการใช้พื้นที่ของกรุงเทพมหานครเพื่อจัดสร้างสวนสาธารณะที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการ หลังจากย้ายออกจากชุมชน ชาวบ้านได้รับผลกระทบทั้งด้านพื้นที่ วิถีชีวิต และผู้คน อย่างไรก็ตาม ทุกคนต่างไม่สิ้นหวัง พร้อมเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและปรับตัวเพื่อดำเนินชีวิตต่อไปในแหล่งที่อยู่ใหม่
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1015
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621110114.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.