Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/939
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKITTITHORN LERTSURIYAKARNen
dc.contributorกิตติธร เลิศสุริยกาญจน์th
dc.contributor.advisorMali Palanuwechen
dc.contributor.advisorมะลิ พลานุเวชth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot University. Faculty of Dentistryen
dc.date.accessioned2021-01-09T05:47:09Z-
dc.date.available2021-01-09T05:47:09Z-
dc.date.issued20/12/2019
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/939-
dc.descriptionMASTER OF SCIENCE (M.Sc.)en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)th
dc.description.abstractThe aim of this study was to compare retention after mechanical fatigue tests consisting of 5,400 cycles between two dental implant attachment systems, the Locator and the Locator R-Tx. There were samples of each system investigated for their retentive forces. The retentive forces before fatigue testing and subsequently after 900, 1,800, 3,600, and 5,400 cycles that simulated three years of functional life were recorded. The Instron universal testing machine was a measurement with a crosshead speed of 5cm per minute and a 3mm vertical range (0.14 Hz frequency). The descriptive statistics were represented by mean and standard deviation. The retentive forces of both systems across each cycle of the entire fatigue test were compared by independent t-tests (α = 0.05). The results of both systems revealed decreased retentive forces in overall fatigue testing. The retentive force of the Locator R-Tx exhibited from baseline to 5,400 cycles with 19.24 ± 1.12 N to 10.70 ± 1.75 N accordingly, and the Locator exhibited from 19.95 ± 0.78 N to 11.65 ± 0.94 N. Although, the retentive forces of the Locator in each cycle were higher than the Locator R-Tx through the entire fatigue test and both systems were not significantly statistica­lly different (P < 0.05) in each cycle. In conclusion, the retention of the Locator R-Tx and Locator was not significantly different in terms of both initial retention and final retention within 5,400 cycle fatigue test represented a three-year functional life. The Locator R-Tx was an innovation to replace the Locator and improved geometry and design. This study supported the conclusion that Locator R-Tx could provide retention similar to the Locator, which is a standard and popular implant attachment in the international market.en
dc.description.abstractจุดประสงศ์ของการศึกษานี้ได้เปรียบเทียบแรงยึดติดหลังจากผ่านการทดสอบความล้าทางกล 5,400 รอบของรากฟันเทียมที่แตกต่างกันสองระบบ ได้แก่ ส่วนยึดติดบนรากฟันเทียมโลเคเตอร์อาร์ทีเอ็กซ์และโลเคเตอร์ โดยใช้ชิ้นงานทดลอง 10 คู่ ของแต่ละระบบส่วนยึดติดฟันเทียมบนรากฟันเทียม ชิ้นงานทั้งหมดถูกทดสอบแรงดึงสูงสุดเริ่มต้นและแรงดึงสูงสุดทุกการทดสอบความล้าทางกลดึงขึ้นและลงในแนวดิ่ง 900,1,800, 3,600 จนถึงรอบสุดท้ายที่ 5,400 รอบ โดยเปรียบเทียบกับการใช้งานฟันเทียมคร่อมรากฟันเทียมทางคลินิกเป็นเวลา 3 ปี ในการทดลองนี้ใช้เครื่องอินทรอนทดสอบแรงดึงสูงสุดและทดสอบความล้าด้วยความเร็วแรงดึง 5 เซนติเมตรต่อนาที และมีระยะห่างระหว่างชิ้นงาน 3 มิลลิเมตรในแนวดิ่ง (ความถี่ 0.14 เฮิรตซ์) โดยค่าแรงดึงสูงสุดที่ได้จะนำเสนอเป็นสถิติพรรณนาแสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสถิติอนุมานด้วยการทดสอบทีที่เป็นอิสระต่อกันที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ด้วยโปรแกรมทางสถิติเอสพีเอสเอส ผลการทดลองพบว่าทั้งส่วนยึดติดฟันเทียมบนรากฟันเทียมทั้งสองระบบมีค่าแรงดึงสูงสุดลดลงตลอดการทดสอบความล้า โดยส่วนยึดติดฟันเทียมบนรากฟันเทียมโลเคเตอร์อาร์ทีเอ็กซ์มีค่าแรงดึงสูงสุดเริ่มต้น 19.24 ± 1.12 N และหลังจากทดสอบความล้าที่รอบสุดท้าย 5,400 รอบค่าแรงดึงสูงสุด 10.70 ± 1.75 N และส่วนยึดติดฟันเทียมบนรากฟันเทียมโลเคเตอร์มีค่าแรงดึงสูงสุดเริ่มต้น 19.95 ± 0.78 N และหลังจากทดสอบความล้าที่รอบสุดท้าย 5,400 รอบค่าแรงดึงสูงสุด 11.65 ± 0.94 N แม้ว่าตลอดการทดสอบความล้าจะพบว่าส่วนยึดติดฟันเทียมบนรากฟันเทียมโลเคเตอร์มีค่าแรงดึงสูงสุดมีค่ามากว่าส่วนยึดติดฟันเทียมบนรากฟันเทียมโลเคเตอร์อาร์ทีเอ็กซ์ แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองระบบก็มีค่าแรงดึงสูงสุดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าแรงยึดติดของทั้งส่วนยึดติดฟันเทียมบนรากฟันเทียมโลเคเตอร์อาร์ทีเอ็กซ์และโลเคเตอร์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งก่อนและหลังทดสอบความล้าที่ 5,400 รอบ โดยเปรียบเทียบกับการใช้งานฟันเทียมคร่อมรากฟันเทียมทางคลินิกเป็นเวลา 3 ปี ส่วนยึดติดฟันเทียมบนรากฟันเทียมโลเคเตอร์อาร์ทีเอ็กซ์เป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะเข้ามาทดแทนส่วนยึดติดฟันเทียมบนรากฟันเทียมโลเคเตอร์โดยได้มีการพัฒนารูปทรงทางเรขาคณิตและวัสดุศาสตร์ โดยการศึกษานี้สนับสนุนส่วนยึดติดฟันเทียมบนรากฟันเทียมโลเคเตอร์อาร์ทีเอ็กซ์มีค่าแรงยึดติดเท่าเทียมกับส่วนยึดติดฟันเทียมบนรากฟันเทียมโลเคเตอร์แบบดั้งเดิมซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันth
dc.language.isoen
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectแรงยึดติดของฟันเทียมคร่อมรากฟันเทียมth
dc.subjectส่วนยึดติดบนรากฟันเทียมth
dc.subjectการทดสอบความล้าth
dc.subjectRetentionen
dc.subjectImplant attachment systemsen
dc.subjectFatigue testingen
dc.subject.classificationDentistryen
dc.titleCOMPARISON OF RETENTION BETWEEN TWO IMPLANT ATTACHMENT SYSTEMS AFTER FATIGUE TESTen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบค่าแรงยึดติดระหว่างส่วนยึดติดบนรากฟันเทียม 2 ระบบหลังจากทดสอบความล้าth
dc.typeThesisen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Dentistry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601110057.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.