Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/919
Title: DEVELOPMENT OF THE GAME SCIENCE ACTIVITY PACKAGESON BODY SYSTEMS FOR ENHANCING INNOVATIVE THINKINGAND LEARNING ACHIEVEMENT OF EIGHTH GRADE STUDENTS
การพัฒนาชุดกิจกรรมเกมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบในร่างกายมนุษย์เพื่อส่งเสริมความคิดเชิงนวัตกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: THEEWARA CHUENTHEERAPHONG
ธีร์วรา ชื่นธีรพงศ์
Sunee Haemaprasith
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์
Srinakharinwirot University. Faculty of Education
Keywords: ชุดกิจกรรมเกมวิทยาศาสตร์, ความคิดเชิงนวัตกรรม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคงทนในการเรียนรู้
The Game Science activity package Innovative thinking Learning achievement Academic retention
Issue Date:  18
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to construct The Game science activity packages on body systems to enhance innovative thinking and learning achievement among eighth-grade students; (2) and to study the effects of The Game science activity packages on body systems for innovative thinking, learning achievement and academic retention. The research design was a randomized control group pretest-posttest design and a one-group repeated measured design. The participants of this study include eighth-grade students in the second semester of the 2018 academic year at Yothinburana School. The participants consisted of two groups chosen by cluster random sampling Then, simple random sampling was applied to divide the classes into an experimental group and a control group. The experimental group used The Game science activity packages, while the control group used traditional methods. The instruments used in this research included The Game science activity packages on body systems, the lesson plan, evaluation forms on innovative thinking and a science achievement test. The hypotheses were tested using a t-test for the independent samples, a t-test for one sample, a t-test for dependent samples, and a One-Way ANOVA repeated measures. The results of this study were as follows: the experimental group, who learned through The Game science activity packages had increased innovative thinking and innovative thinking in individual innovation creation that was higher than the criteria (80%), with a statistically significant at a level of .01. They also had higher academic achievement scores than before studying and higher than the control group at a .01 level of statistical significance. Moreover, they also demonstrated improved academic retention.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างชุดกิจกรรมเกมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบในร่างกายมนุษย์ 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมเกมวิทยาศาสตร์ แบบแผนที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแบบสุ่มและมีการสอบก่อนและหลังการเรียน และแบบแผนการทดลองกลุ่มเดียวแบบวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนโยธินบูรณะ ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 2 ห้องเรียน จากนั้นจึงสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  มา 1 ห้อง เพื่อเป็นกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเกมวิทยาศาสตร์ ส่วนอีกห้องเป็นกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมเกมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบในร่างกายมนุษย์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินนวัตกรรม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test for Independent Samples, t-test for One Sample, t-test for Dependent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีการวัดซ้ำ (one way ANOVA repeated measures) ผลการวิจัยพบว่านักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเกมวิทยาศาสตร์มีพัฒนาการความคิดเชิงนวัตกรรมระหว่างเรียน และความคิดเชิงนวัตกรรมในการสร้างนวัตกรรมรายบุคคลหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเกมวิทยาศาสตร์มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความคงทนในการเรียนรู้
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/919
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130130.pdf12.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.