Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/906
Title: DEVELOPMENT OF A CONCEPTUAL PRODUCT FOR HOME DECORATION INSPIRED BY THAI DRUM IDENTITY
การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านจากอัตลักษณ์กลองไทย
Authors: SORAYUT PIRIYAPOL
สรยุทธ พิริยพล
Yossakrai Saithong
ยศไกร ไทรทอง
Srinakharinwirot University. College of Creative Industry
Keywords: กลองไทย อัตลักษณ์ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน
Thai Drum Identity Development of Prototype for Home Decoration Products
Issue Date:  20
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objective of this research is 1) to study the Thai drum identity 2) to study the popular trend of home decoration style and 3) to design a set of decoration products from the Thai drum identity. This research is a combination of quantitative research and qualitative research. The research conducted by the Literature Review and Observation. The research area is the Drum village in Ang Thong Province. The determined group is the Drums of the central area of Thailand. The research methodology is 1) Focus Group discussion and 2) Evaluation by the expert taking the questionnaire. The researcher has applied the information about Thai drum identity from the study of objective 1) by discussing with the four experts in the group discussion to summarize Thai drum identity then draft the prototype combining of the Thai drum identity and the contemporary style from the study of objective 2 that has led to the prototype of furniture for home decoration from Thai drum identity. According to objective 3, the three experts have selected and evaluated the potential models with a rating scale based on Likert's method. The result has shown that Thai drums are considered as a product that has both Tangible Identity and Intangible Identity. The Focus Group which consists of experts in the relevant fields including Thai identity, Product Design, and Communication design agreed on that 1) Art composition, including Patterned, Shape, Lines. 2) 9 kinds of wood, including Rosewood, Pradu, Gampu, Chamchuri, Mango, Jackfruit, Sadao, Kratin Narong, Teak. 3) 8 types of leather, including Cow leather, Buffalo Leather, Goat Leather, Sheep Leather, Horse leather, Bear leather, Tiger leather, Snake leather. 4) 3 styles of Stretching.  5) Polishing 6) Metal Pin and 7) Beliefs, are considered as Thai Drum Identity. This research has discovered interesting information that Thai drum identity is a wisdom (Drum making process) and way of life (The use of Drums in various contexts). The study has also revealed the cleverness in using local resources (Wood and Leather) to create a product.  According to the traditions, Thai drums are significantly associated with art, culture and national history. The knowledge that can be developed both academically and commercially. It also presents new creative ideas in the Wood and Leather industry and other industries in accordance regarding the "Creative Economy" by the Thai government to support Thailand industrial sector.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์กลองไทย 2) เพื่อศึกษาศึกษาสไตล์การตกแต่งบ้านที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน และ 3) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านจากอัตลักษณ์กลองไทย โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) และการลงพื้นที่ (Observation) ซึ่งพื้นที่วิจัยคือหมู่บ้านกลอง จังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างคือกลองไทยภาคกลาง ได้แก่ กลองทัด กลองชาตรี กลองสองหน้า ตะโพน โทนรำมะนา กลองยาว กลองแขก และกลองมลายู โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 อย่าง คือ 1) การสนทนาลักษณะกลุ่ม (Focus Group) และ 2) การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ (Questionnaire) นำไปสู่ต้นแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านจากอัตลักษณ์กลองไทย  จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย โต๊ะข้าง โคมไฟ และแท่นวางโทรศัพท์  ผลการวิจัยพบว่ากลองไทยนอกจากเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในการละเล่นแล้ว ยังพิจารณาได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ทั้งที่เป็นรูปธรรม (Tangible) และนามธรรม (Intangible) จากการสนทนาลักษณะกลุ่ม (Focus Group) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านอัตลักษณ์ไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสื่อสาร ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องกันว่า 1) องค์ประกอบศิลป์ ได้แก่ เส้นสาย ทรง ลวดลาย 2) ไม้ 9 ชนิด ได้แก่ ชิงชัน ประดู่ ก้ามปู จามจุรี มะม่วง ขนุน สะเดา กระถิ นณรงค์ สัก 3) หนัง 8 ชนิด ได้แก่ หนังวัว หนังควาย หนังแพะ หนังแกะ หนังม้า หนังหมี หนังเสือ หนังงู 4) การขึง 3 รูปแบบ 5) การขัด 1 รูปแบบ 6) หมุดโลหะ และ 7) ความเชื่อ เหล่านี้คือสิ่งที่พิจารณาว่าเป็นอัตลักษณ์กลองไทย องค์ความรู้จากการวิจัยในครั้งนี้ ได้มาซึ่งข้อค้นพบที่น่าสนใจว่าอัตลักษณ์กลองไทยคือภูมิปัญญา (ขั้นตอนในการทำกลอง) และวิถีชีวิต (การใช้งานกลองในบริบทต่างๆ) ความหลักแหลมในการใช้สอยทรัพยากรในท้องถิ่น (ไม้และหนัง) เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ในการละเล่นตามขนบธรรมเนียมประเพณี กลองไทยมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับศิลปะวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ชาติอย่างมีนัยสำคัญ ผู้วิจัยเชื่ออย่างยิ่งว่างานวิจัยนี้จะสามารถเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ที่สามารถต่อยอดทั้งในเชิงวิชาการและในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆในอุตสาหกรรมไม้และหนังสัตว์ ตลอดจนอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้สอดคล้องกับนโยบาย “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนต่ออุตสาหกรรรมไทย
Description: MASTER OF FINE ARTS (M.F.A.)
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/906
Appears in Collections:College of Creative Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601130206.pdf7.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.