Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/824
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorTHANAKORN THONGPRAYOONen
dc.contributorธนากร ทองประยูรth
dc.contributor.advisorLadda Wangphasiten
dc.contributor.advisorลัดดา หวังภาษิตth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot University. Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2020-12-08T07:05:16Z-
dc.date.available2020-12-08T07:05:16Z-
dc.date.issued18/12/2020
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/824-
dc.descriptionDOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractThe importance of understanding other cultures and intercultural communication is highlighted in the globalized world of today, due to the proliferation of internationalization, increasing multinational cooperation, and the mobility of the world population. Therefore, learning a foreign language for intercultural communication is a required competency, and it is known as intercultural communicative language learning competencies (ICLLC) in this study. Since there are only a few international undergraduate programs in Thailand targeting intercultural communicative competence (ICC) as an expected learning outcome, the recognition of the attributes and indicators of ICC benefits course developers and teachers in terms of how students develop ICC. This study aimed to identify ICC attributes and indicators, to investigate the ICLLC of students, to reveal the perceptions of students toward ICLLC activities, and to propose the development approach to ICLLC for students in an international undergraduate program. Firstly, the ICC attributes and indicators were approved by ELT experts through focus group interviews and 24 Thai students in an international undergraduate program were purposively selected as participants using English language proficiency, intercultural knowledge, and intercultural experiences to reveal their ICLLC and perceptions toward provided ICLLC activities. The data collection procedures were classroom observation, semi-structured interview, stimulated recall interview, and journal writing. Finally, the development approach to ICLLC was proposed using the analytic induction of the collected data and approved by experts. The results found that ICC comprised four attributes and 21 specific indicators: (1) intercultural knowledge, with six indicators; (2) intercultural attitudes, with three indicators; (3) intercultural skills, with 10 indicators; and (4) critical cultural awareness, with two indicators. Students with higher levels of English language proficiency and intercultural knowledge seemed to have better ICLLC. Besides, willingness and motivation emerged as implementation forces. Most students had positive perceptions towards ICLLC activities. This study revealed deeper insights into the development approach to ICLLC for students in an international undergraduate program in Thailand.    en
dc.description.abstractความสำคัญของการเข้าใจถึงวัฒนธรรมอื่นที่แตกต่างและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมได้ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวอย่างทั่วถึงในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากการเติบโตของความเป็นนานาชาติจากการขยายความร่วมมือในระดับนานาชาติ รวมถึงการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากรโลก อันส่งผลให้การเรียนภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเป็นสมรรถนะที่มีความจำเป็นขึ้นมาทันที โดยการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้คำว่าสมรรถนะการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เนื่องจากในปัจจุบันมีหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมจำนวนจำกัด การทราบถึงองค์ประกอบหลักและตัวชี้วัดสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของผู้เรียนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนและผู้สร้างหลักสูตรว่าผู้เรียนมีวิธีการเรียนเพื่อการพัฒนาสมรรถนะดังกล่าวได้อย่างไร การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาองค์ประกอบหลักและตัวชี้วัดด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ศึกษาวิธีการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของผู้เรียนรวมถึงศึกษาการรับรู้ของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม อีกทั้งยังเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ การศึกษาวิจัยเริ่มจากการศึกษาองค์ประกอบหลักและตัวชี้วัดด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมจากการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะจง เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ลงทะเบียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือก 3 ประการ คือ ระดับสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษระดับความรู้ระหว่างวัฒนธรรม และประสบการณ์ระหว่างวัฒนธรรม เพื่อศึกษาสมรรถนะการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและการรับรู้ของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมที่ส่งเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ซึ่งมีกระบวนการเก็บข้อมูลการวิจัยโดยใช้วิธีการสังเกตการสอนในห้องเรียน การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์ผ่านการระลึกข้อมูลย้อนหลัง และการบันทึกการเขียน นอกจากนี้ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการวิเคราะห์แบบอุปนัยเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ผลการศึกษา พบว่าสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก และ 21 ตัวชี้วัด กล่าวคือ องค์ประกอบที่ 1 ความรู้ระหว่างวัฒนธรรม ประกอบด้วยตัวชี้วัดจำนวน 6 ตัว องค์ประกอบที่ 2 เจตคติระหว่างวัฒนธรรม ประกอบด้วยตัวชี้วัดจำนวน 3 ตัว องค์ประกอบที่ 3 ทักษะระหว่างวัฒนธรรม ประกอบด้วยตัวชี้วัดจำนวน 10 ตัว และองค์ประกอบที่ 4 ความตระหนักรู้ด้านวัฒนธรรมอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วยตัวชี้วัดจำนวน 2 ตัว นิสิตที่มีระดับสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษและระดับความรู้ระหว่างวัฒนธรรมสูงกว่ามีสมรรถนะการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมดีกว่า นอกจากนี้ ความสมัครใจในการสื่อสารและแรงจูงใจมีส่วนช่วยผลักดันให้นิสิตมีปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ทั้งนี้ นิสิตส่วนใหญ่มีการรับรู้ที่ดีต่อกิจกรรมที่ส่งเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติในประเทศไทยไว้อย่างชัดเจนth
dc.language.isoen
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectสมรรถนะการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมth
dc.subjectสมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมth
dc.subjectนิสิตระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติth
dc.subjectIntercultural Communicative Language Learning Competenciesen
dc.subjectIntercultural Communicative Competenceen
dc.subjectStudents in an International Undergraduate Programen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleDEVELOPMENT APPROACH TO INTERCULTURAL COMMUNICATIVE LANGUAGE LEARNING COMPETENCIES FOR STUDENTS ​IN AN INTERNATIONAL UNDERGRADUATE PROGRAM AT SRINAKHARINWIROT UNIVERSITYen
dc.titleแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ของนิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒth
dc.typeDissertationen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571150007.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.