Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/720
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | KHETTHAI SINTHUSUWON | en |
dc.contributor | เขตไทย สินธุสุวรรณ์ | th |
dc.contributor.advisor | Ungsinun Intarakamhang | en |
dc.contributor.advisor | อังศินันท์ อินทรกำแหง | th |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University. BEHAVIORAL SCIENCE RESEARCH INSTITUTE | en |
dc.date.accessioned | 2020-11-01T04:50:04Z | - |
dc.date.available | 2020-11-01T04:50:04Z | - |
dc.date.issued | 30/8/2020 | |
dc.identifier.uri | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/720 | - |
dc.description | DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | The purposes of this mixed methods action research are as follows: (1) to understand the situation of useful leisure behavior among non-formal students; (2) to study the results of changing leisure behavior; and (3) to develop ways to promote useful leisure behavior. The qualitative data was collected by in-depth interviews and focus group with 14 non-formal students and eight teachers. The quantitative data was collected by a six-point scale for 36 items with Cronbach's Coefficient Alpha = 0.95. Action research, performing two cycles of the four steps were as follows: (1) plan; (2) action; (3) observation; and (4) reflection. The participants in this research were 14 non-formal students who were volunteers from high school students. The data were analyzed by content analysis and descriptive statistics. The results were as follows: (1) non-formal students provided the meaning of useful leisure behavior in four dimensions; the housework, the second job, relaxation, and education by making useful leisure behavior at the middle level; (2) the obstacles making useful leisure behavior included personal factors, the social environment of family and school and educational system management; (3) the patterns in leisure behavior consisted of reflection on useful leisure behavior, to enhance learning power, learning by doing, and reflection of the action; and (4) there was change in quantity, density, and the quality of useful leisure behavior. Moreover, from the comparison of useful leisure behavior, self-efficacy, motivation, and social support found that after participation, non-formal students had a significantly higher mean than before participation (p<.05). | en |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงปฏิบัติการผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทำความเข้าใจสถานการณ์การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของนักศึกษานอกระบบ 2) ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของนักศึกษานอกระบบ และ 3) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของนักศึกษานอกระบบ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มกับนักศึกษานอกระบบ 14 คน และครู 8 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 6 ระดับ จำนวน 36 ข้อ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.95 โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการผสานวิธีมีการดำเนินการ 2 รอบ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติการ 3) ขั้นสังเกต และ 4) ขั้นสะท้อนผล ผู้เข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษานอกระบบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 14 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษานอกระบบให้ความหมายของการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 4 ประเด็น ได้แก่ การช่วยเหลืองานของครอบครัว การหารายได้เสริม การพักผ่อนหย่อนใจ และการศึกษาหาความรู้ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง 2) สถานการณ์ที่เป็นปัญหาการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มี 3 ประการ ได้แก่ ด้านบุคคล ประกอบด้วย จากนักศึกษานอกระบบและจากครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมจากครอบครัวและสภาพแวดล้อมจากโรงเรียน และด้านการจัดระบบการศึกษา 3) รูปแบบการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของนักศึกษานอกระบบ จากการศึกษาพบรูปแบบพฤติกรรมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ประกอบด้วย สะท้อนความเข้าใจการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เสริมสร้างการรับรู้การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เสริมพลังการเรียนรู้การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และสะท้อนผลการปฏิบัติ และ 4) ผลการเปลี่ยนแปลงจากการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ พบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณ ด้านความเข้มข้น และด้านคุณภาพการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ จากการวัดพฤติกรรมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจในการใช้เวลาว่าง และการสนับสนุนทางสังคม เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Srinakharinwirot University | |
dc.rights | Srinakharinwirot University | |
dc.subject | การผสานวิธี | th |
dc.subject | การวิจัยเชิงปฏิบัติการ | th |
dc.subject | พฤติกรรมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ | th |
dc.subject | นักศึกษานอกระบบ | th |
dc.subject | Mixed methods | en |
dc.subject | Action research | en |
dc.subject | Leisure behavior | en |
dc.subject | Non-formal students | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Psychology | en |
dc.title | THE MIXED METHODS ACTION RESEARCH TO DEVELOP A MODEL OF PROMOTING USEFUL LEISURE BEHAVIOR OF THE NON-FORMAL STUDENTS IN NAKHON PATHOM PROVINCE | en |
dc.title | การวิจัยเชิงปฏิบัติการผสานวิธีเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของนักศึกษานอกระบบในจังหวัดนครปฐม | th |
dc.type | Dissertation | en |
dc.type | ปริญญานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Institute of Research in Behavioral Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs571120046.pdf | 4.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.