Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/64
Title: | APPLICATION OF GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEM TO PREDICT LANDUSE CHANGE FOR MAXIMUM FLOW RATE CALCULATON การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อคาดการณ์การใช้ที่ดินในการคำนวณอัตราการไหลของน้ำท่าสูงสุด |
Authors: | YUTTHANA CHAONA ยุทธนา ชาวนา Teerawate Limgomonvilas ธีรเวทย์ ลิมโกมลวิลาศ Srinakharinwirot University. Faculty of Social Sciences |
Keywords: | ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน แบบจำลอง CA-Markov วิธี Rational Method พื้นที่รับน้ำ อัตราการไหลของน้ำท่าสูงสุด Geographic Information Systems Land use changes CA-Markov model Rational method Catchment area Maximum flow rate |
Issue Date: | 21 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | This research studies land use and changing trends in land use by using Geographic Information Systems with Remote Sensing technology to classify satellite imagery data. The use of the land from 2006 to 2016 were classified by supervised classification, the maximum likelihood classifier decision rule and the accuracy validation model using the Error matrix and applied with the CA-Markov model to predict trends in land use in 2026. The result was the verification of the maximum flow rate by Rational method in the Sattahip catchment area (9.843 km2) in Sattahip, Chonburi Province. The determination of the runoff coefficient required land use, soil type and slope data. Rainfall intensity requires rainfall intensity data, the lengths of rivers and the different elevations in the area. The size of catchment area was analyzed by the Digital Elevation Model (DEM). The land use changes between 2006 and 2016 found that urban, miscellaneous, and forest areas slightly increased : 0.387 (6.60%), 0.211 (70.80%), and 0.180 (7.64%) km2, respectively. While agricultural areas were highly decreased 0.778 km2 (58.27%). In 2026, the prediction of land use, including urban land, forests, miscellaneous and agriculture areas were 6.479 (65.82%), 2.539 (25.80%), 0.435 (4.42%), 0.390 (3.96%) km2, respectively. These factor were use to calculation maximum flow rate. In 2006, 2011, 2016, 2016 from model and 2026. The runoff coefficients (C) were 0.456, 0.459, 0.472, 0.462 and 0.481. The rainfall intensity (I) in the 25th recurrence cycle was 155 mm/h. The maximum flow rate, were 193.41, 194.68, 200.19, 195.95 and 204.01 m3/s, respectively. This research found that the geographic information systems can be use to support the determination of water quantity which may occurs in the future งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับการรับรู้ระยะไกล เพื่อแปลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมโดยการจำแนกประเภทข้อมูลแบบควบคุมและใช้กฎการตัดสินใจเพื่อจำแนกข้อมูลภาพแบบ Maximum likelihood ร่วมกับแบบจำลอง CA-Markov จำแนกการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน พ.ศ.2549 พ.ศ.2554 พ.ศ.2559 ประเมินความถูกต้องโดยใช้ตารางคำนวณค่าความผิดพลาด และคาดการณ์การใช้ที่ดินใน พ.ศ. 2569 นำมาคำนวณอัตราการไหลของน้ำท่าสูงสุด โดยวิธี Rational Method ในพื้นที่รับน้ำ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ใช้ปัจจัยต่างๆ หาค่าตัวแปรในการคำนวณ ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์การไหลของน้ำผิวดิน (C) ค่าความเข้มปริมาณน้ำฝน (I) และขนาดพื้นที่รับน้ำ (A) ผลการศึกษาพบว่า การใช้ที่ดิน พ.ศ.2549 พื้นที่ชุมชน พื้นที่ป่า พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่อื่นๆ มีพื้นที่ร้อยละ 59.49, 23.92, 13.56, 3.03 ตามลำดับ การใช้ที่ดิน พ.ศ.2554 มีพื้นที่ร้อยละ 60.33, 23.08, 10.82, 5.77 ตามลำดับ การใช้ที่ดิน พ.ศ. 2559 มีพื้นที่ร้อยละ 63.43, 25.74, 5.66, 5.17 ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินระหว่าง พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2559 พื้นที่ชุมชน พื้นที่อื่นๆและพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 0.387 (6.60%), 0.211 (70.80%), 0.18 (7.64%) ตร.กม. ส่วนพื้นที่เกษตรกรรม ลดลง 0.778 ตร.กม. (58.27%) การคาดการณ์แนวโน้มการใช้ที่ดิน พ.ศ.2569 พื้นที่ชุมชน พื้นที่ป่า พื้นที่อื่นๆและพื้นที่เกษตรกรรม มีพื้นที่ 6.497 (65.82%), 2.539 (25.80%), 0.435 (4.42%), 0.390 (3.96%) ตร.กม. ตามลำดับ ปัจจัยการวิเคราะห์อัตราการไหลของน้ำท่าสูงสุด พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การไหลของน้ำผิวดิน (C) พ.ศ.2549, พ.ศ.2554, พ.ศ.2559, พ.ศ.2559 จากแบบจำลองและพ.ศ.2569 มีค่า 0.456, 0.459, 0.472, 0.462, 0.481 ตามลำดับ ค่าความเข้มของน้ำฝน (I) ในรอบการเกิดซ้ำ 25 ปี ,เท่ากับ 155 มม./ชม. ,อัตราการไหลของน้ำท่าสูงสุด, พ.ศ.2549 พ.ศ.2554 พ.ศ.2559 พ.ศ.2559 จากแบบจำลองและพ.ศ.2569 เท่ากับ 193.41, 194.68, 200.19, 195.95, 204.01 ลบ.ม./วินาที จากข้อมูลพบว่าสามารถนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาช่วยศึกษาด้านการคำนวณอัตราการไหลของน้ำท่าสูงสุดให้มีความถูกต้องมากขึ้นและสามารถนำผลการวิเคราะห์ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณาออกแบบระบบระบายน้ำที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะรองรับปริมาณน้ำที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต |
Description: | MASTER OF SCIENCE (M.S.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/64 |
Appears in Collections: | Faculty of Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs571130476.pdf | 4.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.