Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/645
Title: THE EFFECTIVENESS OF THAILAND PUBLIC POLICY ON ROAD SAFETY 
ประสิทธิผลของนโยบายภาครัฐด้านความปลอดภัยบนท้องถนน
Authors: CHATURAPHAT CHANTITH
จตุรภัทร จันทร์ทิตย์
Chompoonuh Kosalakorn Permpoonwiwat
ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์
Srinakharinwirot University. School of Economics and Public Policy
Keywords: ประสิทธิผล
นโยบายสาธารณะในประเทศไทย
ถนนปลอดภัย
Effectiveness
Public Policy in Thailand
Road Safety
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: As one of the top countries with the highest fatalities per capita in road traffic accidents, Thailand needs to raise public awareness about the social and economic losses creates by road accidents to improve the effectiveness of road safety policy. The aims of this study were as follows: (1) to estimate the productivity loss caused by the severe road traffic accidents in Thailand in 2017, and (2) to analyze the effectiveness of road safety policy in Thailand. Extensive data base from Road Accident Victims Prevention Co. Ltd. was used to calculate productivity losses due to traffic fatalities, permanent disabilities, and major and minor injuries. Furthermore, the cost-effectiveness analysis (CEA) method was used to evaluate the effectiveness of road safety policy such as: drunk-driving law, helmet use law, and seat belt use law. The data contained the costs and the amount of road traffic deaths between 2012 and 2017. The results showed that, the total amount of productivity losses were caused by road traffic accidents in Thailand in 2017 and cost approximately 121 billion Baht (45 billion for fatalities, 7 for disabilities, 67.5 for serious injuries and 1.5 for slight injuries). The number represented approximately 0.8 percent of the country’s GDP. Moreover, people at in the sixteen to twenty-five age group represented the highest-burden group in all types of accidents. The value of productivity loss can be used as a campaign to install the awareness to the public, especially for teenagers and young adults, as well as sufficient knowledge of the effectiveness of policy and can improve road safety policy. The evaluating results of the road safety policy were as follows: (1) the drunk-driving law was effective in reducing fatalities caused by all types of motor vehicles accidents including motorcycles and bicycles; (2) the seat-belt use law was also effective in reducing the number of motor vehicle traffic fatalities; and (3) the helmet use law was considered ineffective, which was insignificant in terms of effort. The policy recommendation was a reduction in the number of deaths leading to the realization that the behavior of riders needed to be focused on safety education for motorcycle and law enforcement.
ในฐานะประเทศอันดับต้น ๆ ของโลกที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากรสูงที่สุด ในการแก้ปัญหาการจราจรบนท้องถนนของประเทศไทยจึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนถึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากอุบัติเหตุจราจร และการปรับปรุงประสิทธิภาพของนโยบายความปลอดภัยทางถนน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินการสูญเสียศักยภาพการผลิตที่เกิดจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยในปี 2560 และ 2) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของนโยบายความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นในปี 2560 และการวิเคราะห์ช่วยให้สามารถคำนวณศักยภาพการผลิตในแง่ของการสูญเสียรายได้ในอนาคตจากการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร รวมถึงการการบาดเจ็บสาหัสและการบาดเจ็บเล็กน้อย ในขณะที่การวิเคราะห์ประสิทธิผลของนโยบายความปลอดภัยทางถนนใช้วิธี ต้นทุน-ประสิทธิผล (CEA) ในการประเมินประสิทธิผลของนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางถนน ได้แก่ กฎหมายเมาแล้วขับ กฎหมายการสวมหมวกนิรภัย และกฎหมายการคาดเข็มขัดนิรภัย โดยอาศัยข้อมูลงบประมาณทางด้านอุบัติเหตุและจำนวนผู้เสียชีวิตจากการจราจรทางถนนระหว่างปี 2555-2560 ในการวิเคราะห์ สำหรับผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นปี 2560 มูลค่าความสูญเสียศักยภาพการผลิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเพียงอย่างเดียวมีมูลค่าประมาณ 121 ล้านบาท (45 พันล้านบาทในกรณีเสียชีวิต 7 พันล้านบาทกรณีทุพลภาพ 67.5 พันล้านบาทในกรณีบาดเจ็บสาหัส และ 1.5 พันล้านบาทกรณีที่บาดเจ็บเล็กน้อย) หรือประมาณร้อยละ 0.8 ของ GDP ของประเทศ กลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือกลุ่มอายุ 16-25 ปี ซึ่งมีมูลค่าความสูญเสียมากที่สุดในทุกระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ ในขณะที่ผลการประเมินประสิทธิผลของนโยบายความปลอดภัยทางถนนเป็นดังนี้ 1) กฎหมายเมาแล้วขับ พบว่า มีประสิทธิผลในการลดอัตราการเสียชีวิตที่เกิดจากยานยนต์ทุกประเภท 2) กฎหมายการคาดเข็มขัดนิรภัยมีประสิทธิผลในการลดจำนวนการเสียชีวิตเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าสนใจคือ 3) กฎหมายการสวมหมวกกันน็อคพบว่าไม่มีประสิทธิภาพ สำหรับข้อเสนอแนะนโยบายในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน คือการสร้างความตระหนักรู้ถึงความเสียหายจากพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่โดยเฉพาะสำหรับวัยรุ่น และจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนเป็นอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ ตลอดจนมีความจริงจังในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Description: DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/645
Appears in Collections:School of Economics and Public Policy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571120024.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.