Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/508
Title: FAN CULTURE PHENOMENON IN THAI CARTOON CHARACTER
ปรากฏการณ์วัฒนธรรมแฟนตัวละครการ์ตูนไทย
Authors: NATHAPORN KARNJANAPOOMI
ณัฐพร กาญจนภูมิ
Chakapong Phatlakfa
จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า
Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts
Keywords: แฟน
ตัวละครการ์ตูน
คาแรคเตอร์
ออกแบบ
แอนิเมชัน
Fan
Cartoon Character
Character
Design
Animation
Issue Date:  20
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this study are as follows: (1) to examine the connections that exist between cartoon fans; (2) assess the factors of what makes people fans of Thai cartoon characters; and (3) to study the impact of Thai cartoon character fans on society, culture and the economy. In this research, three cartoons of Thai origin and design were examined including Bloody Bunny, Pang Pond, and Khan Kluay. Qualitative research approaches were employed, including in-depth interviews, hands-on and non-participatory observation by the researcher, casual conversations and document exploration from Thai animation producers and fans. The questionnaire was used to collect the quantitative data to be used for data analysis together with in-depth interviews. The findings of this study revealed that the majority of fans of Thai cartoon characters had individual interests. Further, most fans tended to experience parasocial interaction (PSI) with these cartoon characters. Furthermore, technology changes have made fans more expressive. The relationships between these cartoon character fans were characterized into three groups as at the beginner level, an intermediate level and a high level. The beginner group had certain personal features. They knew the cartoon characters, read media content and could explain the character definition. For intermediate level fans, these fans interacted with each other based on shared interests, meaning they may influence each other toward purchasing of character-related products. The high-level fans tend to be the most enthusiastic and active in terms of expression and shareing. The three factors of Thai cartoon characters that generate interest included: (1) A unique and distinctive design along with a good first impression was possible with outstanding design; (2) the background and history of the characters may enable the initiation of internal connections between fans and their favorite cartoon characters; (3) communication and societal interactions comprised the aspects that enabled the sharing, exchange, and dissemination of new data and trends concerning Thai cartoon characters. The impact of Thai cartoon character fans on society, culture and economy could affect in the individual, society and online society such as transferring Thainess from generation to generation and promoting artistic creation in society. In the economic aspect, the cartoon character business has an interesting income generation model, which includes licensing the rights to use characters. The business has a good opportunity to generate income for both character producers and related parties and also could be another source of income in the country.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แฟนของตัวละครการ์ตูนไทย วิเคราะห์ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแฟนของตัวละครการ์ตูนไทย และศึกษาผลกระทบของแฟนตัวละครการ์ตูนไทยที่มีต่อสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาจากตัวละครการ์ตูนไทย 3 ตัว คือ บลัดดี้ บันนี่, ปังปอนด์และก้านกล้วย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีการศึกษาข้อมูลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลลงภาคสนาม มีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ผลิตตัวละครการ์ตูนและแฟนตัวละครการ์ตูน ไทย และตอบแบบสอบถามเป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อนำมาใช้การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบกับข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า แฟนของตัวละครการ์ตูนไทยส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคล มีความสัมพันธ์ในลักษณะปฏิสัมพันธ์แบบกึ่งมีส่วนร่วมทางสังคม การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนั้นทำให้แฟนสามารถแสดงออกมากขึ้น โดยระดับความสัมพันธ์ของแฟนสามารถแบ่งระดับความ สัมพันธ์ของแฟนได้เป็น 3 ระดับ คือ (1) แฟนระดับเริ่มต้น มีพฤติกรรมรู้จัก เสพเนื้อหาและนิยามตัวละครได้ (2) แฟนระดับกลาง มีพฤติกรรมสนับสนุน ติดตามข่าวสาร มีส่วนร่วมผ่านช่องทางต่างๆ (3) แฟนระดับสูง มีความกระตือรือร้นในการแสดงออกและเผยแพร่ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแฟนของตัวละครการ์ตูนไทยนั้น คือ (1) ปัจจัยด้านรูปลักษณ์ภายนอก เพราะการออกแบบให้ความสวยงามและมีความน่าสนใจของตัวละครการ์ตูน จะก่อให้เกิดความประทับใจเมื่อแรกเห็น (2) ปัจจัยด้านเนื้อหาและเรื่องราวของตัวละครการ์ตูน เป็นสิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์และผูกพันระหว่างแฟนกับตัวละครการ์ตูน และ (3) ปัจจัยด้านการสื่อสารและการสร้างชุมชน เป็นการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์ รับรู้ข้อมูลและข่าวกิจกรรมต่างๆ รวมถึงสามารถแลกเปลี่ยนแชร์ข้อมูลในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ ผลกระทบของแฟนตัวละครการ์ตูนไทยที่มีต่อสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจนั้น ผู้วิจัยพบผลกระทบต่อทั้งปัจเจกบุคคลและสังคมรอบข้าง ทั้งในระดับคนใกล้ชิดจนถึงสังคมในวงกว้างและบนสังคมออนไลน์ เช่น การถ่ายทอดความเป็นไทยจากรุ่นสู่รุ่น การส่งเสริมการสร้างสรรค์ทางศิลปะให้กับสังคม และการเผยแพร่ความเป็นไทยสู่สากล ในแง่มุมเศรษฐกิจนั้นพบว่าตัวละครการ์ตูนมีรูปแบบการสร้างรายได้ที่น่าสนใจ คือเป็นรูปแบบการให้เช่าสิทธิในการใช้งานตัวละคร ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับทั้งผู้ผลิตตัวละครและผู้เกี่ยวข้อง รวมไปถึงสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้
Description: DOCTOR OF ARTS (D.A.)
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/508
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs562150017.pdf6.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.