Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/507
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | KITISAK YAOWANANON | en |
dc.contributor | กิติศักดิ์ เยาวนานนท์ | th |
dc.contributor.advisor | Prit Supasertsiri | en |
dc.contributor.advisor | พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ | th |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University. Faculty of Fine Arts | en |
dc.date.accessioned | 2020-03-11T03:50:13Z | - |
dc.date.available | 2020-03-11T03:50:13Z | - |
dc.date.issued | 20/12/2019 | |
dc.identifier.uri | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/507 | - |
dc.description | DOCTOR OF ARTS (D.A.) | en |
dc.description | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.) | th |
dc.description.abstract | This study aimed to firstly the study the cultural identities of Thai - Phuan cultural groups in four provinces in the central region of Thailand: Pak Phli District, Nakhon Nayok Province; Ban Mi District, Lopburi Province; Bang Pla Ma District, Suphanburi Province, Si Satchanalai District, Sukhothai Province, by studying eight types of shared cultural wisdom: (1) food; (2) dresses; (3) housing; (4) tradition; (5) language, folklore and oral history; (6) careers; (7) beliefs and rituals and (8) local arts this was in order to use the information gained from the study to secondly analyze the elements of the visual arts of cultural identities of Thai - Phuan cultural groups in the central region of Thailand by employing elements of the visual arts framework, together with learning theory and to study lines, shapes, forms, colors and patterns. The results revealed that the characteristics of shared cultural wisdom were as follows (1) the preservation of fish and rice - processed food eaten in traditional ceremonies; (2) women dressed in Mut Mee wrap skirts and sleeveless tops with a shawl; and men wearing mauhom or a natural dyed shirt with a waistcloth; 3) a twin house style, featuring bedroom and living areas and connected by a kitchen area; (4) The Kam Pha ceremony between February and March, the Phuan festival ceremony, and the Songkran ceremony; 5) Tai - noi letters and the Phuan language; 6) rice farming, cloth and basketry weaving; (7) beliefs and ceremonies regarding Pe fah (a type of ghost) and ancestor ghosts, the cycle of life, Khaw, or a spirit of well – being. (8)local charms-Ram Phuang, Nang Kwang, Nang Dong.The elements of the arts, or art identities, were characterized in three aspects: the main elements that can represent objects, activities, and stories about cultural wisdom; (2) the supporting elements that enhance or give additional explanations, or provide clarification; (3) the arrangement of both major and supporting elements to represent objects, activities, and stories about cultural wisdom. The study also found that the top features in art identity representation were pictures of men and women wearing Thai Phuan traditional dresses, the basketry used in traditional ceremonies, rituals and beliefs in angels or elves Lord. | en |
dc.description.abstract | ปริญญานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ข้อที่ 1.เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของกลุ่มวัฒนธรรมไทยพวนในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ อ.ปากพลี จ.นครนายก อ.บ้านหมี่จ.ลพบุรี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี และ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย โดยศึกษาผ่านลักษณะร่วมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น 8 ประเภท ได้แก่ 1.อาหาร 2.การแต่งกาย 3.ที่อยู่อาศัย 4.ประเพณี 5.ภาษา วรรณกรรมพื้นบ้านและประวัติศาสตร์คำบอกเล่า 6.อาชีพ 7.ความเชื่อพิธีกรรม 8.ศิลปะพื้นถิ่น เพื่อนำข้อมูลลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมของกลุ่มวัฒนธรรมไทยพวนมาศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2.เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางศิลปะ จากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มวัฒนธรรมไทยพวนในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย โดยศึกษาผ่านกรอบแนวคิดองค์ประกอบทางศิลปะ ได้แก่ 1.เส้น 2.รูปร่าง 3.รูปทรง 4.สี 5.ลวดลาย ร่วมกับทฤษฏีการรับรู้ สามารถสรุปผลลักษณะร่วมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้ดังนี้ 1.การถนอมอาหารประเภทปลา และอาหารที่ใช้ในงานบุญประเพณีแปรรูปมาจากข้าว 2.ผู้หญิงนุ่งซิ่นมัดหมี่ลายแทรก สวมเสื้อหมากกะแล่ง คาดอกด้วยผ้าเบี่ยง ผู้ชายสวมชุดม่อฮ่อมคาดผ้าขาวม้า 3.ที่อยู่อาศัยมีรูปแบบแผนผังเป็นเรือนแฝด ประกอบด้วยเรือนนอนและเรือนโถง มีเรือนครัววางขวางเรือนโถง 4. ประเพณีกำฟ้า ทำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ประเพณีสารทพวน และประเพณีสงกรานต์ 5.ตัวอักษรไทยน้อย และการพูดภาษาพวน 6. อาชีพทำนา ทอผ้าและหัตถกรรมจักสาน 7.ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีฟ้าและผีบรรพบุรุษ ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับวงจรชีวิต และความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับขวัญ 8.ลำพวน และการละเล่นนางกวัก นางด้ง ลักษณะของการใช้องค์ประกอบทางศิลปะ(อัตลักษณ์ศิลป์)ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. องค์ประกอบหลัก คือ รูปลักษณ์ที่ประกอบสร้างจากองค์ประกอบทางศิลปะ สามารถสื่อสารถึงวัตถุประสงค์ กิจกรรม และเรื่องราวทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้ 2.องค์ประกอบรอง คือ รูปลักษณ์ที่ประกอบสร้างจากองค์ประกอบทางศิลปะ ใช้เป็นส่วนเสริม หรือส่วนอธิบายประกอบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 3.การจัดวางองค์ประกอบ คือ การจัดวางองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก และองค์ประกอบรอง เพื่อสื่อสารถึงวัตถุประสงค์ กิจกรรม และเรื่องราวทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น พบการใช้อัตลักษณ์ศิลป์ รูปคนผู้ชายและผู้หญิงสวมเครื่องแต่งกายตามภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยพวน และเครื่องจักสาน จากรูปแบบของอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในประเพณี รวมถึงพิธีกรรมและตัวแทนความเชื่อเกี่ยวกับเทวดา หรือพระยาแถน มากที่สุดในการสื่อสารด้วยอัตลักษณ์ศิลป์ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Srinakharinwirot University | |
dc.rights | Srinakharinwirot University | |
dc.subject | กลุ่มวัฒนธรรมไทยพวน | th |
dc.subject | อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม | th |
dc.subject | อัตลักษณ์ศิลป์ | th |
dc.subject | Thai – Phuan coomunity | en |
dc.subject | Cultural Identity | en |
dc.subject | Design Framework | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | STUDY OF IDENTITY OF THE THAI-PHUAN COMMUNITY IN THE CENTRAL REGIAN OF THAILAND FOR THE PURPOSES OF DETERMINING A DESIGN FRAMEWORK | en |
dc.title | การศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มวัฒนธรรมไทยพวนในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยเพื่อแนวทางในการออกแบบ | th |
dc.type | Dissertation | en |
dc.type | ปริญญานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs562150016.pdf | 25.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.