Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/472
Title: CRITICAL SOCIAL MEDIA USAGE BEHAVIOR IN GENERATION-Y
พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย 
Authors: PHAPADA CHATSAKULPANYA
ปภาดา ฉัตรสกุลปัญญา
Supat Sanjamsai
สุพัทธ แสนแจ่มใส
Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities
Keywords: พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์
ทฤษฎีการกำหนดตนเอง
กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
social media
self-determination theory
critical thingking
Generation-Y
Issue Date:  20
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of the research is to study the correlation between internal motivation in terms of independently expressing opinions, having relationships with others and perceiving ability interest and critical thinking for social media usage behavior in Generation-Y ; to study the ability of critically predict online social network behavior based on internal motivation in all three areas among members of Generation-Y. The sample group in this research consisted of four hundred Generation-Y people aged between twenty-five to thirty-six years of age who were Facebook users and responded to a five-part questionnaire. Which was determined though the use  of Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis. The research found that between internal motivation and independent in terms of expressing opinions was positively correlated with critical social media usage behavior with a statistical significance of .01. However, the factor of Internal motivation, having relationships with others and the perception of ability and interest was negatively correlated with critical social media usage behavior, with a statistical significance of .01. Internal motivation in all 3 areas can predict critical social media usage behavior (β = .28 ) in Generation-Y members with a statistical significance of .01. The result that was increased critical social media usage behavior positively increased autonomy positively.  
จุดประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจภายในด้านความต้องการเป็นอิสระในการแสดงพฤติกรรม แรงจูงใจภายในด้านความต้องความสัมพันธ์กับผู้อื่น และแรงจูงใจภายในด้านการรับรู้ความสามารถและความสนใจ กับพฤติกรรมเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณในกลุ่มเจอเนอเรชั่นวายได้ และศึกษาความสามารถในการทำนายพฤติกรรมเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณจากแรงจูงใจทั้ง 3 ด้าน ในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย โดยกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้คือกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวายมีอายุระหว่าง 25 – 36 ปี ที่มีบัญชีรายชื่อการใช้งานในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค (Facebook) จำนวน 400 คน  ภายหลังจากการทำแบบสอบถามทั้งหมด 5 ตอน ได้ทำการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และวิเคราะห์ความสามารถในการทำนาย (Multiple Regression Analysis) โดยผลการวิจัย พบว่า แรงจูงใจภายในด้านความต้องการเป็นอิสระในการแสดงพฤติกรรม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนแรงจูงใจภายในด้านความต้องความสัมพันธ์กับผู้อื่นและแรงจูงใจภายในด้านการรับรู้ความสามารถและความสนใจ มีความสัมพันธ์ทางลบ กับพฤติกรรมเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแรงจูงใจทั้ง 3 ด้านสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ (β = .28 ) ในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 :ซึ่งผลสามารถนำไปพัฒนาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณได้โดยการเพิ่มความต้องการเป็นอิสระในการแสดงออกของพฤติกรรม
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/472
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601110081.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.