Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/456
Title: A STUDY OF RELATIONSHIP BETWEEN THE ELECTRICITY USE AND GDP OF THAI SERVICE SECTOR
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการใช้ไฟฟ้ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของภาคบริการในประเทศไทย
Authors: NIRAMON TANTITHANABORIBUN
นิรมล ตันติธนบริบูรณ์
Ratchapan Choiejit
รัชพันธุ์ เชยจิตร
Srinakharinwirot University. Faculty of Economics
Keywords: ความเข้มข้นของการใช้ไฟฟ้าในภาคบริการของไทยปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคบริการของไทย
Electricity Intensity for Thai Services Sector Electricity Consumption for Thai Services Sector. Granger causality
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract:        This study aims to calculate the electricity intensity in Thai services sector, in general and sub-services sectors, which are transport, wholesale and retail trade, financial intermediate, hotel and construction. Secondary data compiled by The Energy Policy Office and The National Economic and Social Development Board were employed to this study. Quarterly data for electricity consumption and gross domestic products in services sector were the main data for calculate the electricity intensity and also to explored the relationship between the electricity consumption and their output. Unit root test, Co-integration test and Granger causality test were adopted to investigate their relationships. Results showed that in overall Thai services sector has a gradually downward trend to consume the electricity. Hotel is a major service sector to have a massive scale of electricity consumption rather than the other services sector. Furthermore, Co-integration test showed that there was a long-term relationship between the electricity consumption and the gross domestic product in services sector. Moreover, the Granger causality also indicated that there was a mutually causality.
      การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการใช้ไฟฟ้ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของภาคบริการในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเข้มข้นของการใช้ไฟฟ้าและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของปริมาณการใช้ไฟฟ้ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของภาคบริการ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา รายไตรมาส ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 – 2559 โดยจำแนกภาคบริการออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ ขนส่งและคมนาคม ค้าส่งและค้าปลีกตัวกลางทางการเงินโรงแรมและภัตตาคาร และการก่อสร้างทั้งนี้การคำนวณความเข้มข้นของปริมาณการใช้ไฟฟ้าพิจารณาในเชิงประสิทธิภาพโดยนำปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคบริการมาหารด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของภาคบริการ ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของปริมาณการใช้ไฟฟ้ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศนั้นมีขั้นตอนการการวิเคราะห์ข้อมูล 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย การทดสอบความหยุดนิ่งของข้อมูล การทดสอบการร่วมไปด้วยกันของอนุกรมเวลา และ การทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลด้วยวิธีของGranger ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคบริการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.00541 ซึ่งต่ำกว่า ภาคการผลิตในอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก นอกจากนั้นผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลมีความนิ่ง ณ ระดับความแตกต่างลำดับที่ 1 อีกทั้งปริมาณการใช้ไฟฟ้ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคบริการมีลักษณะร่วมไปด้วยกันของอนุกรมเวลา โดยที่มีทิศทางความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และทั้งปริมาณการใช้ไฟฟ้ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคบริการ มีลักษณะเป็นทั้งเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกัน
Description: MASTER OF ARTS (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/456
Appears in Collections:Faculty of Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130264.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.