Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/384
Title: COMPARATIVE ANATOMY OF LEAF BLADES, PETIOLES  AND WOOD OF SOME SPECIES OF BIGNONIACEAE IN THAILAND
กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบแผ่นใบ ก้านใบ และเนื้อไม้ของพืชวงศ์แคหางค่าง (Bignoniaceae) บางชนิดในประเทศไทย
Authors: TERMPONG POOMSRIPANON
เติมพงศ์ พุ่มศรีภานนท์
Anitthan Srinual
อนิษฐาน ศรีนวล
Srinakharinwirot University. Faculty of Science
Keywords: กายวิภาคศาสตร์
วงศ์แคหางค่าง
ประเทศไทย
Anatomy
Bignoniaceae
Thailand
Issue Date: 2019
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The leaf blades, petioles, wood and their anatomical characteristics were selected species as in seventeen genera, and twenty-one species of Bignoniaceae in Thailand were investigated by leaf epidermal peeling and clearing methods, stained with 1% safranin in 70% ethanol. The transverse sections of the leaf blade and petiole were prepared in terms of their anatomical structures by the paraffin method, stained with 1% safranin in 70% ethanol and 1% fast green in 95% ethanol. The wood anatomy was stained with 1% safranin in 70% ethanol. The results indicated the characteristics of the leaf blade, petiole and wood can be used to identify the genus and species of plants, attribute three aspects occurring together to construct a key. The characteristics of the leaf epidermis were used for the identification the genus and species of the plant included cuticular ornamentation, the shapes of epidermal cells, types of stomata, the types of trichomes and the presence or absence of inclusions. The transverse section of the leaf blade and petiole were the shape of the margin, the cuticle layer, the presence or absence of inclusions in midrib, the presence or absence of trichomes on petiole, the shape of petiole, and the shape of the vascular bundle. The characteristics of the wood are the type of ray parenchyma, type of axial parenchyma, the presence or absence of inclusions in wood. In addition, the recent results corresponded with those described by Olmstead; Zjhra; Lohmann; Grose and Eckert  (2009) who classified the Bignoniaceae into six clades; the Bignonieae, the Oroxyleae, the Tabebuia alliance, the Paleotropical clade, the Tecomeae and the Jacarandae.  
ศึกษาลักษณะกายวิภาคศาสตร์แผ่นใบ ก้านใบ และเนื้อไม้ของพืชวงศ์แคหางค่าง (Bignoniaceae) จานวน 17 สกุล 21 ชนิดที่พบในประเทศไทย โดยศึกษาเนื้อเยื่อชั้นผิวใบด้วยวิธีการลอกผิวใบและการทาให้แผ่นใบใส และย้อมด้วยสีซาฟรานิน (safranin) ความเข้มข้น 1% ที่ละลายในเอทานอล 70% ศึกษา กายวิภาคศาสตร์ในภาคตัดขวางของแผ่นใบและก้านใบ ด้วยกรรมวิธีพาราฟฟิน ย้อมด้วยสีซาฟรานิน ความเข้มข้น 1% ที่ละลายในเอทานอล 70% และสีฟาสต์กรีน (fast green) ความเข้มข้น 1% ที่ละลายใน เอทานอล 95% และศึกษากายวิภาคศาสตร์เนื้อไม้ด้วยการตัดเนื้อไม้ใน 3 แนวการตัดและย้อมด้วย สีซาฟรานินความเข้มข้น 1% ที่ละลายในเอทานอล 70% ผลการศึกษาพบว่า สามารถนำลักษณะแผ่นใบ ก้านใบ และเนื้อไม้ มาประกอบร่วมกันในการสร้างรูปวิธานระบุสกุลและชนิดพืช โดยลักษณะเนื้อเยื่อชั้นผิวใบที่สามารถใช้ในการระบุสกุลและชนิด ได้แก่ ผิวเคลือบคิวทิน รูปร่างเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิว ชนิดของปากใบ ชนิดของขน การมีหรือไม่มีสารสะสม สำหรับลักษณะภาคตัดขวางแผ่นใบและก้านใบ ได้แก่ รูปร่างขอบใบ ผิวเคลือบคิวทิน การมีหรือไม่สารสะสมบริเวณเส้นกลางใบ การมีหรือไม่มีขนบริเวณก้านใบ รูปร่างของก้านใบ รูปร่างของมัดท่อลำเลียง และลักษณะกายวิภาคศาสตร์เนื้อไม้ ได้แก่ เซลล์พาเรงคิมาแนวรัศมี พาเรงคิมาแนวแกน การมีหรือไม่มีสารสะสมในเนื้อไม้ นอกจากนี้ เมื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาจัดจำแนก พบว่ามีความสอดคล้องและสนับสนุนการจัดจำแนกตามระบบการจัดจำแนกของ Olmstead; Zjhra; Lohmann; Grose & Eckert. (2009) ใน 6 เคลด (clade) คือ Bignonieae, Oroxyleae, Tabebuia alliance, Paleotropical clade, Tecomeae และJacarandae
Description: MASTER OF EDUCATION (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/384
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601110148.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.