Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3049
Title: | PSYCHOLOGICAL AND SOCIAL FACTORS AFFECT INDIVIDUAL AND FAMILY SELF-MANAGEMENT BEHAVIOR AND FAMILY WELL-BEING IN SLUM PATHUM WAN, BANGKOK ปัจจัยทางจิตและสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัว และสุขภาวะครอบครัว ในชุมชนแออัดเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
Authors: | HARUETHAI PARTUMCHART หฤทัย ประทุมชาติ Pitchayanee Poonpol พิชญาณี พูนพล Srinakharinwirot University Pitchayanee Poonpol พิชญาณี พูนพล pitchayanee@swu.ac.th pitchayanee@swu.ac.th |
Keywords: | สุขภาวะครอบครัว พฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัว ชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร Family well-being Individual and family self-management behavior Slum BANGKOK |
Issue Date: | 19 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | Thailand is leading country among ASEAN countries, in terms of achieving Sustainable Development Goals (SDGs). However, there are challenges related to targets concerning well-being; particularly vulnerable urban areas, such as the slums. This study seeks to integrate Individual and Family Self-Management Theory by Ryan & Sawin (2009) to describe the self and family management behaviors that are associated with family well-being. Using a quantitative research approach, the study surveyed 260 respondents of who lived in slum areas in Pathum Wan, Bangkok. The analysis revealed that Psychological Capital, Outcome Expectancies, and Social Norms have a positive correlation with Individual and family self-management behavior, as well as family well-being. Furthermore, the interaction between psychological capital and social capital had a significant connection to IFSM behavior. Based on these results, making policies in slum areas should prioritize these variables to enhance the efficacy of improving family well-being and promoting slum development. การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางสังคมตามหลักการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1.เปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัว และสุขภาวะครอบครัวทั้งด้านรวมและรายด้าน ระหว่างสมาชิกครอบครัวที่มีลักษณะชีวสังคมแตกต่างกัน 2.เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยทางจิตกับตัวแปรปัจจัยทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัว ของสมาชิกครอบครัวในกลุ่มรวม 3.เพื่อค้นหาอำนาจการทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัวทั้งด้านรวมและรายด้านจากตัวแปรปัจจัยทางจิตและตัวแปรปัจจัยทางสังคมของสมาชิกครอบครัวในกลุ่มรวม และกลุ่มที่มีลักษณะชีวสังคมแตกต่างกัน 4.เพื่อศึกษาอิทธิพลของพฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัวที่มีต่อสุขภาวะครอบครัว ของสมาชิกครอบครัวในกลุ่มรวมที่มีลักษณะชีวสังคมแตกต่างกัน โดยใช้ทฤษฎีการจัดการตนเองและครอบครัว (Individual and Family Self-management Theory) ของ Ryan & Sawin (2009) เป็นแนวคิดหลักในการวิเคราะห์สาเหตุของพฤติกรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกครอบครัวที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครไม่ต่ำกว่า 1 ปี และมีอายุระหว่าง 25-60 ปี จำนวน 260 ราย จากผลการศึกษาพบว่า 1.สุขภาวะครอบครัวมีความแตกต่างกันตามรายได้ต่อเดือนในครัวเรือน 2.มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยทางจิตกับตัวแปรปัจจัยทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัว ของสมาชิกครอบครัวในกลุ่มรวม 3.พฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัวทั้งด้านรวมและรายด้าน สามารถทำนายได้จากตัวแปรปัจจัยทางจิตและตัวแปรปัจจัยทางสังคม 4.พฤติกรรมการจัดการตนเองและครอบครัวของสมาชิกครอบครัวมีอิทธิพลต่อสุขภาวะครอบครัวในกลุ่มรวมที่มีลักษณะชีวสังคมแตกต่างกัน |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/3049 |
Appears in Collections: | Institute of Research in Behavioral Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs641130129.pdf | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.