Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2900
Title: | RESEARCHING AND REVIVING THE KNOWLEDGEOF PATTANI RONG NENG DANCE ACCORDINGTO KHUN JARU WISET SUEKAKORN การศึกษาและรื้อฟื้นองค์ความรู้การเต้นรองเง็งปัตตานีตามแบบฉบับขุนจารุวิเศษศึกษากร |
Authors: | KITTIPOP KAEWYOY กิตติภพ แก้วย้อย Sureerat Chenpong สุรีรัตน์ จีนพงษ์ Srinakharinwirot University Sureerat Chenpong สุรีรัตน์ จีนพงษ์ sureeratc@swu.ac.th sureeratc@swu.ac.th |
Keywords: | ศิลปะการแสดงรองเง็ง Rongngeng dance |
Issue Date: | 24 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of this research is to study and collect knowledge of the Pattani Rongngeng dance, according to Khun Jaruwiset Suksakarn's style, by means of document study. The observations and interviews with a population of experts. There were six people. The research results found that The important knowledge of the Pattani Rongngeng dance in the style of Khun Jaru Wiset Suksa Korn is the nine elements of the performance: (1) performers dancing in male-female pairs and musicians; (2) dressing in a royal style that is unique and developed according to Malay culture; (3) equipment including shawls and handkerchiefs; (4) the musical instruments of the Rongneng band have further developed, namely, tambourines and bells also come into the mix; (5) the 10 songs are as follows: Lagu Dua, Lagu pucuk pisang, Lagu Mak inang lama, Lagu Ayamdidik, Lagu lenang, Lagu cinta sayang, Lagu Mak inang jawa, Lagu Bunga rampai, Lagu Mas merah, and Lagu dondang sayings; (6) the form of the row has evolved to be diverse according to the era to make it interesting; (7) performing in the past began with dancing the Lagu Dua and because it is a Wai Khru song, dance to three songs at a time and dance to the Lagu Mak inang lama. Set to ‘Farewell Nowadays’, adapting to the era, you can dance as many songs as you want, it is not fixed. Before and at the end of the dance, dancers show respect to the audience and their partners, namely the audience salutation and the partner salutation; (8) the dance moves show the use of hands, such as clenched fists, non-clutching hands, swaying hands, handkerchief clamps, stabbing hands, clapping hands, picking up men's hands and picking up the women's hands. Dance techniques using the feet include touching the toes, pressing the toes, pressing the heels, twisting the feet, floating the feet, stomping the feet and tiptoeing. Every song presents a courtship; (9) performance opportunity is used to welcome guests and at various festivities both at Thailand and abroad. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้การเต้นรองเง็งปัตตานีตามแบบฉบับขุนจารุวิเศษศึกษากรด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์จากกลุ่มประชากรผู้เชี่ยวชาญรองเง็งปัตตานีตามแบบฉบับขุนจารุวิเศษศึกษากรจำนวน 6 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้สำคัญของการเต้นรองเง็งปัตตานีตามแบบฉบับขุนจารุวิเศษศึกษากร คือ องค์ประกอบการแสดง 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.นักแสดงเต้นคู่ชาย-หญิงและนักดนตรี 2. การแต่งกายตามแบบราชสำนักที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพัฒนาตามวิถีวัฒนธรรมมลายู 3. อุปกรณ์ใช้ผ้าคลุมไหล่และผ้าเช็ดหน้า 4. เครื่องดนตรีของวงรองเง็งได้พัฒนาเพิ่มเติม คือ นำแทมบูรินและระฆังราวมาผสมวงด้วย 5. บทเพลง 10 เพลง คือ ลาฆูดูวอ ปูโจ๊ะปีซัง มะอินังลามา อะยัมดิเด๊ะ เลนัง จินตาซายัง มะอินังชวา บุหงารำไป มาสแมเราะและโดนดังซายัง 6. รูปแบบแถวมีการพัฒนาให้มีความหลากหลายตามยุคสมัยเพื่อให้มีความน่าสนใจ 7. วิธีการแสดงในอดีตเริ่มเต้นเพลงลาฆูดูวอ เพราะกำหนดเป็นเพลงไหว้ครู เต้นครั้งละ 3 เพลง และเต้นเพลงมะอินังลามา กำหนดเป็นเพลงลา ปัจจุบันปรับให้เข้ากับยุคสมัยเต้นกี่เพลงก็ได้ไม่กำหนดตายตัว ก่อนและจบการเต้นนักเต้นจะแสดงความเคารพต่อผู้ชมและคู่เต้นคือการสลามผู้ชมและการสลามคู่ 8. ท่าเต้นปรากฏนาฏยลักษณ์การใช้มือ คือ มือกำ มือจีบไม่ติด มือรำส่าย มือหนีบผ้าเช็ดหน้า มือแทง ปรบมือ เก็บมือผู้ชายและเก็บมือผู้หญิง นาฏยลักษณ์การใช้เท้าคือแตะปลายเท้า กดปลายเท้า กดส้นเท้า บิดเท้า ถัดเท้าลอย ย่ำเท้าและเขย่งเท้า ทุกบทเพลงนำเสนอการเกี้ยวพาราสี 9. โอกาสในการแสดงใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและงานรื่นเริงต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2900 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631130212.pdf | 10.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.