Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2869
Title: THE INFLUENCE OF TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP AND INNOVATIVE CLIMATE AFFECTING INNOVATIVE BEHAVIOR OF TEACHER'S WORK UNDER SAMUTSAKHON PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE
อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศการสร้างนวัตกรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
Authors: APISADA CHUENPOUNGTHUM
อภิษฎา ชื่นปวงธรรม
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
Srinakharinwirot University
Jantarat Phutiar
จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์
jantarat@swu.ac.th
jantarat@swu.ac.th
Keywords: พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครู, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, บรรยากาศการสร้างนวัตกรรม
Innovative work by teacher/Transformational leadership/Innovative climate
Issue Date:  24
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this study is to examine the consistency of the model of transformational leadership and innovation climate influencing the innovative work behavior of teachers with the empirical data. The variables in the model consisted of three variables: the transformational leadership of school administrators, an innovation creation atmosphere and the innovative work behavior of teachers. The sample group used in this study were 320 teachers under the authority of the Samutsakhon Primary Educational Service Area Office, which was obtained by determining the sample size according to the concept of Krejcie & D.W. Morgan (1970). In this research, the researcher created an instrument with a five-level rating scale questionnaire, which was checked for content validity by experts. The consistency value (IOC) was between 0.80-1.00 and the Cronbach's Alpha Coefficient was determined with a confidence value of 0.979. The data was analyzed using the SEM test statistic in order to check the harmony between research models and empirical data. The research results found that the model was consistent with the empirical data. Considering the Chi-square statistic value is 61.59, df value = 51, p-value = .140, GFI index = .970, AGFI index = .950, SRMR value = .025, RMSEA value = .025 and the variables in the model could explain variance on the innovative work behavior of teachers at 49 percent (R2=.49). It was found that the variable that has a direct influence (Direct Effect: DE) on the variable of the innovative work behavior of teachers is the innovative climate of the school administrators (beta = .84) with a statistical significance of .001. When the innovative climate variable is at a higher level will result in higher levels of innovative work behavior of teachers. In addition, the transformational leadership variable of the school administrators has an indirect influence on the innovative work of behavior (beta = .77) with a statistical significance of .001 level, in which the innovative climate of the school administrators is a transmission variable. This shows that when the transformational leadership variable of school administrators increases, it will affect the variable regarding the innovative climate of school administrators, causing the variable regarding the innovative behavior in work to increase accordingly.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศการสร้างนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ตัวแปรในโมเดลประกอบไปด้วยตัวแปร 3 ตัว คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา บรรยากาศการสร้างนวัตกรรม และพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 320 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของKrejcie & D.W. Morgan (1970) ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00 และทำการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ SEM เพื่อเป็นการตรวจสอบความกลมกลืนระหว่างโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติ Chi-square เท่ากับ 61.59 ค่า df = 51 ค่า p-value = .140 ดัชนี GFI = .970 ดัชนี AGFI = .950 ค่า SRMR = .025 ค่า RMSEA = .025 และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครูได้  ร้อยละ49 (R2=.49) โดยพบตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรง (Direct Effect: DE) ต่อตัวแปรพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครู คือ บรรยากาศการสร้างนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา (beta = .84) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เมื่อตัวแปรบรรยากาศการสร้างนวัตกรรมมีระดับสูงขึ้น จะส่งผลให้ตัวแปรพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครูมีระดับที่สูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษามีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครู (beta = .77) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีตัวแปรบรรยากาศการสร้างนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวแปรส่งผ่าน แสดงให้เห็นว่าเมื่อตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเพิ่มระดับขึ้นก็จะส่งผลผ่านทางตัวแปรบรรยากาศการสร้างนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ทำให้ตัวแปรพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานเพิ่มขึ้นตาม
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2869
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs651160046.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.