Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2790
Title: THE PHYSICAL EDUCATION LEARNING MANAGEMENT MODEL ON NETBALL ACTIVITY APPLYING STEAM EDUCATION
รูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษา ในกิจกรรมกีฬาเนตบอลโดยประยุกต์วิธีการสอนแบบสตีม
Authors: PATCHARAPA KERDPHOKSAP
พัชราภา เกิดโภคทรัพย์
Sathin Prachanban
สาธิน ประจันบาน
Srinakharinwirot University
Sathin Prachanban
สาธิน ประจันบาน
sathin@swu.ac.th
sathin@swu.ac.th
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษา
กีฬาเนตบอล
วิธีการสอนแบบสตีม
Physical Education Learning Management Model
Netball
STEAM teaching method
Issue Date:  24
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aim of this research is to create and develop a physical education learning management model on netball activity applying STEAM teaching method. The research is divided into three phases. Phase 1 is the study of conditions, problems, necessary needs, and guidelines for creating patterns. Data was collected through semi-structured interviews and analyzed by document analysis. The purposive sampling participants consist of 4 netball teachers, 20 students who have studied netball, and 3 netball experts. Phase 2 is creating and checking the quality of the learning model and learning instruments by five experts. The data was analyzed using the median and the interquartile range. The learning model has quality in terms of accuracy, appropriateness, and feasibility according to the specified criteria (Md ≥ 3.50, IQR ≤ 1.50). The learning instruments have content validity, difficulty, discrimination, and reliability. Phase 3 is the implementation of the learning model and the evaluation of its effectiveness. The sample consisted of 56 Mathayom 6 all-girl students, including the science study plan (N = 28) and the liberal arts study plan (N = 28). The sample was obtained from random group sampling. The data were analyzed by a dependent sample t-test, one sample t-test, one-way ANCOVA, and an independent sample t-test. The result showed that 1) the students have higher knowledge and skills in netball than before learning with a statistical significance of .05, 2) students have creative thinking skills, analytical thinking skills, responsibility for learning and quality of the task higher than 80 percent with a statistical significance of .05, and 3) both groups of learners are no different in various knowledge and skills in netball, learning behavior in class, the quality of tasks, creative thinking skills, analytical thinking skills, and responsibility for learning at the significance level of .05.
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกิจกรรมกีฬาเนตบอล โดยประยุกต์วิธีการสอนแบบสตีม โดยแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวทางในการสร้างรูปแบบฯ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเคราะห์เอกสาร กลุ่มที่ศึกษา ประกอบด้วยครูผู้สอนกีฬาเนตบอล จำนวน 4 คน นักเรียนที่เคยเรียนกีฬาเนตบอล จำนวน 20 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 การสร้าง และตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบฯ และเครื่องมือที่ใช้วัดผลในรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ พบว่า รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ตามเกณฑ์ที่กำหนด ((Md ≥ 3.50, IQR ≤ 1.50) และเครื่องมือที่ใช้วัดผลในรูปแบบฯ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และความเชื่อมั่น ตามเกณฑ์ที่กำหนด ระยะที่ 3 การนำรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับผู้เรียน และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้แก่ แผนการเรียนด้านวิทยาศาสตร์ และแผนการเรียนด้านศิลปศาสตร์ จำนวนห้องละ 28 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม หลังจัดการเรียนรู้ พบว่า 1) ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะต่าง ๆ ในกีฬาเนตบอล สูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Sample t-test) 2) ผู้เรียนมีทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ความรับผิดชอบต่อการเรียน และคุณภาพของชิ้นงาน สูงกว่าร้อยละ 80 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว (One Sample t-test) 3) ผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่ม มีความรู้ และทักษะต่าง ๆ ในกีฬาเนตบอล พฤติกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน คุณภาพของชิ้นงาน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความรับผิดชอบต่อการเรียน ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 วิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One Way ANCOVA) และการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Samples t-test)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2790
Appears in Collections:Faculty of Physical Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611150076.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.