Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2779
Title: STUDY OF COMMUNICATION STRATEGIES OF THE DEPARTMENTOF SOCIAL DEVELOPMENT AND WELFARE
การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
Authors: MAKAPOL APICHARTBUTR
มฆพล อภิชาตบุตร
Saichol Panyachit
สายชล ปัญญชิต
Srinakharinwirot University
Saichol Panyachit
สายชล ปัญญชิต
saicholpa@swu.ac.th
saicholpa@swu.ac.th
Keywords: การสื่อสาร
การประชาสัมพันธ์
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
Communication
Public relations
Department of Social Development and Welfare
Issue Date:  24
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This study was comprised of three objectives as follows: (1) to study the public communication strategies of the Department of Social Development and Welfare; (2) to study expectations of information perception from the Department of Social Development and Welfare; and (3) to study the guidelines for developing the public communication policies of the Department of Social Development and Welfare, using a qualitative research process with a documentary review, the fieldwork to semi-structured interviews, and the focus group discussion. The group of key informants was selected based on the main aims of the study, including a five-spokesperson team or those responsible for public relations work for the Department of Social Development and Welfare, 18 community leaders in nine central Bangkok districts with two people per district, and five reporters from news agencies, and public relations experts. The results of the study revealed the following: (1) the Department of Social Development and Welfare using channels and offline media both proactively, defensively, and continuously used the results to develop policies; (2) most citizens want to know information about their welfare rights. Assistance government services and various activities of the government. The information must be accurate, easily accessible, and beneficial to the public; and (3) to presenting the importance of public relations to obtain budgetary support to carry out activities appropriately to developing the policy, should be continuous development of skills for public relations personnel. And the results must be reviewed to reduce problems that may occur in the future. Including considering appropriate communication channels while creating an identity that is widely known to the public. Finally, this research mainly suggested that in the next study, information should be collected for internal and external stakeholders in the target group and in order to obtain diverse and complete information in every dimension.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารสู่สาธารณะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังการรับรู้ข้อมูลข่าวสารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนานโยบายการสื่อสารสาธารณะของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบเชิงคุณภาพด้วยการสำรวจจากเอกสาร ลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม ซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้คัดเลือกแบบยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลัก ได้แก่ ทีมโฆษกหรือผู้รับผิดชอบงานด้านประชาสัมพันธ์ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จำนวน 5 คน ผู้นำชุมชนในเขตพื้นที่กรุงเทพกลาง จำนวน 9 เขต เขตละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว จำนวน 5 คน และนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 คน ผลการวิจัยพบว่า ประการที่หนึ่ง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการยึดโยงกลยุทธ์การสื่อสารสาธารณะมาจากแผนระดับชาตินำมาปรับให้เหมาะสมกับภารกิจและกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ช่องทางในรูปแบบสื่อออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ ตลอดจนมีการนำผลลัพธ์ที่ได้มาพัฒนานโยบายอย่างต่อเนื่อง ประการที่สอง ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือ บริการของภาครัฐ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ภาครัฐกำลังจัดทำอยู่และจะจัดขึ้นในอนาคต โดยข้อมูลต้องถูกต้อง เข้าถึงง่าย เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และประการที่สาม แนวทางการพัฒนานโยบายการสื่อสารสาธารณะ ต้องเริ่มต้นจากการนำเสนอความสำคัญของการประชาสัมพันธ์เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณมาดำเนินกิจกรรมอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งควรมีการพัฒนาทักษะแก่บุคลากรด้านกาประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และต้องมีการทบทวนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงพิจารณาช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมไปพร้อมกับการสร้างเอกลักษณ์ขึ้นเพื่อให้สาธารณชนรู้จักอย่างกว้างขวาง ท้ายที่สุดงานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะที่สำคัญคือควรมีการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมตั้งแต่บุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ไปจนถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่หลากหลายและครบทุกมิติ
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2779
Appears in Collections:Faculty of Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs641130086.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.