Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2732
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | KAMONWAN TOWACHIRAPORN | en |
dc.contributor | กมลวรรณ โตวชิราภรณ์ | th |
dc.contributor.advisor | Salinee Rojhirunsakool | en |
dc.contributor.advisor | สาลินี โรจน์หิรัญสกุล | th |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University | en |
dc.date.accessioned | 2024-06-25T03:42:42Z | - |
dc.date.available | 2024-06-25T03:42:42Z | - |
dc.date.created | 2024 | |
dc.date.issued | 24/5/2024 | |
dc.identifier.uri | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2732 | - |
dc.description.abstract | Systemic sclerosis (SSc) is a multisystem connective tissue disease that affects the skin and internal organs. Studies to date have reported a significant increased risk of developing malignancy in SSc patients compared to the general population. The time of malignancy diagnosis was closed to SSc onset. Some reports revealed differences in the risk of cancer among SSc-specific autoantibody subtypes. However, some studies that reported contradictory findings. Therefore, these associations aimed to evaluate: (1) cancer risk in SSc patients; (2) relationship of time interval of diagnosis between SSc and cancer; and (3) risk of cancer by autoantibody subtypes. A Comprehensive search of Pubmed, Embase, Scopus, and Cochrane library, was performed from January 1, 1980, to June 30, 2022. A total of 50 studies were included in the final analysis, with 36 observational studies and 14 case reports or case series. The two reviewers independently reviewed and extracted information. In this study, the incidence of cancer in SSc patients was found to be 18.09 times higher in SSc compared to the general population, with a pooled relative risk (RR) 18.09 (95%CI 4.40 – 31.78). Lung cancer was the predominant malignancy type found, with a pool RR of 22.22 (95%CI 4.19 – 40.24). The estimated median time between SSc diagnosis to cancer diagnosis was calculated to be 10.53 years (95%CI 4.41-16.65) which showed statistical significance. Cancer risk was stratified by SSc-specific autoantibodies, SSc patient with positive anti-RNAP III antibody had a higher incidence of malignancy (pool RR 1.76, 95% CI 1.36 - 2.29). No increased risk of malignancy was found in SSc patients with anti-Scl70 antibody and anticentromere antibody. There was an increased incidence of malignancy in SSc patients with an estimated median time of cancer diagnosis of 10.53 years from SSc onset and specific high risk of cancer in SSc patient with a positive anti-RNAP III antibody. | en |
dc.description.abstract | โรคหนังแข็งเป็นโรคในกลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ส่งผลกระทบต่อผิวหนังและอวัยวะภายใน ปัจจุบันมีการศึกษารายงานอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งในผู้ป่วยโรคหนังแข็งที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไป และยังพบว่าระยะเวลาในการวินิจฉัยโรคมะเร็งใกล้เคียงกับการวินิจฉัยโรคหนังแข็ง นอกจากนี้ มีการรายงานว่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งแตกต่างกันในกลุ่มผู้ป่วยโรคหนังแข็งที่ตรวจพบออโต้แอนติบอดี้จำเพาะชนิดต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางรายงานการศึกษาที่มีคัดค้านผลการศึกษาดังที่ได้กล่าวไป ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของ (1) ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในผู้ป่วยโรคหนังแข็ง (2) ช่วงระยะเวลาระหว่างการวินิจฉัยโรคหนังแข็งและการวินิจฉัยโรคมะเร็ง และ (3) ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งแบ่งตามชนิดของออโต้แอนติบอดี้ที่ตรวจพบ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงรวบรวมการศึกษาที่มีอยู่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าวจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Pubmed, Embase, Scopus, และ Cochrane library ที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 1980 ถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2022 โดยไม่จำกัดภาษา พบว่ามีรายงานการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าทั้งหมดจำนวน 50 ฉบับ แบ่งเป็นงานวิจัยเชิงสังเกตจำนวน 36 ฉบับและรายงานผู้ป่วยจำนวน 14 ฉบับ ผู้วิจัย 2 คน ทบทวนวรรณกรรมและเก็บรวบรวมข้อมูลที่ทำการศึกษาวิจัยอย่างเป็นอิสระต่อกัน จากการศึกษานี้ พบว่าผู้ป่วยโรคหนังแข็งมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าประชากรทั่วไปที่ไม่เป็นโรคหนังแข็งประมาณ 18.09 เท่า (RR 18.09 (95%CI 4.40 – 31.78)) โดยเฉพาะมะเร็งปอด (RR 22.22 (95%CI 4.19 – 40.24)) และพบค่ากลางของระยะเวลาการเกิดมะเร็งที่ประมาณ 10.53 ปี (estimated median time 10.53 (95%CI 4.41-16.65)) ภายหลังจากการวินิจฉัยโรคหนังแข็ง ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งโดยแยกตามชนิดของการตรวจพบออโต้แอนติบอดี้พบว่าผู้ป่วยโรคหนังแข็งที่ตรวจพบ anti-RNAP III antibody มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าผู้ป่วยโรคหนังแข็งที่ตรวจไม่พบแอนติบอดี้ดังกล่าวประมาณ 1.76 เท่า (RR 1.76, 95%CI 1.36 - 2.29)) ในขณะที่ผู้ป่วยโรคหนังแข็งที่ตรวจพบ anti-Scl-70 antibody และ anticentromere antibody ไม่พบความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งที่มีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวโดยสรุป โรคหนังแข็งมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งสูงกว่าประชากรทั่วไป โดยการวินิจฉัยโรคมะเร็งส่วนใหญ่มักพบในช่วงระยะเวลา 10 ปี หลังจากได้รับการวินิจฉัยโรคหนังแข็ง อีกทั้งยังพบว่าผู้ป่วยโรคหนังแข็งที่ตรวจพบ anti-RNAP III antibody พบความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากขึ้น | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Srinakharinwirot University | |
dc.rights | Srinakharinwirot University | |
dc.subject | โรคหนังแข็ง | th |
dc.subject | โรคมะเร็ง | th |
dc.subject | มะเร็ง | th |
dc.subject | anti-RNAP III antibody | th |
dc.subject | anti-Scl-70 antibody | th |
dc.subject | anti-centromere antibody | th |
dc.subject | Systemic sclerosis | en |
dc.subject | Malignancy | en |
dc.subject | Cancer | en |
dc.subject | Anti-RNAP III antibody | en |
dc.subject | Anti-Scl-70 antibody | en |
dc.subject | Anti-centromere antibody | en |
dc.subject.classification | Medicine | en |
dc.subject.classification | Professional, scientific and technical activities | en |
dc.subject.classification | Medicine | en |
dc.title | SYSTEMATIC REVIEW AND META-ANALYSIS OF THE ASSOCIATION BETWEEN SYSTEMIC SCLEROSIS AND MALIGNANCY RISK BY INCIDENCE OF MALIGNANCY, ANTIBODY PROFILE, AND TIME INTERVAL OF DIAGNOSIS BETWEEN SYSTEMIC SCLEROSIS AND MALIGNANCY | en |
dc.title | การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคหนังแข็งและความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในด้านอุบัติการณ์การเกิดมะเร็ง การตรวจพบแอนติบอดี้และช่วงระยะเวลาในการวินิจฉัยระหว่างโรคหนังแข็งและมะเร็ง | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | ปริญญานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Salinee Rojhirunsakool | en |
dc.contributor.coadvisor | สาลินี โรจน์หิรัญสกุล | th |
dc.contributor.emailadvisor | salineer@swu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | salineer@swu.ac.th | |
dc.description.degreename | MASTER OF SCIENCE (M.Sc.) | en |
dc.description.degreename | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | - | en |
dc.description.degreelevel | - | th |
dc.description.degreediscipline | en | |
dc.description.degreediscipline | th | |
Appears in Collections: | Faculty of Medicine |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs641110063.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.