Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2730
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | PAKAGAMON TUMSUTTI | en |
dc.contributor | ภคกมล ตุ้มสุทธิ | th |
dc.contributor.advisor | Salinee Rojhirunsakool | en |
dc.contributor.advisor | สาลินี โรจน์หิรัญสกุล | th |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University | en |
dc.date.accessioned | 2024-06-25T03:42:41Z | - |
dc.date.available | 2024-06-25T03:42:41Z | - |
dc.date.created | 2024 | |
dc.date.issued | 24/5/2024 | |
dc.identifier.uri | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2730 | - |
dc.description.abstract | Q-switched (QS) Nd:YAG 532-nm laser is among the most effective treatment options for solar lentigines (SLs). However, a high incidence of post-inflammatory hyperpigmentation (PIH) was reported. The available evidence on PIH prophylaxis was currently sparse and controversial. Therefore, we aimed to determine the efficacy of multiple prophylactic treatments for PIH; including topical corticosteroids, topical corticosteroids under occlusion, and topical brimonidine; in reducing the incidence of PIH following laser treatment of SLs. Thirty-eight subjects with at least eight SLs on their forearms were recruited to receive QS Nd:YAG 532-nm laser treatment. The forearms were divided into four areas: left upper, left lower, right upper, and right lower forearms. The two most prominent lesions in each area were randomly allocated to receive topical clobetasol, topical clobetasol under occlusion, topical brimonidine, or petrolatum jelly (control). The occurrence and intensity of PIH, degree of erythema, and improvement of lesions were evaluated in weeks two, four, eight, and twelve. There was no significant differences detected between the groups regarding the occurrence and intensity of PIH, and the improvement of lesions. However, posttreatment erythema was significantly lower in the lesions that received topical clobetasol and topical clobetasol under occlusion, compared to the control. Additionally, patient satisfaction was significantly greater in the topical clobetasol and topical clobetasol under occlusion groups. In conclusion, topical clobetasol, topical clobetasol under occlusion and topical brimonidine were not found to be effective in reducing PIH after laser treatment of SLs. This could be due to the ongoing inflammatory process under the skin, as well as the presence of dermal melanophages. However, topical clobetasol and topical clobetasol under occlusion may be applied in order to improve patient satisfaction after laser treatment. | en |
dc.description.abstract | ปัจจุบันมีวิธีการรักษากระแดดมากมายหลายวิธี การรักษาโดยใช้เครื่องเลเซอร์ Q-switched Nd:YAG ความยาวคลื่น 532 นาโนเมตร จัดว่าเป็นวิธีการรักษาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพดีที่สุดวิธีหนึ่ง อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่ามีอุบัติการณ์ของการเกิดรอยดำหลังทำเลเซอร์มากถึงร้อยละ 8.47 ไปจนถึงร้อยละ 47 ในทางคลินิกจึงได้มีการพยายามนำวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการลดการเกิดรอยดำหลังทำเลเซอร์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน การศึกษาการป้องกันการเกิดรอยดำหลังทำเลเซอร์ยังมีค่อนข้างน้อย และยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ชัดเจน ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการป้องกันการเกิดรอยดำหลังทำเลเซอร์ที่สามารถใช้ได้จริงในเวชปฏิบัติ โดยศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ การใช้ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับการปิดทับครั้งเดียว และการใช้ยาทาบริโมนิดีน ในการป้องกันการเกิดรอยดำหลังทำเลเซอร์เพื่อรักษากระแดด งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกแบบไปข้างหน้า โดยเป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบโดยมีการแบ่งรอยโรคเป็น 4 กลุ่มในคนเดียวกัน ในอาสาสมัครจำนวน 38 คนที่มีรอยโรคกระแดดอย่างน้อย 8 รอยโรค โดยมีรอยโรคอยู่ใน 4 บริเวณที่ต่างกันของแขน ได่แก่ แขนซ้ายท่อนล่างครึ่งบน แขนซ้ายท่อนล่างครึ่งล่าง แขนขวาท่อนล่างครึ่งบน และแขนขวาท่อนล่างครึ่งล่าง โดยที่รอยโรคแต่ละรอยจะได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์ Q-switched Nd:YAG ความยาวคลื่น 532 นาโนเมตร และได้รับการสุ่มให้ได้รับวิธีการรักษาที่ต่างกันในการป้องกันการเกิดรอยดำหลังทำเลเซอร์ ได้แก่ 1) ยาทาโคลเบทาซอล ทาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 วัน หลังทำเลเซอร์ 2) ยาทาโคลเบทาซอลร่วมกับการปิดทับ 24 ชั่วโมง ครั้งเดียว 3) ยาทาบริโมนิดีน ทาก่อนเลเซอร์ 1 ชั่วโมงและหลังเลเซอร์ อีก 3 วัน และ 4) ปิโตรเลียมเจลลี่ ทา 7 วันหลังทำเลเซอร์ ซึ่งเป็นยากลุ่มควบคุม ผู้วิจัยได้ทำการนัดในสัปดาห์ที่ 2, 4, 8, และ 12 หลังทำเลเซอร์ เพื่อประเมินการเกิดรอยดำหลังทำเลเซอร์ ความเข้มของรอยดำ ความเข้มของรอยแดง ดัชนีเม็ดสีเมลานิน ดัชนีความแดง การหายของรอยโรค และผลข้างเคียงจากการรักษา ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์การเกิดรอยดำหลังทำเลเซอร์โดยรวมของแต่ละกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ในส่วนของความเข้มของรอยดำ ดัชนีเม็ดสีเมลานิน ดัชนีความแดง และการหายของรอยโรค ต่างก็ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม พบว่าในรอยโรคที่ได้รับยาโคลเบทาซอล และยาโคลเบทาซอลร่วมกับการปิดทับ มีความเข้มของรอยแดงน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการประเมินความพึงพอใจโดยรวมของอาสาสมัคร พบว่ามีการประเมินสูงที่สุดในกลุ่มที่ได้รับยาทาโคลเบทาซอล และยาโคลเบทาซอลร่วมกับการปิดทับ ผลข้างเคียงจากการทายา พบอาการคันและผื่นมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในรอยโรคที่ได้รับยาทาบริโมนิดีนเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ โดยสรุปแล้ว จากการศึกษานี้ ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่าง ยาทาโคลเบทาซอล ยาทาโคลเบทาซอลร่วมกับการปิดทับ ยาทาบริโมนิดีน และปิโตรเลียมเจลลี่ ในแง่ของประสิทธิภาพในการลดอุบัติการณ์การเกิดรอยดำหลังทำเลเซอร์เพื่อรักษากระแดดบริเวณแขน อย่างไรก็ตาม ยาทาโคลเบทาซอล และยาทาโคลเบทาซอลร่วมกับการปิดทับ อาจช่วยเพิ่มความพึงพอใจหลังทำเลเซอร์ได้ | th |
dc.language.iso | en | |
dc.publisher | Srinakharinwirot University | |
dc.rights | Srinakharinwirot University | |
dc.subject | รอยดำหลังทำเลเซอร์ | th |
dc.subject | การป้องกันการเกิดรอยดำ | th |
dc.subject | กระแดด | th |
dc.subject | ยาทาโคลเบทาซอล | th |
dc.subject | ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ | th |
dc.subject | ยาทาบริโมนิดีน | th |
dc.subject | PIH prophylaxis | en |
dc.subject | Post-inflammatory hyperpigmentation | en |
dc.subject | Solar lentigines | en |
dc.subject | Topical clobetasol | en |
dc.subject | Topical corticosteroids | en |
dc.subject | Topical brimonidine | en |
dc.subject.classification | Medicine | en |
dc.subject.classification | Human health and social work activities | en |
dc.subject.classification | Medicine | en |
dc.title | EFFECTS OF TOPICAL CORTICOSTEROIDS, TOPICAL CORTICOSTEROIDS UNDER OCCLUSION, AND TOPICAL BRIMONIDINE ON THE PREVENTION OF POSTINFLAMMATORY HYPERPIGMENTATION AFTER Q-SWITCHED 532-NM ND:YAG LASER TREATMENT OF SOLAR LENTIGINES | en |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับการปิดทับ และยาทาบริโมนิดีน ในการลดการเกิดรอยดำหลังทำเลเซอร์เพื่อรักษากระแดด | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | ปริญญานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Salinee Rojhirunsakool | en |
dc.contributor.coadvisor | สาลินี โรจน์หิรัญสกุล | th |
dc.contributor.emailadvisor | salineer@swu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | salineer@swu.ac.th | |
dc.description.degreename | MASTER OF SCIENCE (M.Sc.) | en |
dc.description.degreename | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) | th |
dc.description.degreelevel | - | en |
dc.description.degreelevel | - | th |
dc.description.degreediscipline | en | |
dc.description.degreediscipline | th | |
Appears in Collections: | Faculty of Medicine |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs631110029.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.