Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2691
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | SURANGKANA SUPARIT | en |
dc.contributor | สุรางคณา ศุภฤทธิ์ | th |
dc.contributor.advisor | Thasuk Junprasert | en |
dc.contributor.advisor | ฐาศุกร์ จันประเสริฐ | th |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University | en |
dc.date.accessioned | 2024-01-15T01:38:37Z | - |
dc.date.available | 2024-01-15T01:38:37Z | - |
dc.date.created | 2023 | |
dc.date.issued | 15/12/2023 | |
dc.identifier.uri | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2691 | - |
dc.description.abstract | The objective of this study are as follows: 1) To study and understand the processes and factors related to the family resilience and the developmental needs of guardian of children and youths with leukemia. 2) To develop a model for promoting the family resilience with guardian of children and youths with leukemia. 3) To examine the outcomes of changes in the family resilience with guardian of children and youths with leukemia. And 4) To synthesize a model for promoting the family resilience with guardian of children and youths with leukemia. The researchers applied a technical action research approach in this study, which was divided into two phases. Phase 1 involved qualitative research to gain an understanding of the family resilience process. The research participants consisted of family members who played a close role in the care of children and youths with acute lymphoblastic leukemia (ALL), specifically 21 individuals from 15 families. Phase 2 of the research involved a technical action research approach to develop a model for promoting family resilience using positive psychology and social support. The main research participants were the families from Phase 1 of the study, who volunteered to participate in Phase 2. The total number of participants in Phase 2 was 14 individuals from 6 families. The study found that family resilience processes can be divided into three stages: pre-family resilience, during family resilience, and post-family resilience. The model for promoting family resilience consists of four key processes, namely: 1) Understanding the family resilience processes and factors related to family resilience, including the developmental needs for family resilience. 2) Providing social support and creating awareness of available social support resources. 3) Enhancing positive feelings and thoughts for both oneself and others. And 4) Transmitting the experiences of family resilience to new guardian. And the model for promoting family resilience can also result in changes in both quantitative data, such as scores of family resilience and perceived social support, increasing compared to pre-participation scores. It can also provide qualitative data in three dimensions: the dimension of knowledge and understanding, the dimension of emotional and affective experiences, and the dimension of behavioral changes. The knowledge gained through this study, spanning various dimensions including social, psychological, and health aspects, can be applied as practical guidelines to promote family resilience. Guardian facing their child's illness within the family can utilize the research model developed in this study to facilitate their own family resilience. Additionally, interdisciplinary teams and public health service units can adapt suitable research-based strategies from this practical research model to promote family resilience and enhance the quality of life for guardian facing chronic illness situations in the long term. | en |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทำความเข้าใจกระบวนการ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นคืนสภาพครอบครัว และความต้องการพัฒนาการฟื้นคืนสภาพครอบครัวของผู้ปกครองเด็กและเยาวชนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการฟื้นคืนสภาพครอบครัวของผู้ปกครองเด็กและเยาวชนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 3) เพื่อศึกษาผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงการฟื้นคืนสภาพครอบครัวของผู้ปกครองเด็กและเยาวชนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ 4) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมการฟื้นคืนสภาพครอบครัวของผู้ปกครองเด็กและเยาวชนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้วิจัยประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการทางเทคนิคในการศึกษา โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยหลักที่เป็นเชิงคุณภาพเพื่อทำความเข้าใจกระบวนการฟื้นคืนสภาพครอบครัว ผู้ร่วมวิจัย คือ สมาชิกในครอบครัวที่มีบทบาทในการดูแลเด็กและเยาวชนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟไซติก (ALL) อย่างใกล้ชิด จำนวน 21 คน จาก 15 ครอบครัว และระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปฏิบัติการทางเทคนิคเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการฟื้นคืนสภาพครอบครัวด้วยโดยใช้กระบวนการจิตวิทยาเชิงบวกและการสนับสนุนทางสังคม ผู้ร่วมวิจัยหลัก คือ ครอบครัวจากการวิจัยระยะที่ 1 ที่อาสาสมัครเข้าร่วมวิจัยในระยะที่ 2 จำนวน 14 คน จาก 6 ครอบครัว ผลการศึกษาพบว่าครอบครัวมีกระบวนการฟื้นคืนสภาพครอบครัว 3 ระยะ คือ ระยะก่อน ระยะระหว่าง และระยะหลังการฟื้นคืนสภาพครอบครัว ซึ่งรูปแบบการส่งเสริมการฟื้นคืนสภาพครอบครัว ประกอบด้วย 4 กระบวนการสำคัญ ได้แก่ 1) ทำความเข้าใจกระบวนการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นคืนสภาพครอบครัวรวมทั้งความต้องการในการพัฒนาการฟื้นคืนสภาพครอบครัว 2) ให้การสนับสนุนทางสังคมและสร้างการรับรู้แหล่งสนับสนุนทางสังคม 3) เสริมสร้างความรู้สึกและความคิดเชิงบวกทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง และ 4) ส่งต่อประสบการณ์การฟื้นคืนสภาพครอบครัวสู่ผู้ปกครองรายใหม่ และรูปแบบการส่งเสริมการฟื้นคืนสภาพครอบครัวยังสามารถเกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงทั้งข้อมูลเชิงปริมาณของคะแนนการฟื้นคืนสภาพครอบครัวและคะแนนการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนก่อนเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพใน 3 มิติ ได้แก่ มิติความรู้ความเข้าใจ มิติอารมณ์ความรู้สึก และมิติด้านพฤติกรรม องค์ความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ผ่านการศึกษาหลากหลายมิติ ทั้งมิติทางสังคม มิติทางจิตวิทยา และมิติสุขภาพ สามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการฟื้นคืนสภาพครอบครัวได้ โดยกลุ่มผู้ปกครองที่กำลังเผชิญการป่วยของบุตรหลานในครอบครัวสามารถประยุกต์ใช้รูปแบบในการวิจัยครั้งนี้ไปพัฒนาการฟื้นคืนสภาพครอบครัวของตนเองได้ รวมทั้งทีมสหวิชาชีพและหน่วยบริการทางสาธารณสุขสามารถนำรูปแบบหรือวิธีการที่เหมาะสมในแนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการวิจัยครั้งนี้ไปปรับใช้เป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริมการฟื้นคืนสภาพครอบครัวที่กำลังเผชิญสถานการณ์การเจ็บป่วยเรื้อรังอันจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้ปกครองในวงกว้างและระยะยาวต่อไปได้ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Srinakharinwirot University | |
dc.rights | Srinakharinwirot University | |
dc.subject | การฟื้นคืนสภาพครอบครัว | th |
dc.subject | กระบวนการจิตวิทยาเชิงบวก | th |
dc.subject | การสนับสนุนทางสังคม | th |
dc.subject | ผู้ปกครอง | th |
dc.subject | เด็กและวัยรุ่น | th |
dc.subject | โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว | th |
dc.subject | การวิจัยเชิงปฏิบัติการทางเทคนิค | th |
dc.subject | Family Resilience | en |
dc.subject | Positive Psychological Interventions | en |
dc.subject | Social Support | en |
dc.subject | Guardian | en |
dc.subject | Children and Youths | en |
dc.subject | Leukemia | en |
dc.subject | Technical Action Research | en |
dc.subject.classification | Psychology | en |
dc.subject.classification | Human health and social work activities | en |
dc.subject.classification | Child care and youth services | en |
dc.title | THE DEVELOPMENT OF A MODEL FOR PROMOTING FAMILY RESILIENCE WITH GUARDIAN OF CHILDREN AND YOUTHS WITH LEUKEMIA USING POSITIVE PSYCHOLOGICAL INTERVENTIONS AND SOCIAL SUPPORT: TECHNICAL ACTION RESEARCH | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการฟื้นคืนสภาพครอบครัวของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยกระบวนการจิตวิทยาเชิงบวกและการสนับสนุนทางสังคม: การวิจัยเชิงปฏิบัติการทางเทคนิค | th |
dc.type | Dissertation | en |
dc.type | ปริญญานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Thasuk Junprasert | en |
dc.contributor.coadvisor | ฐาศุกร์ จันประเสริฐ | th |
dc.contributor.emailadvisor | thasuk@swu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | thasuk@swu.ac.th | |
dc.description.degreename | DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.) | en |
dc.description.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.degreelevel | - | en |
dc.description.degreelevel | - | th |
dc.description.degreediscipline | en | |
dc.description.degreediscipline | th | |
Appears in Collections: | Institute of Research in Behavioral Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611150054.pdf | 7.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.