Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2669
Title: IDENTIFICATION OF HYDROCOTYLE UMBELLATA L., CENTELLA ASIATICA L. AND BACOPA MONNIERI L. BY MORPHOLOGICAL CHARACTERISTICS, CHEMICAL FINGERPRINT AND DNA FINGERPRINT
การจำแนกบัวบกออกจากพรมมิและแว่นแก้วด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา ลายพิมพ์​สารเคมี และลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
Authors: MANISORN SUKSAWAT
มณิสร สุขสวัสดิ์
Worapan Sitthithaworn
วรพรรณ สิทธิถาวร
Srinakharinwirot University
Worapan Sitthithaworn
วรพรรณ สิทธิถาวร
worapan@swu.ac.th
worapan@swu.ac.th
Keywords: บัวบก
พรมมิ
แว่นแก้ว
Centella asiatica
Bacopa monnieri
Hydrocotyle umbellata
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The Identification of herbs is important to ensure their correct use. Centella asiatica L., Bacopa monnieri L., and Hydrocotyle umbellata L. have been used with some confusion. This study aimed to identify C. asiatica L., B. monnieri L., and H. umbellata L. using morphological characteristics under a microscope, chemical fingerprint using high-performance thin-layer chromatographic (HPTLC), and a DNA fingerprint created by polymerase chain reaction-restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP), and to validate the identification of herbal products available on the market. Microscopic analysis found that B. monnieri L. has epidermis and trichome characteristics different from C. asiatica L. and H. umbellata L. Therefore, these tissues can be used to classify B. monnieri L. from C. asiatica L. and H. umbellata L. Chemical fingerprint analysis used asiaticoside as a marker for C. asiatica L., bacoside A3 for B. monnieri L., and quercetin for H. umbellata L. Chemical fingerprint patterns were able to identify the three herbal species. The DNA fingerprint analysis used PCR-RFLP by amplifying DNA fragments of the maturase K (matK) gene using polymerase chain reaction. Then the DNA fragments were cut with a restriction enzyme and the DNA pattern was examined by agarose gel electrophoresis. It was found that restriction enzymes BamH1, Sph1, and BspD1 were specific to C. asiatica L., B. monnieri L., and H. umbellata L., respectively. DNA fingerprint was able to identify the three herbs. The results of testing eight samples of herbal products using these three methods were that two samples of herbal products were not as specified on the label: a sample of C. asiatica L. tea that the test results found to be H. umbellata L. and a sample of B. monnieri L. tea that the test results found that it was C. asiatica L. This study showed that it is necessary to identify C. asiatica L., B. monnieri L., and H. umbellata L. to ensure that the herbs used in the production of health products are of the correct type and are beneficial to consumers.
การตรวจสอบเอกลักษณ์ของสมุนไพรมีความสำคัญเพื่อให้มั่นใจชนิดของสมุนไพรเพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดในการนำมาใช้ บัวบก พรมมิ และแว่นแก้วเป็นสมุนไพรที่พบว่ามีความสับสนในการนำมาใช้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกบัวบก พรมมิ และแว่นแก้วโดยใช้ลักษณะเนื้อเยื่อภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ลายพิมพ์สารเคมีโดยใช้เทคนิค high-performance thin-layer chromatography (HPTLC) และลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่สร้างด้วยวิธี polymerase chain reaction-restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP) และเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการระบุชนิดของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีจำหน่ายในท้องตลาด การศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่าพรมมิมีลักษณะเนื้อเยื่ออีพิเดอร์มิส และเซลล์ขนแตกต่างจากบัวบกและแว่นแก้ว จึงสามารถใช้เนื้อเยื่อดังกล่าวจำแนกพรมมิออกจากบัวบกและแว่นแก้วได้ การศึกษาลายพิมพ์สารเคมี ใช้ asiaticoside เป็นสารเทียบของบัวบก bacoside A3 เป็นสารเทียบของพรมมิ และ quercetin เป็นสารเทียบของแว่นแก้ว รูปแบบของลายพิมพ์สารเคมีสามารถจำแนกสมุนไพรทั้งสามชนิดได้ การศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยวิธี PCR-RFLP โดยการเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอบริเวณยีน maturase K (matK) ด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลีเมอเรส จากนั้นตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ และตรวจสอบรูปแบบดีเอ็นเอด้วยอะกาโรสเจลอิเล็กโทรโฟรีซิส พบว่าเอนไซม์ตัดจำเพาะ BamH1, Sph1 และ BspD1 มีความจำเพาะกับบัวบก พรมมิ และแว่นแก้ว ตามลำดับ การศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอจึงสามารถจำแนกสมุนไพรทั้งสามชนิดได้ เมื่อทดสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพรจำนวน 8 ตัวอย่าง ด้วย 3 วิธีดังกล่าว พบว่ามีผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2 ตัวอย่างที่มีชนิดไม่ตรงตามที่ระบุในฉลาก ได้แก่ ชาสมุนไพรบัวบก 1 ตัวอย่างที่ผลการทดสอบพบว่าเป็นแว่นแก้ว และชาชงพรมมิ 1 ตัวอย่างที่ผลการทดสอบพบว่าเป็นบัวบก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบเอกลักษณ์ของบัวบก พรมมิและแว่นแก้ว เพื่อให้มั่นใจว่าสมุนไพรที่นำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพถูกต้องและเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2669
Appears in Collections:Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs641130276.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.