Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2651
Title: | A STUDY OF SUFISM PHILOSOPHY TO THE CREATION OF MUSIC FORM AND PERFORMANCE IN SEMA RITUAL, MEVLEVI ORDER OF ANATOLIA การศึกษาแนวคิดปรัชญาซูฟีย์สู่การรังสรรค์รูปแบบทางดนตรี และนาฏกรรมประกอบพิธีเซมาสำนักเมฟเลวีแห่งอนาโตเลีย |
Authors: | PARINYA PANNOPPHA ปริญญา ปานนพภา Surasak Jamnongsarn สุรศักดิ์ จำนงค์สาร Srinakharinwirot University Surasak Jamnongsarn สุรศักดิ์ จำนงค์สาร surasakja@swu.ac.th surasakja@swu.ac.th |
Keywords: | พิธีเซมา ดนตรีพิธีกรรม สำนักเมฟเลวี Sema rite Ritual music Mevlevi order |
Issue Date: | 15 |
Publisher: | Srinakharinwirot University |
Abstract: | The purpose of this research is to study the history, present conditions, knowledge of music and Islamic Sufi concepts that influenced the creation of music and the gestures of the Sema ritual of the Mevlevi order. This research is a qualitative model and field study in Konya and Istanbul, Republic of Türkiye. The study results that the Mevlevi order founded in 1292 in Anatolia and developed a spinning meditation with music, or “Sema”, inspired by Mevlana Rumi. It was registered as World Cultural Heritage in 2005. The musical instruments used are Ney, Kudum, Kemenche, Halile, Oud, Kanun, Tambur and Bendir. There are musical styles related to the ritual steps: (1) Nat Sherif; (2) Küdüm Darbi; (3) Ney Taksim; (4) Peshrev; (5) Ayin Sherif; and (6) Makami Kuran. It is performed on Bayram, Kandil, Urus Shebi and other important Turkish national days. It was inherited through being a sect disciple and currently maintained by the Mevlana International Foundation. It is distributed through various channels, both the Turkish government and the private sector. The main musical elements were as follows: (1) Makam, or melodic structure and (2) Usul, or rhythmic pattern. The creative concepts included the following: (1) the God principle; (2) the Source of Knowledge Principle; (3) the Spiritual Leader principle; (4) the Remembrance of the God Principle; and (5) the Solitary principle. วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา สภาพปัจจุบัน องค์ความรู้ทางดนตรี ตลอดจนแนวคิดแบบซูฟีย์อิสลามที่ส่งผลต่อการรังสรรค์ดนตรี และท่าทางประกอบพิธีกรรมเซมาของสำนักเมฟเลวี งานวิจัยเป็นรูปแบบเชิงคุณภาพ และการลงพื้นที่ภาคสนาม ณ เมืองคอนยา และเมืองอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี ผลการศึกษาพบว่าสำนักเมฟเลวีก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1292 ในอนาโตเลีย พัฒนาการทำสมาธิหมุนพร้อมดนตรี หรือเซมา โดยได้แรงบันดาลใจจากเมฟลานา รูมีย์ ถูกยกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมใน ปี ค.ศ.2005 ใช้เครื่องดนตรี ได้แก่ เนย์ คูดุม เคเมนเช ฮาลิเล อูด คานุน ทัมบูร์ และเบนดิร มีรูปแบบทางดนตรีสัมพันธ์กับขั้นตอนพิธีกรรม ได้แก่ 1) นะต์ เชริฟ 2) คูดุม ดาร์บึ 3) เนย์ ทัคซิม 4) เพชเรฟ 5) อายิน เชริฟ และ 6) มะคามิ คูราน จัดแสดงในวันบัยรัม วันคันดิล วันอุรุส เชบิ และวันสำคัญระดับชาติของตุรกี ในอดีตสืบทอดผ่านการเป็นสาวกสำนัก ปัจจุบันดูแลโดยมูลนิธิเมฟลานานานาชาติ มีการเผยแพร่หลายช่องทางทั้งภาครัฐบาลตุรกี และภาคเอกชน มีองค์ประกอบหลักทางดนตรี ได้แก่ 1) มะคาม หรือโครงสร้างทำนอง และ 2) อูซูล หรือหน้าทับ แนวคิดในการสร้างสรรค์ คือ 1) หลักการพระเจ้า 2) หลักการแหล่งความรู้ 3) หลักการครูผู้นำจิต 4) หลักการระลึกถึงพระเจ้า และ 5) หลักการสันโดษ |
URI: | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2651 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs601120027.pdf | 13.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.