Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2558
Title: HATE SPEECH IN YOUTUBE COMMENTS ON ROHINGYA REFUGEESIN THAILAND AND SYRIAN REFUGEES IN EUROPE
วาทกรรมสร้างความเกลียดชังในการแสดงความคิดเห็นผ่านยูทูบประเด็นผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในประเทศไทยและผู้ลี้ภัยชาวซีเรียในทวีปยุโรป
Authors: PARICHART CHIMKHLAI
ปาริชาติ ฉิมคล้าย
Siriporn Panyametheekul
ศิริพร ปัญญาเมธีกุล
Srinakharinwirot University
Siriporn Panyametheekul
ศิริพร ปัญญาเมธีกุล
siripornp@swu.ac.th
siripornp@swu.ac.th
Keywords: รูปภาษาสร้างความเกลียดชัง
วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
ผู้ลี้ภัย
Hate speech
Critical Discourse Analysis (CDA)
Refugees
Issue Date:  15
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aims of this study are as follows: (1) to analyze the language employed in the articulation of opinions that give rise to hate speech directed at Rohingya refugees and Syrian refugees on the YouTube platform, based on vocabulary, linguistic structure, and speech acts that manifest as antipathy towards refugee groups; (2)  to compare the similarities and differences in the representations of Rohingya refugees in the Thai context and Syrian refugees in the European context based on opinions expressed on YouTube according to the critical discourse analysis framework; and (3) establish a conceptual framework for the utilization of the Thai language in terms of human rights and principles of freedom within the domain of public online platforms according to the Universal Declaration of Human Rights (UDHR). The data for this study were gathered from the comment sections of YouTube videos that addressed topics pertaining to Rohingya refugees in Thailand and Syrian refugees in Europe. The data analysis revealed that the vocabulary employed to construct expressions of hate speech and could be classified into three principal categories: (1) name calling; (2) verb phrases; and (3) modifiers related to race, religion, danger, animals, evil entities, and unwanted things. In terms of linguistic structures, three primary categories were identified: (1) normal sentences; (2) cleft sentences; and (3) inversion sentences. Notably, inversion sentences were employed to construct hate speech in Thai, while hate speech in English mainly followed normal sentence patterns. The application of critical discourse analysis yielded four primary speech act categories: (1) reprimand; (2) expression; (3) refusal; and (4) threats. Across all these categories, the speech acts consistently conveyed sentiments of aversion and disdain, while contributing to conflict and indifference.  Furthermore, hate speech was found to shape mental representations that convey ideas to the public. These representations can evoke anxiety and fear due to their content, particularly in terms of roles, behaviors and attitudes; (3) inclusion and exclusion. The outcomes of this discourse analysis have been employed to formulate recommendations and establish a framework for evaluating hate speech in language usage. This framework had two primary criteria: (1) vocabulary usage and assessing the choice of vocabulary conveying hatred towards factors such as race, religion, and gender; (2) aggressiveness degree, assessing the intensity of the aggressive language used to express hatred. This suggests a five-level punitive approach for addressing hate speech.
การศึกษาวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปภาษาในการแสดงความคิดเห็นที่สร้างความเกลียดชังที่ปรากฎในยูทูบเกี่ยวกับประเด็นผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในประเทศไทยและประเด็นผู้ลี้ภัยชาวซีเรียในทวีปยุโรป โดยพิจารณาจากชุดคำศัพท์ โครงสร้าง วัจนกรรมที่สื่อเจตนาสร้างความเกลียดชังกับผู้ลี้ภัย 2) เปรียบเทียบภาพแทนทางความคิดในการแสดงความคิดเห็นที่เหมือนและแตกต่างกันในยูทูบเกี่ยวกับประเด็นผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในประเทศไทยและประเด็นผู้ลี้ภัยชาวซีเรียในทวีปยุโรป โดยใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ และ 3) สร้างกรอบการใช้ภาษาไทยในการแสดงออกทางความคิดเห็นเพื่อให้เคารพสิทธิและเสรีภาพของแต่ละบุคคลในพื้นที่สาธารณะที่ปรากฎบนสื่อสังคมออนไลน์โดยไม่สร้างความเกลียดชังต่อกันตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยเก็บการแสดงความคิดเห็นในประเด็นผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในประเทศไทยและผู้ลี้ภัยชาวซีเรียในทวีปยุโรปจากสื่อยูทูบ ซึ่งพบว่าชุดคำศัพท์สร้างความเกลียดชัง 3 ชุด คือ 1) ชุดคำเรียก 2) ชุดกริยาวลี และ 3) ชุดคำขยาย ที่สัมพันธ์กับประเด็นทางเชื้อชาติ ศาสนา ความเป็นบุคคลอันตราย สัตว์ สิ่งชั่วร้าย และสิ่งที่คนไม่ต้องการ ส่วนผลการวิเคราะห์โครงสร้างประโยค พบว่ามี 3 ลักษณะ คือ 1) โครงสร้างประโยคปกติ 2) โครงสร้างประโยคแยกความ 3)โครงสร้างประโยคผกผัน และพบว่าการแสดงความคิดเห็นภาษาไทยนิยมใช้โครงสร้างประโยคผกผัน แต่ในภาษาอังกฤษนิยมใช้ประโยคแบบปกติ สำหรับผลการวิเคราะห์วัจนกรรม ผู้วิจัยพบวัจนกรรมการสร้างความเกลียดชัง 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) วัจนกรรมตำหนิ 2) วัจนกรรมแสดงออก 3) วัจนกรรมปฏิเสธ และ 4) วัจนกรรมข่มขู่ โดยทุกวัจนกรรมมีความมุ่งร้ายส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายถูกรังเกียจ สร้างความแตกแยก และถูกเมินเฉย นอกจากนี้ การใช้ภาษาสร้างความเกลียดชังสามารถหลอมสร้างเป็นภาพแทนทางความคิดที่ถูกส่งต่อกันอย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดความวิตกกังวลและหวาดกลัวจากเนื้อหาที่สื่อ 1) บทบาทหน้าที่ 2) พฤติกรรมและทัศนคติ 3) ภาพลักษณ์ ที่สัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึกระหว่างความเป็นเราและความเป็นเขา สุดท้ายผู้วิจัยได้นำผลการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางในการกำหนดรายละเอียดการพิจารณาข้อความที่สื่อความเกลียดชัง 2 แนวทาง ได้แก่ 1) เกณฑ์การพิจารณาคำพูดหรือการกระทำที่ถือว่าเป็นภาษาสร้างความเกลียดชังทางเชื้อชาติ ศาสนา และเพศ 2) ระดับความรุนแรงของการใช้รูปภาษาสร้างความเกลียดชังที่ควรมีการควบคุมและกำหนดบทลงโทษ 5 ระดับ
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2558
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601120021.pdf6.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.