Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2546
Title: THE DEVELOPMENT OF ARTS ACTIVITIES TO PROMOTE LEARNINGABOUT LOCAL HISTORY FOR PATOMSUKSA 6 STUDENT
การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: WATCHAREE LAOCHAIYAPRUEK
วัชรี เหล่าชัยพฤกษ์
Fitthidham Rohitasul
สิทธิธรรม โรหิตะสุข
Srinakharinwirot University
Fitthidham Rohitasul
สิทธิธรรม โรหิตะสุข
sittidech@swu.ac.th
sittidech@swu.ac.th
Keywords: กิจกรรมศิลปะ การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ชุมชนตลาดโบราณบางพลี
Art activities Activity-based learning management local history Bang Phli Ancient Market Community
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to develop efficient art activities to promote local history learning and using activity-based learning management (Activity-Based Learning) of Prathom Suksa 6 students at Demonstration School of Dhonburi Rajabhat University, Samut Prakan, with efficiency according to a standard criterion of 80/80; (2) to compare the learning achievement of Prathom Suksa 6 students at Dhonburi Rajabhat University Demonstration School, Samut Prakan Province on local history; (3) to study the satisfaction of students in organizing art activities that promoted local history learning. Activity-based learning management was also used. The sample group used in the research were Prathomsuksa 6 students at Dhonburi Rajabhat University Demonstration School, Samut Prakan Province. The learning management plan on art activities to promote local history learning Bang Phli Ancient Market Community used activity-based learning management (Activity-Based Learning), six plans, totaling 12 hours, a learning achievement test on local history: Bang Phli Ancient Market Community and a questionnaire measuring the satisfaction of the learners on subject of visual arts. The statistics used to analyze the data were mean scores, standard deviation, process efficiency and a t-test. The results of the research were as follows: (1) the efficiency of art activity development to promote local history learning and using activity-based learning management (Activity-Based Learning) efficiency was higher than the specified criteria of 80/80; and (2) student satisfaction with learning management was at a high level.
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ชุมชนตลาดโบราณบางพลี 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ชุมชนตลาดโบราณบางพลี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) จำนวน 6 แผน รวม 12 ชั่วโมง แบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ชุมชนตลาดโบราณบางพลี และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลประสิทธิภาพของการพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบทางการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2546
Appears in Collections:Faculty of Fine Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611130154.pdf9.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.