Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2538
Title: RESEARCH AND DEVELOPMENT OF AN EXTRACURRICULAR ACTIVITY MODEL FOR ENHANCING NEW ENTREPRENEURIAL CHARACTERISTICS OF FOOD AND BEVERAGE BUSINESS FOR UNDERGRADUATE STUDENTS IN EASTERN ECONOMIC CORRIDOR
การวิจัยและพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Authors: KUNLAYA SROYSING
กัลยา สร้อยสิงห์
Ong-art Naiyapatana
องอาจ นัยพัฒน์
Srinakharinwirot University
Ong-art Naiyapatana
องอาจ นัยพัฒน์
ong-art@swu.ac.th
ong-art@swu.ac.th
Keywords: รูปแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตร
คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการรายใหม่
ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
Extra-curricular activities model
Characteristics of new entrepreneurs
Food and beverage business
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this research are as follows: (1) to study the meaning and characteristics of new entrepreneurs; (2) to study the needs assessment of the characteristics of new entrepreneurs; (3) to create and evaluate the effectiveness of the extra-curricular activities model for enhancing the characteristics of entrepreneurs; and (4) to identify the effectiveness of developing models for new entrepreneurs in the food and beverage business for undergraduate students in the Eastern Economic Corridor. This research had four phases. Phase One was to study the meaning and characteristics of new entrepreneurs. The data was collected from 12 entrepreneurs. The research instrument used was an interview form and these forms were analyzed by implementing content analysis. Phase Two was to study the needs assessment of the characteristics of new entrepreneurs. The sample consisted of 350 undergraduate students. The research instrument was questionnaires, and the data were analyzed using the needs assessment index. Phase Three was to create and evaluate the effectiveness of an extracurricular activities model for enhancing the characteristics of entrepreneurs. The activity patterns in this phase were evaluated by five experts. The research instrument used was a five-standard evaluation. The mean and standard deviation were used to analyze the data. Finally, Phase Four identified the effectiveness of developing models for new entrepreneurs. The sample consisted of 22 undergraduate students. The research instrument was the Entrepreneurship Characteristics Measurement form and a satisfaction questionnaire for activities participation. The data were analyzed using mean, standard deviation and repeated measurement MANOVA. The results were revealed as follows: (1) new entrepreneurs in the food and beverage business may differ in several ways due to the business goals of entrepreneurs, satisfaction toward business successful, and happiness running a business. The finding also showed the key characteristics of new entrepreneurs in food and beverage business consisted of five main components: (1) taking the initiative; (2) learning and self-development; (3) service mindedness; (4) determination and patience; and (5) self-confidence; (2) needs assessment in the characteristics of entrepreneurs found that the index of needs assessment can be ordered as follows: taking the initiative was ranked first (0.581), followed by learning and self-development (0.545), self-confidence (0.542), service mindedness (0.388) and determination and patience (0.365); and (3) the results of creating and finding the effectiveness of the activity pattern, comprised of 3.1, the creation of the extra-curricular activities model: (1) principles and aims; (2) content and details; (3) operations using the experiential learning process were concrete experience, reflection observation, abstract conceptualization and active experimentation; and (4) measurement and evaluation, and 3.2, the efficiency of the extracurricular activities model for enhancing new entrepreneurs for undergraduate students were at the highest level, with accountability, propriety, feasibility, utility and accuracy standards; and (4) the results of efficiency in developing entrepreneurs in food and beverage business for undergraduate students showed a statistically average score of the characteristics of entrepreneurs of students after using the model was significantly higher at .05, and overall satisfaction of participation in the activities at the highest level with an average of 4.56 .
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการฯ (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการฯ (3) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการฯ และ (4) เพื่อทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลรูปแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการฯ การวิจัยและพัฒนาดำเนินการออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการฯ ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ ผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 ศึกษาความต้องการจำเป็นในคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 3 การสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบกิจกรรม จำนวน 5 ผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินเกณฑ์มาตรฐาน 5 ด้าน และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 4 การทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลรูปแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุนามแบบวัดซ้ำ (Repeated measurement MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า (1) การให้ความหมายความเป็นผู้ประกอบการฯ เกิดจากมุมมองของผู้ประกอบการที่มีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ และความพึงพอใจในความสำเร็จที่แตกต่างกันไปตามที่สามารถดำเนินธุรกิจลุล่วงไปด้วยดีและการที่ได้มีความสุขในการดำเนินธุรกิจ และคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การกล้าริเริ่ม (2) การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง (3) การมีจิตบริการ (4) ความมุ่งมั่นและอดทน และ (5) ความเชื่อมั่นในตนเอง (2) ความต้องการจำเป็นในคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการฯ พบว่ามีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับดังนี้ การกล้าริเริ่ม (0.581) รองลงมาการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง (0.545) ความเชื่อมั่นในตนเอง (0.542) การมีจิตบริการ (0.388) และความมุ่งมั่นและอดทน (0.365) (3) ผลการสร้างและการหาประสิทธิภาพรูปแบบกิจกรรม ประกอบด้วย 3.1 การสร้างรูปแบบกิจกรรม ประกอบด้วย (1) หลักการ และความมุ่งหมาย (2) เนื้อหาและรายละเอียด (3) การดำเนินงานโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ คือ การสร้างประสบการณ์ การสะท้อนการเรียนรู้ การสรุปองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ และ (4) การวัดและประเมินผล และ 3.2 ประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้อง และ (4) ผลการทดลองใช้และประสิทธิผลของการใช้รูปแบบกิจกรรมฯ พบว่า ค่าเฉลี่ยคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2538
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs611150046.pdf7.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.