Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2492
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | ALONGKORN AUSAWASOWAN | en |
dc.contributor | อลงกรณ์ อัศวโสวรรณ | th |
dc.contributor.advisor | Ittipaat Suwatanpornkool | en |
dc.contributor.advisor | อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล | th |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University | en |
dc.date.accessioned | 2023-09-26T08:06:10Z | - |
dc.date.available | 2023-09-26T08:06:10Z | - |
dc.date.created | 2023 | |
dc.date.issued | 21/7/2023 | |
dc.identifier.uri | http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2492 | - |
dc.description.abstract | The purposes of this research are as follows: (1) to study and analyze the factors of the digital citizenship factors of pre-service teachers; (2) to analyze experiences of learning activity management, and to enhance digital citizenship dimensions of role, emotion, perception, attitude, and behavior of instructors and pre-service teachers; (3) to develop and study of the efficiency of a professional development activity model using constructivism and connectivism theory to enhance the digital citizenship of pre-service teachers; and (4) to study the effectiveness of a teacher professional development activity model using constructivism and connectivism to enhance the digital citizenship of pre-service teachers. The research methodology was divided into four phases: Phase One, the key informants were five experts and the sample was 650 pre-service teachers. Phase Two, the key informants were three instructors and five pre-service teachers. Phase Three, the sample was 30 preservice teachers, and in Phase Four, the sample was 70 pre-service teachers. The research instruments were an interview form, an effectiveness of evaluation form and a digital citizenship test. The data analysis used content analysis, confirmatory factor analysis (CFA), mean, standard deviation, One-Way MANOVA and Hotelling’s T2. The research results were: (1) the digital citizenship factor and indicators of pre-service teachers had three factors and 11 indicators: Factor One, appropriate use of digital technology four indicators: (1) digital etiquette; (2) digital access; (3) digital use; and (4) digital law. Factor Two, living in the digital world had four indicators: (1) digital literacy; (2) digital communication; (3) digital identity; and (4) critical thinking. Factor Three, protection from digital technology had three indicators: (1) digital rights and responsibilities; (2) digital security; and (3) digital safety. The digital citizenship measurement model for pre-service teachers was aligned with empirical facts (Chi-Square (χ2) = 39.115, df = 27 (p-value = .061), χ2/df = .996, GFI = .989, AGFI = .974, RMSEA = .026, SRMR = .013, CFI = .999); (2) user experiences in terms of role, perception, attitude, and behavior were critical for learning and the digital citizenship of pre-service teachers; (3) professional development activity models for digital citizenship of pre-service teachers using constructivism and connectivism. The user experience consisted of (1) principle; (2) goal; (3) content structure; (4) learning activity; and (5) assessment and evaluation. The PSCSEP Model) had six components: (1) problem-solving situations; (2) self-monitoring; (3) creative knowledge; (4) sharing and reflection; (5) evaluation and conclusion; and (6) presentation. This model revealed the overall efficiency of the professional development activity model was at the highest level (M = 4.590, SD = .573); (4) the experimental pre-service teacher group used the PSCSEP Model, with higher scores than the control pre-service teacher group, which was statistically significant at .05 (F = 55.772, p-value <.001), and the experimental pre-service teacher group had higher scores, with a statistically significant level of .05 (Hotelling’s T2 = 226.295, df = 35, p-value <.001), and the experimental pre-service teacher group had higher satisfaction with of the professional development activity model (M = 4.680, SD = .839). | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ในการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) วิเคราะห์ประสบการณ์ผู้ใช้เกี่ยวกับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ และการส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลในด้านบทบาท อารมณ์ การรับรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาวิชาชีพครู และ 3) พัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมเสริมความเป็นครูเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้ที่สอดคล้องกับประสบการณ์ผู้ใช้ และ 4) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบกิจกรรมเสริมความเป็นครูเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 650 คน ระยะที่ 2 ผู้ให้ข้อมูล คือ อาจารย์ผู้สอน จำนวน 3 คนและนักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 30 คน และระยะที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู แบบประเมินประสิทธิภาพ และรูปแบบกิจกรรมเสริมความเป็นครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม (One Way MANOVA) และ Hotelling’s T2 ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ในการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 11 ตัวบ่งชี้ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลอย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ คือ 1) มารยาทบนโลกดิจิทัล 2) การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล 3) การใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล และ 4) กฎหมายบนโลกดิจิทัล องค์ประกอบที่ 2 การอยู่ร่วมกันบนโลกดิจิทัลได้อย่างมีความสุข ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ คือ 1) การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล 2) การสื่อสารผ่านช่องทางดิจิทัล 3) อัตลักษณ์บนโลกดิจิทัล และ 4) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และองค์ประกอบที่ 3 การปกป้องตนเองและผู้อื่นจากการใช้งานเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ 1) สิทธิและความรับผิดชอบบนโลกดิจิทัล 2) การรักษาความปลอดภัยจากการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล 3) ความปลอดภัยในการใช้งานสื่อดิจิทัล ทั้งนี้โมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square (χ2) = 39.115, df = 27 (p-value = .061), χ2/df = .996, GFI = .989, AGFI = .974, RMSEA = .026, SRMR = .013, CFI = .999) (2) ประสบการณ์ผู้ใช้ในมิติด้านบทบาท อารมณ์ การรับรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาวิชาชีพครูมีความสำคัญและสามารถใช้ในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมความเป็นครูเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูได้ 4 ประเด็น คือ 1) เน้นการลงมือปฏิบัติในการเรียนรู้ 2) ใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลในการเรียนรู้ 3) ส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลผ่านกรณีศึกษา และ 4) ตระหนักถึงความสำคัญการรู้เท่าทันและการเปลี่ยนแปลง (3) รูปแบบกิจกรรมเสริมความเป็นครูเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้ที่สอดคล้องกับประสบการณ์ผู้ใช้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) หลักการแนวคิด 2) เป้าหมาย 3) โครงสร้างเนื้อหา 4) กิจกรรมการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผล ซึ่งรูปแบบกิจกรรมเสริมความเป็นครู (PSCSEP Model) ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน 1) การเผชิญสถานการณ์ปัญหา 2) การคัดสรรข้อมูลด้วยตนเอง 3) การสร้างองค์ความรู้ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) การประเมินผลและสรุปการเรียนรู้ และ 6) การนำเสนอผลงาน และโดยภาพรวมรูปแบบกิจกรรมเสริมความเป็นครู (PSCSEP Model) มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.590, SD = .573) และ (4) นักศึกษากลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้ที่สอดคล้องกับประสบการณ์ผู้ใช้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 55.772, p-value <.001) และนักศึกษากลุ่มทดลองมีความเป็นพลเมืองดิจิทัลหลังเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Hotelling’s T2 = 226.295, df = 35, p-value <.001) และนักศึกษากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมเสริมความเป็นครูเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.680, SD = .839) | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Srinakharinwirot University | |
dc.rights | Srinakharinwirot University | |
dc.subject | ความเป็นพลเมืองดิจิทัล | th |
dc.subject | ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง | th |
dc.subject | ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้ | th |
dc.subject | การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ | th |
dc.subject | Digital citizenship | en |
dc.subject | Constructivism theory | en |
dc.subject | Connectivism theory | en |
dc.subject | User experience research | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.subject.classification | Education | en |
dc.title | A DEVELOPMENT OF A PROFESSIONAL DEVELOPMENT ACTIVITIESOF TEACHERS MODEL TO ENHANCE DIGITAL CITIZENSHIPSFOR PRESERVICE TEACHERS USING CONSTRUCTIVISM THEORYWITH CONNECTIVISM THEORY:AN APPLICATION OF USER EXPERIENCE RESEARCH | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมความเป็นครูเพื่อสร้างเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้ : การประยุกต์ใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ | th |
dc.type | Dissertation | en |
dc.type | ปริญญานิพนธ์ | th |
dc.contributor.coadvisor | Ittipaat Suwatanpornkool | en |
dc.contributor.coadvisor | อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล | th |
dc.contributor.emailadvisor | san@swu.ac.th | |
dc.contributor.emailcoadvisor | san@swu.ac.th | |
dc.description.degreename | DOCTOR OF PHILOSOPHY (Ph.D.) | en |
dc.description.degreename | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.degreelevel | - | en |
dc.description.degreelevel | - | th |
dc.description.degreediscipline | Department of Education Measurement And Research HE | en |
dc.description.degreediscipline | ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา | th |
Appears in Collections: | Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
gs611150018.pdf | 5.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.