Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2356
Title: FRACTURE RESISTANCE OF SIMULATED IMMATURE TEETH AFTER CALCIUM HYDROXIDE INTRACANAL MEDICATION WITH MTA PLUG
ความต้านทานการแตกหักของรากฟันจำลองสภาวะปลายรากฟันเปิดภายหลังการใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ในคลองรากฟัน ด้วยการอุดปิดปลายรากฟันด้วยเอ็มทีเอ
Authors: KUTTALEE SRIPRASART
กัทลี ศรีประศาสน์
Suvit Vimoljit
สุวิทย์ วิมลจิตต์
Srinakharinwirot University
Suvit Vimoljit
สุวิทย์ วิมลจิตต์
suvit@swu.ac.th
suvit@swu.ac.th
Keywords: ฟันที่ยังมีการสร้างรากฟันไม่สมบูรณ์
การอุดปิดปลายรากฟัน
วัสดุกลุ่มแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์
ความต้านทานการแตกหัก
Immature teeth
Apical plug
Calcium silicate cement
Fracture resistance
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The aim of this study was to compare the fracture resistance of simulated immature teeth with apical plugs with ProRoot MTA, MTA Angelus and RetroMTA after calcium hydroxide intracanal medication. The materials and methods included the following: 50 extracted, single-rooted human mandibular premolars were chosen for the study. Firstly, to standardize the 9mm root length, the crowns were cut off at and 9mm below cementoenamel junction transversely. The simulations for immature apices were carried out using No.1-6 Peeso reamer to obtain a 1.7 mm diameter root each and two control groups of 10 roots each. In the negative control group (Group One), no treatment was performed, while the other positive control group (Group Two), 30 days calcium hydroxide intracanal medication was performed. In the experimental groups, the ProRoot MTA (Group Three), MTA Angelus (Group Four) and RetroMTA (Group Five) were packed ultrasonically to apical 1/3 of those roots after 30 days calcium hydroxide intracanal medication. The specimens were vertically loaded in a Universal Testing Machine at cross head speed of 1 mm/min until fracture occurred. The maximum force (Newton) and fracture pattern were recorded. The results indicated the following: the highest mean fracture resistance was shown in Group One (543.33 ± 37.17 N) while the lowest was in Group Two (239.98 ± 27.19 N). The mean fracture resistance of the experimental groups was 432.82 ± 68.06 N (Group Three), 396.92 ± 59.93 N (Group Four) and 389.08 ± 56.25 N (Group Five). According to the statistical analysis, significant differences were found between control groups and experimental groups (p<.05), however, no significant differences were found among the experimental groups (p>.05). In conclusion, an apical plug with ProRoot MTA, MTA Angelus and RetroMTA had a significant strengthening effect on the fracture resistance of simulated immature teeth after calcium hydroxide intracanal medication had been used with no differences between groups.
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความต้านทานการแตกหักของรากฟันจำลองสภาวะปลายรากฟันเปิดเมื่ออุดปิดปลายรากฟันด้วยโปรรูทเอ็มทีเอ เอ็มทีเอแองเจลัส และเรโทรเอ็มทีเอ ภายหลังการใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ในคลองรากฟัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ : ใช้ฟันกรามน้อยล่างของมนุษย์ที่มีรากเดียวจำนวน 50 ซี่ ทำการเตรียมความยาวรากฟันให้ได้ 9 มิลลิเมตร โดยตัดส่วนตัวฟันเหนือตำแหน่งรอยต่อเคลือบรากฟันกับเคลือบฟันและตัดปลายรากฟันในแนวขวางส่วนใต้ตำแหน่งรอยต่อเคลือบรากฟันกับเคลือบฟัน 9 มิลลิเมตรออก จากนั้นเตรียมคลองรากฟันด้วยพีโซรีเมอร์ ขนาด 1-6 เพื่อจำลองสภาวะฟันปลายรากเปิดให้ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของคลองรากฟันเท่ากับ 1.7 มิลลิเมตร แบ่งกลุ่มโดยการสุ่มเลือกฟันออกเป็นกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ซี่ และกลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ซี่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุมแบบลบเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ทำการรักษาใดๆ กลุ่มที่ 2 กลุ่มควบคุมแบบบวกเป็นกลุ่มที่ได้รับการใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ในคลองรากฟันเป็นระยะเวลา 30 วัน กลุ่มที่ 3-5 จะทำการอุดปิดปลายรากฟันด้วยโปรรูทเอ็มทีเอ เอ็มทีเอแองเจลัส และเรโทรเอ็มทีเอ 4 มิลลิเมตรร่วมกับการกระตุ้นด้วยเครื่องอัลตราโซนิก ภายหลังการใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ในคลองรากฟันเป็นระยะเวลา 30 วัน ทำการทดสอบความต้านทานการแตกหักของรากฟันด้วยเครื่องทดสอบแรงสากล ซึ่งจะให้แรงขนานกับแนวแกนของรากฟันด้วยความเร็วคงที่ 1 มิลลิเมตรต่อนาทีจนเกิดการแตกหัก บันทึกค่าแรงสูงสุดที่ทำให้รากฟันเกิดการแตกหักในหน่วยนิวตัน และดูรูปแบบการแตกหักของรากฟัน ผลการศึกษา : กลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ยความต้านทานการแตกหักของรากฟันสูงสุด (543.33 ± 37.17 นิวตัน) ขณะที่กลุ่มที่ 2 มีค่าต่ำสุด (239.98 ± 27.19 นิวตัน)  ส่วนค่าเฉลี่ยความต้านทานการแตกหักของรากฟันในกลุ่มทดลองมีค่าเท่ากับ 432.82 ± 68.06 นิวตัน (กลุ่มที่ 3) 396.92 ± 59.93 นิวตัน (กลุ่มที่ 4) และ 389.08 ± 56.25 นิวตัน (กลุ่มที่ 5) เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มทดลอง (p>.05) สรุป : การอุดปิดปลายรากฟันด้วยโปรรูทเอ็มทีเอ เอ็มทีเอแองเจลัส และเรโทรเอ็มทีเอ ภายหลังการใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ในคลองรากฟัน สามารถเพิ่มความต้านทานการแตกหักของรากฟันจำลองสภาวะปลายรากฟันเปิดได้อย่างมีนัยสำคัญ และไม่มีความแตกต่างกันระหว่างวัสดุทั้ง 3 ชนิด
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2356
Appears in Collections:Faculty of Dentistry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631110038.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.