Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2275
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorNAPATSORN SUKSONGen
dc.contributorนภัสสร สุขส่งth
dc.contributor.advisorSonthaya Sriramatren
dc.contributor.advisorสนธยา สีละมาดth
dc.contributor.otherSrinakharinwirot Universityen
dc.date.accessioned2023-09-26T06:55:27Z-
dc.date.available2023-09-26T06:55:27Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued19/5/2023
dc.identifier.urihttp://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2275-
dc.description.abstractThe purposes of this study are to study and compare the effects of a walking physical activity enhancement program on self-efficacy, physical activity and physical fitness among overweight students and to study the correlation between the walking physical activity enhancement program and self-efficacy on physical activity and physical fitness. The participants consisted of 33 students, aged 9-12 years old, were recruited using purposive sampling. The volunteers were randomized by simple random sampling into two groups, a control group (n=15) with a daily routine life and an intervention group (n=18) who participated in the walking physical activity enhancement program for a period of eight weeks. Then pre- and post-intervention trials were conducted to obtain variables measurement which included the following: (1) self-efficacy in terms of self-efficacy behavior in obesity prevention; (2) body composition (BMI and body fat mass), and cardiorespiratory endurance; and (3) physical activity (Steps, METs, and MVPA) with ActiGraph for three consecutive days. The data were analyzed to find the mean and standard deviation and analyzed the mean differences between the groups (before and after the program) with an independent sample t-test and analyzed the difference of means between before and after the program by a paired sample t-test. It was performed for mediation testing to determine the association between walking physical activity promotion programs and dependent variables through self-efficacy. The results found that: (1) the intervention group had a statistically significant self-efficacy score higher than the control group at .05 level; (2) the control group and the intervention group had no significant difference ​​of body mass index, fat mass and cardiorespiratory endurance. But the intervention group had significantly physical activity (Steps, METs, and MVPA) higher than the control group at .05 level; (3) the walking physical activity enhancement program was directly correlated with physical activity (Steps, METs and MVPA), and significantly correlated with self-efficacy at a level of .01. However, self-efficacy was not mediating factor between walking physical activity enhancement program and the increasing of physical activity (Steps, METs and MVPA). In conclusion, the walking physical activity program increased self-efficacy and physical activity (Steps, METs, MVPA), but had no effect on physical performance. Self-efficacy was not the mediator for the increase in physical activity level.en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมสร้างเสริมการมีกิจกรรมทางกายด้วยการเดินที่มีต่อระดับกิจกรรมทางกายและสมรรถภาพทางกาย ในนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอายุ 9-12 ปี  จำนวน 33 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ และกลุ่มทดลอง จำนวน 18 คน เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายด้วยการเดิน โดยสวมเครื่องนับก้าวตั้งแต่เวลา 07:30-15:30 น. ในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบก่อนและหลังการฝึก ดังนี้ 1) วัดการรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันภาวะอ้วน การทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ 2) วัดองค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition) (ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) และมวลไขมันในร่างกาย (Body fat mass)) 3) การทดสอบความอดทนของระบบหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด (Cardiorespiratory Endurance) ด้วยวิธีการทดสอบยกเข่าขึ้น-ลง 3 นาที (ครั้ง) และ 4) วัดระดับกิจกรรมทางกาย (Physical Activity level : PA level) (หน่วยพลังงานที่ใช้ขณะพัก (Metabolic Equivalent : METs) จำนวนก้าวเดิน (Steps) และระดับกิจกรรมทางกายที่ความหนักปานกลางถึงสูง (Moderate to Vigorous Physical Activity : MVPA)) ด้วยเครื่อง ActiGraph เป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม (ก่อนและหลังการฝึก) ด้วยสถิติทีแบบอิสระ (Independence sample t-test) และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังการฝึก (ของทั้งสองกลุ่ม) ด้วยสถิติทีแบบจับคู่ (Paired sample t-test) ทำการทดสอบตัวแปรคั่นกลาง (Mediation testing) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมสร้างเสริมการมีกิจกรรมทางกายด้วยการเดินที่มีต่อตัวแปรตามผ่านตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันภาวะอ้วน สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า หลังการฝึก 8 สัปดาห์ 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย มวลไขมัน และความอดทนของระบบหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด ไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มทดลองมีค่าเมท จำนวนก้าวเดิน และค่าเฉลี่ยของระดับกิจกรรมทางกายที่ความหนักปานกลางถึงสูง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) โปรแกรมการสร้างเสริมการมีกิจกรรมทางกายด้วยการเดินมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับกิจกรรมทางกายที่ความหนักปานกลางถึงสูง ค่าเมท และจำนวนก้าวเดิน และมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการรับรู้ความสามารถของตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่การรับรู้ความสามารถของตนเองไม่ได้เป็นตัวแปรคั่นกลาง ระหว่างโปรแกรมการฝึกกับระดับกิจกรรมทางกายที่ความหนักปานกลางถึงสูง ค่าเมท และจำนวนก้าวเดินเพิ่มขึ้น สรุป ผลของโปรแกรมสร้างเสริมการมีกิจกรรมทางกายด้วยการเดินมีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาพฤติกรรมด้านสุขภาพในทางที่ดีขึ้น ด้วยการส่งเสริมให้บุคคลมีกิจกรรมทางกายและการรับรู้ความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้นth
dc.language.isoth
dc.publisherSrinakharinwirot University
dc.rightsSrinakharinwirot University
dc.subjectกิจกรรมทางกาย สมรรถภาพทางกาย การรับรู้ความสามารถของตนเอง การเดิน ภาวะน้ำหนักเกินth
dc.subjectPhysical Activity Physical fitnass Self Efficacy Walking Overweighten
dc.subject.classificationHealth Professionsen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationTherapy and rehabilitationen
dc.titleEFFECTS OF WALKING PHYSICAL ACTIVITY ENHANCEMENT PROGRAM ON SELF-EFFICACY, PHYSICAL ACTIVITY AND PHYSICAL FITNESS IN OVERWEIGHT STUDENTS en
dc.titleผลของโปรแกรมสร้างเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการเดินที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง กิจกรรมทางกาย และสมรรถภาพทางกายในนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน th
dc.typeThesisen
dc.typeปริญญานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorSonthaya Sriramatren
dc.contributor.coadvisorสนธยา สีละมาดth
dc.contributor.emailadvisorsonthase@swu.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorsonthase@swu.ac.th
dc.description.degreenameMASTER OF SCIENCE (M.Sc.)en
dc.description.degreenameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)th
dc.description.degreelevel-en
dc.description.degreelevel-th
dc.description.degreedisciplineDepartment of Sport Scienceen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาth
Appears in Collections:Faculty of Physical Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs621110022.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.