Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2223
Title: UNDERSTANDINGS AND PRACTICES OF TEACHING THE NATURE OF SCIENCE: A CASE STUDY OF GRADE 9 SCIENCE TEACHERS IN BANGKOK
ความเข้าใจและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ : กรณีศึกษาครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร
Authors: TRIWIT PINKHEAW
ตรีวิทย์ พิณเขียว
Pinit Khumwong
พินิจ ขำวงษ์
Srinakharinwirot University
Pinit Khumwong
พินิจ ขำวงษ์
pinitk@swu.ac.th
pinitk@swu.ac.th
Keywords: แนวคิดธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
การจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
การปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตร์
NOS concepts
NOS instruction
Understanding of NOS teaching
Practices of NOS teaching
Science curriculum
Issue Date:  21
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purposes of this study are to study the understanding and practices of science teachers in teaching the nature of science (NOS), according to the new science learning Indicators and core contents of the Thai Basic Education Core Curriculum. This research was qualitative research as a case study with four Grade Nine science teachers from Bangkok schools, who were selected by purposive sampling based on their experiences in NOS learning or training. The research tools included a semi-structured interview about the understanding of science teachers in NOS instruction, the analytical framework for analyzing the NOS lesson plan, and the NOS teaching observation form. The data were analyzed by the content analysis method. It was found that science teachers in this study understood that concepts of NOS were integrated into science learning standards, indicators, and core contents. Most of the concepts of NOS which teachers identified and explained were in the aspect of the scientific inquiry and based on the AAAS aspects. Science teachers had an understanding of NOS instruction and related to the implicit and explicit approaches. They recognized that in designing lesson plans for promoting understanding of NOS, teachers needed to understand concepts of NOS, analyzed learning indicators and core contents, indicated concepts of NOS that students should learn, and then blended the concepts of NOS into learning topics or design science learning activity that aligned with NOS by means of inquiry learning or emphasizing scientific skills and method. In terms of teaching practices, the participant teachers showed missed opportunities in the NOS teaching approach both in lesson plans and the practical teaching process. These results indicated that science teachers should be developed their understanding and practices in teaching NOS according to the new science learning Indicators and core contents of the Thai Basic Education Core Curriculum.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเข้าใจและการปฏิบัติของครูวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษากับกลุ่มครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 คน ซึ่งมาจากการเลือกแบบเจาะจงโดยพิจารณาจากการมีประสบการณ์ในการเรียนหรือผ่านการอบรมเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับความเข้าใจของครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ กรอบการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และแบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่าครูวิทยาศาสตร์กลุ่มที่ศึกษามีความเข้าใจว่าธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ถูกบูรณาการอยู่ในมาตรฐาน ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ฉบับปรับปรุงใหม่ แนวคิดธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการอยู่ในตัวชี้วัดซึ่งครูได้ระบุและอธิบายโดยส่วนมากอยู่ในด้านการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตามขอบข่ายของ AAAS และครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเป็นนัยหรือไม่บ่งชี้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และแบบชัดแจ้งหรือบ่งชี้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ โดยครูตระหนักว่าในการออกแบบวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ครูจะต้องมีความเข้าใจในแนวคิดธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้และกำหนดแนวคิดธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้ แล้วสอดแทรกแนวคิดธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในหัวข้อต่าง ๆ หรือออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้หรือการใช้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในส่วนของการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของครูพบว่าอยู่ในระดับการจัดการเรียนรู้ที่พลาดโอกาสในการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ทั้งในแผนการจัดการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน สะท้อนให้เห็นว่าครูยังควรได้รับการพัฒนาความเข้าใจและการปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ตามตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ฉบับปรับปรุงใหม่
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2223
Appears in Collections:Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130099.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.