Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2122
Title: A STUDY OF MULTILEVEL CAUSAL FACTORS AFFECTING COLLABORATIVE LEARNING FOR DEVELOPING THE LEARNING EXPERIENCE PLAN OF PROJECT WORK INTEGRATED COLLABORATIVE LEARNING AMONG HIGH SCHOOL STUDENTS OF WORLD - CLASS STANDARD SCHOOL PARTICIPATING IN THE WORLD MORALITY REVIVAL PROJECT  (V-STAR)
การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อจัดทำแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้การทำโครงงานบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากลที่เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก(V-Star)
Authors: VIROTE VIJITTAMRONGSAK
วิโรจน์ วิจิตรธำรงศักดิ์
Kanchana Pattrawiwat
กาญจนา ภัทราวิวัฒน์
Srinakharinwirot University
Kanchana Pattrawiwat
กาญจนา ภัทราวิวัฒน์
kanchanapa@swu.ac.th
kanchanapa@swu.ac.th
Keywords: ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับ
การเรียนรู้ร่วมกัน
หลักสาราณียธรรม6
แผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้
โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
Multilevel casual factors
Collaborative learning
Saraniyadhamma Six
Learning experience plan
World morality revival project (V-Star)
Issue Date:  16
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this study are as follows: (1) to study the multilevel causal factors affecting the collaborative learning of high school students; and (2) to develop a learning experience plan of project work integrating collaborative learning among high school students at world-class standard schools participating in the World Morality Revival Project (V-Star). This research had two parts, the sample in the first part of the research consisted of 545 students from 108 study groups at 18 schools and the participants in the second part of the research included four teachers and four academic staff from the IBS club. The questionnaire was used in the first and second part of the research and the guideline for the questions in group discussions used in the second part of the research. The first part of the research revealed that the modified multilevel model was fitted with the empirical data (Chi-square=640.898, df=402, Chi-square/df=1.594, CFI=0.965, TLI=0.959, RMSEA=0.033, SRMR(W)=0.033, SRMR(B)=0.069). At the group level, group efficacy had a direct effect on collaborative group learning, and group emotional intelligence had an indirect effect on collaborative group learning through group efficacy. At the individual level, self-efficacy, attitude, Saraniyadhamma Six, and achievement motivation had a direct effect on collaborative learning, and emotional intelligence had an indirect effect on collaborative learning through self-efficacy, attitude and Saraniyadhamma Six. In addition, collaborative group learning had a cross-level effect on collaborative learning. Then, the important influencing factors: self-efficacy, attitude, Saraniyadhamma Six and group efficacy were selected for use in the second part of the research to develop a learning experience plan, with an integrated approach: (1) point out the advantage; (2) organize activities to enhance ideas and experiences; (3) success giving; (4) keeping role models in mind; and (5) admiration and encouragement for the steps of the project work plan.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) จัดทำแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้การทำโครงงานบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมาตรฐานสากลที่เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก(V-Star) โดยแบ่งการวิจัยนี้ออกเป็น 2 ส่วน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยส่วนที่ 1 คือ นักเรียนที่มีการทำโครงงานกลุ่ม จำนวน 108 กลุ่ม รวม 545 คน จาก 18 โรงเรียน ส่วนผู้เข้าร่วมในการวิจัยส่วนที่ 2 คือ ครูจำนวน 4 คน จาก 4 โรงเรียน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการชมรมพุทธศาสตร์สากล จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยส่วนที่ 1 คือ แบบสอบถามโดยมีนักเรียนเป็นผู้ตอบ ส่วนในการวิจัยส่วนที่ 2 นั้น เป็นแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยส่วนที่ 1 พบว่า แบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพหุระดับของการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square=640.898, df=402, Chi-square/df=1.594, CFI=0.965, TLI=0.959, RMSEA=0.033, SRMR(W)=0.033, SRMR(B)=0.069) ในระดับกลุ่มพบว่า การเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มได้รับอิทธิพลทางตรงจากการรับรู้ความสามารถของกลุ่ม และอิทธิพลทางอ้อมจากความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มผ่านการรับรู้ความสามารถของกลุ่ม ส่วนในระดับบุคคลพบว่าการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงจากการรับรู้ความสามารถของตน เจตคติต่อการเรียนรู้ร่วมกัน หลักสาราณียธรรม 6 และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากความฉลาดทางอารมณ์ผ่านการรับรู้ความสามารถของตน เจตคติต่อการเรียนรู้ร่วมกัน และหลักสาราณียธรรม 6 นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลทางตรงข้ามระดับจากการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่ม จากนั้นได้คัดเลือกปัจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตน เจตคติต่อการเรียนรู้ร่วมกัน หลักสาราณียธรรม 6 และการรับรู้ความสามารถของกลุ่ม ไปใช้ในการวิจัยส่วนที่ 2 เพื่อจัดทำแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยมีแนวทางบูรณาการด้วยการ ชี้แนะประโยชน์ จัดกิจกรรมเสริมข้อคิดและประสบการณ์ เติมความสำเร็จ มีต้นแบบในใจ และชื่นชมให้กำลังใจ ลงสู่การจัดการเรียนรู้การทำโครงงาน 6 ขั้นตอน
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2122
Appears in Collections:Institute of Research in Behavioral Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs601120017.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.