Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2109
Title: A STUDY OF THE EXPERIENCE OF DEVELOPING IDENTITY UNDER NEGATIVE FAMILY ATTITUDES : CASE STUDIES OF YOUNG ADULTS
การศึกษาประสบการณ์การพัฒนาอัตลักษณ์แห่งตนภายใต้ทัศนคติทางลบจากครอบครัว : กรณีศึกษาผู้ใหญ่ตอนต้น
Authors: VIPAPAK KAEW-IM
วิภาภัค แก้วอิ่ม
Teerachon Polyota
ธีระชน พลโยธา
Srinakharinwirot University
Teerachon Polyota
ธีระชน พลโยธา
teerachon@swu.ac.th
teerachon@swu.ac.th
Keywords: อัตลักษณ์แห่งตน
ทัศนคติทางลบ
ครอบครัว
การก้าวข้ามผ่าน
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
Self-identity
Negative attitudes
Early adulthood
Issue Date:  19
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: This research aims to study the self-identity development process in terms of negative family attitudes during early adulthood. This study used purposive sampling from a population aged 21–39 years, who experienced negative family attitudes and were able to develop their identity appropriately. A total of eight cases fell within this criteria. This study used a qualitative research design, using semi-structured interviews and in-depth interview data collection techniques were employed through individual interviews with each participant. The questions were open-ended, which allowed attitudes towards self, family, and society through self-reflection to be expressed. Then, three experts examined the accuracy of the content and the language used in each question so that the details of the data could be fully captured and analyzed with content analysis, and to have control over the reliability of the data by examining the triangulation of this information. According to the findings, the self-identity development process regarding negative family attitudes during early adulthood could be divided into four steps: (1) self-acceptance; (2) self-esteem; (3) self-improvement, and (4) setting goals for the future.
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์แห่งตนภายใต้ทัศนคติทางลบจากครอบครัว ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จากประชากรช่วงอายุ 21–39 ปี ที่เคยผ่านประสบการณ์การมีทัศนคติทางลบจากครอบครัว และสามารถพัฒนาอัตลักษณ์แห่งตนอย่างเหมาะสม ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น จำนวนทั้งหมด 8 ราย โดยในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยมีรูปแบบเป็นการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และมีการใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก ในรูปแบบการสัมภาษณ์รายบุคคล โดยลักษณะของคำถามจะเป็นประเภทคำถามปลายเปิด ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตคติที่บุคคลมีทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ผ่านรูปแบบของการสะท้อนการตนเอง โดยในส่วนของข้อคำถามในการสัมภาษณ์นั้น ผู้วิจัยได้นำข้อคำถามดังกล่าวให้ทางอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญอีก 3 ท่าน ตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไขความถูกต้องของเนื้อหาและภาษาที่ใช้ เพื่อให้สามารถเก็บรายละเอียดของข้อมูลได้อย่างครบถ้วน เพื่อจะนํามาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และมีการควบคุมคุณภาพความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล ด้านผู้วิจัย และด้านทฤษฎี จากผลการวิจัยพบว่ากระบวนการในการพัฒนาอัตลักษณ์แห่งตนภายใต้ทัศนคติเชิงลบจากครอบครัว ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การยอมรับในตนเอง ขั้นตอนที่ 2 การมองเห็นคุณค่าในตนเอง ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาตนเอง ขั้นตอนที่ 4 การวางเป้าหมายมุ่งอนาคต
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2109
Appears in Collections:Faculty of Humanities

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs631130324.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.