Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2007
Title: THE RELATIONSHIP BETWEEN FEMALE LABOR FORCE PARTICIPATION, FERTILITY AND CHILD CARE AVAILABLE
ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของสตรี ภาวะเจริญพันธุ์ และความพร้อมในการดูแลบุตร 
Authors: PAVEENA TONEKAEW
ปวีณา โทนแก้ว
Ratchapan Choiejit
รัชพันธุ์ เชยจิตร
Srinakharinwirot University
Ratchapan Choiejit
รัชพันธุ์ เชยจิตร
ratchapan@swu.ac.th
ratchapan@swu.ac.th
Keywords: การมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของสตรี ภาวะเจริญพันธุ์ ความพร้อมในการดูแลบุตร
female labor force participation fertility childcare availability
Issue Date:  27
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The objectives of this research are as follows: (1) to study the long-run relationships among the female labor force participation rate, fertility and the availability of childcare; and (2) the factors affecting the fertility rate among Thai females of reproductive age. The results revealed that fertility among all age groups in long-run relationships with the availability of childcare, which was measured in terms of the number of children to nursery ratio; however, there was no long-run relationship between fertility and the female labor force participation rate. There were short-run relationships between childcare availability and fertility in all age groups, except for females aged 25 to 34 and short-run relationships among females aged 35 to 49 in terms of their labor force participation rate, fertility and the availability of childcare. The Granger causality test found a unidirectional association between the female labor participation rate, the fertility rate and the availability of childcare. Moreover, there was a bidirectional association between the fertility rate and childcare availability. The results revealed that the male labor force participation rate had a statistically positive relationship with the female fertility rate in all age groups, except females between 35-49 years of age. The availability of childcare and GDP growth had a statistically negative relationship with the fertility rate. Moreover, the female labor force participation rate had a statistically negative relationship with the fertility rate of working-aged females, including reproductive-aged females between 25-34 and 35-49.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวและความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของสตรี ภาวะเจริญพันธุ์ และความพร้อมในการดูแลบุตร 2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีไทยในวัยเจริญพันธุ์ ผลการศึกษาพบว่า ภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีในภาพรวมและทุกกลุ่มอายุมีความสัมพันธ์ในระยะยาวกับสัดส่วนจำนวนเด็กต่อสถานรับเลี้ยงเด็กซึ่งเป็นตัวแทนความพร้อมในการดูแลบุตร แต่ไม่พบความสัมพันธ์ในระยะยาวระหว่างภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีกับการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของสตรี และมีความสัมพันธ์ในระยะสั้นระหว่างความพร้อมในการดูแลบุตรกับภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีในภาพรวมและทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นอายุ 25-34 ปี ส่วนการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของสตรีมีความสัมพันธ์ในระยะสั้นกับความพร้อมในการดูแลบุตรและภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีอายุ 35-49 ปี ในขณะที่การมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของสตรีและภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวกับสัดส่วนจำนวนเด็กต่อสถานรับเลี้ยงเด็ก ในการทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลพบว่า การมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของสตรี ภาวะเจริญพันธุ์ของสตรี เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนจำนวนเด็กต่อสถานรับเลี้ยงเด็กซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในทิศทางเดียว ส่วนภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีกับสัดส่วนจำนวนเด็กต่อผู้ดูแลเด็กเป็นความสัมพันธ์แบบสองทิศทาง และการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของเพศชายมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกต่อภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีอย่างมีนัยสำคัญทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นอายุ 35-49 ปี ในขณะที่ความพร้อมในการดูแลบุตร อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีในทิศทางลบ และการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของสตรีมีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ในทิศทางลบกับสตรีอายุ 25-34 ปี และอายุ 35-49 ปี  
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2007
Appears in Collections:School of Economics and Public Policy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs571120078.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.