Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/198
Title: THE FACTORS RELATING TO REGISTRATION DECISIONS FOR CREDIT CARD AMONG BABY BOOMER CONSUMERS IN THE BANGKOK METROPOLITAN AREA
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจสมัครบัตรเครดิตของผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร 
Authors: NUTTHIRA BOONPAYON
ณัฏร์ธิรา บุญพยนต์
Kulachet Mongkol
กุลเชษฐ์ มงคล
Srinakharinwirot University. Faculty of Business Administration for Society
Keywords: เบบี้บูมเมอร์
บัตรเครดิต
รูปแบบการดำเนินชีวิต
การเปิดรับสื่อ
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด
Baby Boomer
Credit card
Lifestyle
Media exposure
The marketing mix
Issue Date:  17
Publisher: Srinakharinwirot University
Abstract: The purpose of this research is to study the factors relating to registration decisions for credit card among Baby Boomer consumers in the Bangkok metropolitan area. The samples size in this research consisted of four hundred and Baby Boomer consumers, that born between 1946 to 1964. A questionnaire was used for the purpose of data collection. The statistics analysis were computed to mean, percentage, standard deviation, T-test, one-way ANOVA analysis and Pearson product moment correlation coefficient method. The results of the research were as follows: The majority of the respondent were female, married, a Bachelor’s degree or equivalent, worked for a private company with an average monthly income of 30,000 Bath or less. The overall lifestyle, the marketing mix and credit card decisions was at a very important level and the overall media exposure was at a important level. The results of the hypothesis testing were as follows: Baby Boomer consumers of different gender, marital status, education, occupation and income demonstrated different registration decisions for credit card among Baby Boomer consumers in the Bangkok metropolitan area at a statistically significant level of .01 and .05 in some steps, respectively. The aspect of lifestyle, media exposure and the marketing mix related to credit card decisions influencing need recognition, information search, personal sources, evaluation of alternatives, registration decisions and post-registration behavior. The statistical significance was at a level of .01
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจสมัครบัตรเครดิตของผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานครที่เกิดในปีพุทธศักราช 2489 ถึงพุทธศักราช 2507 จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 30,000 บาท รูปแบบการดำเนินชีวิต ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจสมัครบัตรเครดิตโดยรวมมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ในขณะที่การเปิดรับสื่อโดยรวมมีระดับความสำคัญระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ประกอบด้วย เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีการตัดสินใจสมัครบัตรเครดิต แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจสมัครบัตรเครดิตของผู้บริโภคกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานครในด้านการรับรู้ความต้องการ ด้านการค้นหาข้อมูลบางขั้นตอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านการประเมินผลทางเลือก ด้านการตัดสินใจสมัครบัตรเครดิต และด้านพฤติกรรมหลังสมัครบัตรเครดิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Description: MASTER OF BUSINESS ADMINISTRATION (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/198
Appears in Collections:Faculty of Business administration for society

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gs591130060.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.